คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 71

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการฝากขังก่อนฟ้องและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฝากขังของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ตามคำร้องของผู้ร้องมีกำหนด 12 วัน เพื่อสอบสวนดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาฎีกา เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที... กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม..." มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" มาตรา 66 บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี" ตามบทบัญญัติข้างต้นให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 คดีนี้ ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 106 บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการควบคุมตัวระหว่างพิจารณาแยกจากอำนาจการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจที่ผู้ร้องอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมาย การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอปล่อยตัวจากการคุมขังมิชอบระงับเมื่อมีหมายขังจากศาล
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจค้น จับกุมและคุมขังผู้ร้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดที่ผู้ร้องอ้างว่าการค้น จับกุมและคุมขังโดยมิชอบ เมื่อการคุมขังเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับ
การตรวจค้น จับกุมและการคุมขังของเจ้าพนักงานตำรวจชั้นแรกเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน ทั้งการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อผู้ร้องถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลและศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 58 (4), 71 และ 88 ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้แล้ว การคุมขังผู้ร้องจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกเมื่อจำเลยถูกขังในคดีอื่นก่อน และการหักวันคุมขังออกจากโทษตามกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อจำเลยถูกขังในคดีหนึ่งแล้วจะถูกขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยระหว่างพิจารณา ตามหมายขังเลขที่ 16/2539 ลงวันที่ 16 มกราคม 2539 ในคดีนี้ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นและขณะที่จำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำในคดีอื่น จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลให้จำเลยถูกขังในคดีนี้ตามหมายขังดังกล่าวของศาลชั้นต้นนับแต่วันที่ 16 มกราคม 2539 เป็นต้นมา ทำนองเดียวกับการที่จำเลยถูกศาลพิพากษาจำคุก 2 คดีพร้อมกัน หากศาลมิได้กล่าวในคำพิพากษาว่าให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากอีกคดีหนึ่ง ก็ต้องนับโทษจำคุกของจำเลยในทั้งสองคดีไปพร้อมกัน และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 88 ที่บัญญัติว่า นับแต่เวลายื่นฟ้องจำเลยที่ต้องขังตามหมายศาล ๆ จะขังจำเลยต่อไปหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 71 วรรคสี่ที่บัญญัติว่า หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่าศาลจะได้เพิกถอนโดยออกหมายปล่อยหรือออกหมายจำคุกแทน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นคงขังจำเลยไว้ตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยเป็นกรณีที่จำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา สามารถหักจำนวนวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่งได้ การที่ศาลชั้นต้นหักวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาและเห็นว่าจำเลยต้องขังมาพอแก่โทษแล้ว จึงให้ปล่อยตัวไปนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตรวจคำฟ้องและผลกระทบต่อการขังจำเลยในคดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ให้อำนาจแก่ศาลชั้นต้นในการตรวจคำฟ้องซึ่งเป็นคำคู่ความโดยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์มีรายการช่องอายุแต่ไม่ใส่ให้ครบถ้วน ที่อยู่ของจำเลยผิดพลาดสับสน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคืนฟ้องให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้โดยชอบ
คำสั่งคืนฟ้องให้โจทก์ทำมายื่นใหม่หาใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ แต่เป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งขังจำเลย เมื่อโจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วนำมายื่นใหม่ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมคำฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตรวจคำฟ้องและผลกระทบต่อการขังจำเลย กรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ให้อำนาจแก่ศาลชั้นต้นในการตรวจคำฟ้องซึ่งเป็นคำคู่ความโดยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์มีรายการช่องอายุแต่ไม่ใส่ให้ครบถ้วน ที่อยู่ของจำเลยผิดพลาดสับสน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคืนฟ้องให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้โดยชอบ
คำสั่งคืนฟ้องให้โจทก์ทำมายื่นใหม่หาใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ แต่เป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ถือว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งขังจำเลย เมื่อโจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วนำมายื่นใหม่ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมคำฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนประกันและสั่งขัง ไม่ถือเป็นความผิดอาญาหากไม่มีเจตนาร้าย
ผู้พิพากษาสั่งถอนประกันแล้วสั่งขังจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีเจตนาร้ายละเมิดอำนาจและหน้าที่ ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจของผู้พิพากษาในการถอนประกันและสั่งขังต้องไม่เจตนาละเมิดอำนาจหน้าที่
ผู้พิพากษาสั่งถอนประกันแล้วสั่งขังจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีเจตนาร้ายละเมิดอำนาจและหน้าที่ ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์คดีปรับ และการบังคับคดีโดยยึดทรัพย์แทนการจำคุก
พฤติการณ์ที่เป็นการออกหมายขังระวางพิจารณา
ในคดีที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ปรับแต่คดียังอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ศาลออกหมายให้จำขังในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ร้องขออย่าให้จำขังจำเลยโดยจะจัดการยึดทรัพย์แทนเงินค่าปรับดังนี้ ศาลมีอำนาจที่จะออกหมายปล่อยจำเลยได้