พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,721 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่าสัตว์ในเขตป่าสงวนและอุทยานฯ ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่าสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าสงวนหรือมิใช่ ด้วยการใช้นกกางเขนดงอันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนกใส่กรงแขวนไว้บนต้นไม้เพื่อล่อดักจับสัตว์ป่าในเขตป่ากรุงชิงซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และเป็นการเก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 4, 19, 43, 45 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง และฐานกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยประการใด ๆ ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 19 (3), 43 แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 19 (3), 43 มาด้วย เป็นการไม่ชอบ และความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ฐานกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ป่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยประการใด ๆ ฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรืออาวุธใด ๆ เข้าไปภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรืออาวุธใด ๆ เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติต่างกรรมกับความผิดฐานอื่นมานั้น เป็นการไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยไม่เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: อั้งยี่, สมคบฯ, ฟอกเงิน, ฉ้อโกง, และนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย และความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรก็เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งตามองค์ประกอบของความผิดสองฐานนี้ จึงอาจเป็นความผิดต่างกรรมกันได้ แต่เมื่อการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 มาตรา 5 (1) และ (2) มีองค์ประกอบของความผิดในลักษณะเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่และความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร ความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าการเข้าเป็นสมาชิกหรือการสมคบกันนั้นก็เพื่อจะกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็นเท็จ ความผิดฐานร่วมกันกระทำการเป็นอั้งยี่ ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันและโดยมีเจตนามุ่งหมายอันเดียวกันกับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและฐานร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปลอมหรือเป็นเท็จ ความผิดฐานต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แต่ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินนั้น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มีเจตนารมณ์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดมูลฐานที่ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมากระทำการในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นการฟอกเงิน เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินจึงเป็นการกระทำความผิดที่เกิดภายหลังเมื่อมีการกระทำความผิดฐานอื่น ๆ ดังกล่าวสำเร็จแล้ว และเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกเจตนาและการกระทำต่างจากการกระทำความผิดฐานอื่นนั้นได้ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างกรรมกัน ซึ่งปัญหาว่าการกระทำความผิดเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารปลอมเพื่อขอสินเชื่อ ศาลฎีกาแก้ให้ไม่รอการลงโทษ
จำเลยปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ในสัญญาเงินกู้จำนวน 4,200,000 บาท สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 1,800,000 บาท และสัญญามอบสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันจำนวน 1,800,000 บาท และปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะส่วนตัว ในสัญญาค้ำประกันสองฉบับเพื่อค้ำประกันสัญญาเงินกู้ข้างต้น หลังจากนั้นจำเลยนำสัญญาทุกฉบับไปใช้อ้างแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอกู้ยืมเงินในเวลาเดียวกัน ดังนี้ แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารคนละฉบับกัน แต่จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์: การสมคบคิด, ความเสียหาย, และค่าชดใช้
ความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นในคดีนี้ เป็นความผิดคนละประเภทกับความผิดฐานรับคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้เข้าพักอาศัยโดยซ่อนเร้นให้พ้นจากการจับกุมตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 และยังเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันด้วย ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน สามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ แม้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน ก็เป็นคนละกรรมกัน กรณีมิใช่โจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนกระทงความผิดอื่นในคดีนี้ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิด จะถือว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีใช้อาวุธปืนเถื่อน, ฆ่า, พยายามฆ่า: ศาลแก้โทษเป็นกรรมเดียว, เพิ่มโทษตามกรรม
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 78 วรรคสาม กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน เมื่อจำเลยร่วมกันมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อความประสงค์อันเดียวกันและร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืน ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 และเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซี่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด เว้นแต่ในความผิดใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการการรื่นเริง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และ 225
