คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 106

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา106,113จึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตนได้ส่วนกรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันจึงฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันด้วยเอกสารปลอม: จำเลย 2 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว แม้หนังสือมอบอำนาจเป็นเท็จ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหนังสือมอบอำนาจปลอมว่าจำเลยที่ 1มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว เพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและยินยอมให้จำเลยที่ 2 ประกันตัวผู้ต้องหาไป หลังจากนั้นจำเลยที่ 2ได้ไปขอผัดส่งตัวผู้ต้องหากับโจทก์หลายครั้ง โดยเป็นที่ตระหนักดีแก่จำเลยที่ 2 ว่าตนเองมิได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาประกันกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันตัว, อากรแสตมป์สัญญาประกัน, และประเภทสัญญาค้ำประกัน
พันตำรวจโท ส. ฟ้องผู้ที่ผิดสัญญาปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจไว้ตามมาตรา 106และ 113 มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว แม้ว่าในขณะทำสัญญาประกันพันตำรวจโท ส. จะมิได้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร แต่ในขณะยื่นฟ้องพันตำรวจโทส.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารจึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกัน ป.กับพวกรวม 2 คน ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวไปกระทำการครั้งเดียว จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ก) สัญญาที่นายประกันร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวไปจากการควบคุมของพนักงานสอบสวนโดยสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนดนัดของพนักงานสอบสวน ไม่อยู่ในความหมายของสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 จึงไม่ต้องปิดอากรแสตม์ ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17(ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ลดลงได้เมื่อผู้ประกันติดตามตัวผู้ต้องหาได้ แม้จะผิดสัญญา
จำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่ผู้ประกันทำไว้แก่พนักงานสอบสวนว่า ผู้ประกันจะชำระให้แก่พนักงานสอบสวนเมื่อผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาได้ตามกำหนดนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยไม่สามารถนำผู้ต้องหามาส่งให้พนักงานสอบสวนตามกำหนด แต่ต่อมาได้ติดตามตัวผู้ต้องหาจนถึงชี้ตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมมาดำเนินคดีต่อไปได้ ความเสียหายของพนักงานสอบสวนที่ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาจึงน้อยลง การที่จะให้ผู้ประกันใช้เงินเต็มตามสัญญาประกันในกรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นการกำหนดให้ชำระเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลย่อมลดเบี้ยปรับลงได้ตามที่เห็นสมควร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และการใช้สัญญาเป็นหลักฐาน แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวนแม้พันตำรวจโท ช. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีดังกล่าว ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกัน แต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้องก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่งประมวลรัษฎากร แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่ง
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ให้ลดค่าปรับเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา198 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องของผู้ประกันในกรณีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นลดค่าปรับโดยอ้างเหตุเดิมอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ประกันฉบับหลังว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่กฎหมายห้าม
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ให้ลดค่าปรับ เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องของผู้ประกันในกรณีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นลดค่าปรับโดยอ้างเหตุเดิมอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของผู้ประกันฉบับหลังว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม และผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผลกระทบต่อค่าปรับ ผู้ประกันไม่มีส่วนในการจับกุม
จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในคดีอื่นผู้ประกันจึงแจ้งให้ศาลทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันมีส่วนในการจับกุมจำเลยอันเป็นเหตุที่จะลดหย่อนค่าปรับให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับผู้ประกันเนื่องจากจำเลยหลบหนี: ศาลยืนตามคำสั่งเดิม แม้ผู้ประกันแจ้งจับจำเลยในคดีอื่น
จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในคดีอื่นผู้ประกันจึงแจ้งให้ศาลทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันมีส่วนในการจับกุมจำเลยอันเป็นเหตุที่จะลดหย่อนค่าปรับให้.
of 6