คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการฝากขังก่อนฟ้องและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฝากขังของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ตามคำร้องของผู้ร้องมีกำหนด 12 วัน เพื่อสอบสวนดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาฎีกา เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที... กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม..." มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" มาตรา 66 บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี" ตามบทบัญญัติข้างต้นให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 คดีนี้ ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 106 บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11720/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายจับของผู้พิพากษา และสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธยกเลิกหมายจับ
เมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลใดกระทำความผิดอาญา บุคคลนั้นย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (2) พนักงานสอบสวนย่อมยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 66 เพื่อให้ได้ตัวมาสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (1) กำหนดให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจออกหมายจับได้ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ตอนท้าย กำหนดให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับได้หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่า มีการออกหมายจับไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 68 กำหนดให้หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน ดังนี้ อำนาจในการออกหมายจับผู้ต้องหาจึงเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกหรือเพิกถอนหมายจับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจะอุทธรณ์หรือฎีกาอีกไม่ได้
ปัญหาว่าผู้ร้องมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายจับของผู้พิพากษาคนเดียวและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ.
การออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น เป็นอำนาจพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นมีอำนาจออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้ ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 66 และมาตรา 59/1 โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนสืบพยานหลายครั้งที่ไม่ใช่ความผิดโจทก์ ศาลมิควรสั่งจำหน่ายคดีโดยง่าย
การขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ถึง 6 ครั้ง ถ้าแต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ศาลก็ไม่ควรสั่งจำหน่ายคดี
ในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้ง ที่ 4 พยานโจทก์บางคนโทรเลขแจ้งว่าป่วย บางคนเซ็นทราบนัดแล้ว ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง โจทก์แถลงขอให้ศาลออกหมายจับพยานศาลสั่งให้ไต่สวนก่อนออกหมายจับและสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปและออกหมายเรียกพยานโดยกำหนดวันไว้ด้วย เป็นวันหลังจากนัดนัดไต่สวนเพื่อออกหมายจับพยาน การที่ในวันนัดไต่สวนไม่มีคู่ความมาศาลเลย ทั้ง 2 ฝ่าย เช่นนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้ เพราะการออกหมายเรียกให้พยานมาเบิกความในวันต่อไปนั้น ก็เท่ากับให้โอกาศพยานอีกครั้ง การไต่สวนเพื่ออกหมายจับก็ย่อมไม่จำเป็นซึ่งโจทก์อาจเข้าใจเช่นนี้ก็ได้ จึงไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากความล่าช้าในการสืบพยาน มิใช่ความผิดของโจทก์ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบ
การขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ถึง 6 ครั้ง ถ้าแต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ศาลก็ไม่ควรสั่งจำหน่ายคดี
ในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 4 พยานโจทก์บางคนโทรเลขแจ้งว่าป่วย บางคนเซ็นทราบนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง โจทก์แถลงขอให้ศาลออกหมายจับพยานศาลสั่งให้ไต่สวนก่อนออกหมายจับและสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปและออกหมายเรียกพยานโดยกำหนดวันไว้ด้วยเป็นวันหลังจากวันนัดไต่สวนเพื่อออกหมายจับพยาน การที่ในวันนัดไต่สวนไม่มีคู่ความมาศาลเลย ทั้ง 2 ฝ่าย เช่นนี้ จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้เพราะการออกหมายเรียกให้พยานมาเบิกความในวันต่อไปนั้น ก็เท่ากับให้โอกาสพยานอีกครั้ง การไต่สวนเพื่อออกหมายจับก็ย่อมไม่จำเป็นซึ่งโจทก์อาจเข้าใจ เช่นนี้ก็ได้ จึงไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ไปสถานีตำรวจหลังกระทำผิดจราจร ไม่ถือเป็นความผิดขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
เมื่อกระทำความผิดฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบก แล้วไม่ไปสถานีตำรวจตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ออกหมายจับมาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 จึงหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม มาตรา 334(2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ไปสถานีตำรวจหลังขับรถเร็ว ไม่ถือเป็นความผิดขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
เมื่อกระทำความผิดฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก แล้วไม่ไปสถานีตำรวจตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ออกหมายจับมาได้ตาม ป.วิ.อาญา ม.66 จึงหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ม.334 (2) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาฎีกาไม่สำเร็จ ไม่ถือเป็นการหลบหนีคดี ศาลไม่ออกหมายจับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 40 บาท จำเลยชำระค่าปรับครบแล้ว อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา แต่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยอยู่ที่ไหน มิใช่ว่าจำเลยพยายามจะหลบตัว ไม่รับ สำเนาฎีกาของโจทก์หรือตั้งใจจะหลบหนีคดี ดังนี้ ศาลย่อมไม่ออกหมายจับจำเลย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยคดีอาญา: การที่จำเลยไม่ได้หลบหนี ย่อมไม่ออกหมายจับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 40 บาท จำเลยชำระค่าปรับครบแล้ว อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา แต่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยอยู่ที่ไหน มิใช่ว่าจำเลยพยายามจะหลบตัว ไม่รับสำเนาฎีกาของโจทก์หรือตั้งใจจะหลบหนีคดี ดังนี้ ศาลย่อมไม่ออกหมายจับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายจับ จำเป็นต้องมีการสืบสวนหาที่อยู่จำเลยให้ได้ความแน่นอนก่อน ศาลไม่ออกหมายจับโดยอาศัยเพียงรายงานอำเภอ
ในคดีฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง โจทก์อ้างรายงานของอำเภอว่าไม่ปรากฎว่าจำเลยย้ายที่อยู่ไปอยู่แห่งใดนั้น ไม่เป็นเหตุพอที่ศาลจะออกหมายจับจำเลย
of 2