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด เว้นแต่ในความผิดใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการการรื่นเริง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3662/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารราชการ-ใช้เอกสารราชการปลอม-แจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 ให้ผู้เสียหายที่ 1 จดข้อความเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน และเป็นเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่น เพื่อย้ายชื่อผู้เสียหายที่ 2 ออกจากบ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และนำชื่อย้ายเข้าบ้านเลขที่ 3/2 หมู่ที่ 3 ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด แล้วจำเลยลงลายมือชื่อปลอมเป็นผู้เสียหายที่ 2 ในเอกสารราชการดังกล่าว ต่อมาจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายที่ 3 ว่า จำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 ได้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองปรากฏว่าสูญหาย/ถูกทำลาย เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 3 จดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในบันทึกการรับแจ้งเอกสารเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนสูญหายหรือถูกทำลาย (บ.ป.7) อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จากนั้นจำเลยกับ ย. ร่วมกันยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ต่อผู้เสียหายที่ 3 และผู้เสียหายที่ 4 โดยใช้บันทึกคำให้การรับรองบุคคลเอกสารราชการอันเป็นเท็จอันเกิดจากการกระทำความผิดของ ย. ประกอบคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน (บ.ป.1) โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นผู้เสียหายที่ 2 จนทำให้ผู้เสียหายที่ 3 หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียว คือ เพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485-3486/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร และการกระทำผิดกรรมเดียวต่างวาระ
ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ป.อ. มาตรา 209 เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/1 (1) เป็นการกระทำที่ล่วงเลยการตระเตรียมการหรือสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อก่อการร้ายหรือรู้ว่าจะมีผู้ก่อการร้ายและปกปิดไว้แล้ว กล่าวคือ มีการลงมือโจมตีหรือใช้วัตถุระเบิด พยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว จึงเป็นความผิดต่างกรรมกับฐานร่วมกันก่อการร้ายโดยรู้ว่ามีผู้ก่อการร้ายแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดได้ตามมาตรา 135/2 (2) แม้การกระทำความผิดทั้งสามฐานดังกล่าว กระทำในช่วงเดียวกัน แต่เป็นการกระทำที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายก็เป็นคนละอย่างต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาเนื่องจากพ้นโทษแล้วกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี แม้คำขอท้ายฟ้องมิได้ระบุขอเพิ่มโทษโดยชัดแจ้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าก่อนคดีนี้ จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 7 ปี 18 เดือน และปรับ 400,000 บาท ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานมีและพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน นับโทษจำคุกต่อในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 255/2556 ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 254/2556 จำเลยพ้นโทษทั้งสองคดีดังกล่าวแล้ว ภายหลังพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งคดีก่อนและคดีนี้มิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และมิใช่ความผิดซึ่งจำเลยได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ขอศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยหนึ่งในสามของโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ และในคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ ป.อ. มาตรา 90, 92, 371, ดังนี้คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และโจทก์ได้อ้างบทบัญญัติซึ่งเป็นเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะมิได้ระบุขอให้เพิ่มโทษจำเลยไว้อีกก็ตาม ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพกับรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วจริงตามฟ้อง ย่อมแสดงว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำขอให้เพิ่มโทษด้วย จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสมคบร่วมกันกระทำผิดและฉ้อโกงประชาชน: ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติต่างเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่ประเภทของความผิด การกระทำของจำเลยในความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ประกอบกับโจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดทั้งสองฐานนี้รวมกันมาในคำฟ้อง แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว การกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้นเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อเอาผิดแก่ผู้ที่สมคบกันเพื่อจะกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการสมคบกันแล้วโดยยังไม่ต้องลงมือกระทำความผิดอื่นอีก ดังนี้การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลาการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจะต้องมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเสียก่อนอันเป็นความผิดสำเร็จแล้วจึงจะมีการลงมือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อจากนั้นไปซึ่งเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน เป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้นเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อเอาผิดแก่ผู้ที่สมคบกันเพื่อจะกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการสมคบกันแล้วโดยยังไม่ต้องลงมือกระทำความผิดอื่นอีก ดังนี้การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลาการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจะต้องมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเสียก่อนอันเป็นความผิดสำเร็จแล้วจึงจะมีการลงมือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อจากนั้นไปซึ่งเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน เป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินกรรมเดียวหรือหลายกรรมในคดีองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและการช่วยเหลือคนต่างด้าว
การจะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น ต้องพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดเป็นสำคัญว่ามีเจตนาเดียวกันหรือไม่ประกอบกันด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และในความผิดฐานร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นการกระทำความผิดที่ต่อเนื่องกันโดยมีเจตนามุ่งหมายอันเดียวกันเพื่อจะช่วยเหลือนำพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่ให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และการที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่เข้ามาในราชอาณาจักรดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวทั้งสิบสี่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แต่เมื่อจำเลยกับพวกรู้ว่าคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวทั้งสิบสี่นั้นพ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามฟ้องในข้อ 1 (ก) (ข) และ (ค) เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น จึงไม่ชอบ