พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การพยานอ่อนแอและคำรับสารภาพที่เกิดจากการถูกขู่เข็ญ ไม่สามารถนำมาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานว่าจำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายลักทรัพย์ คงมีแต่คำให้การของ ว.ผู้เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทผู้เสียหาย ในชั้นสอบสวนว่าเห็นจำเลยทั้งสามลักทรัพย์ผู้เสียหายไป ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า ทั้งไม่ปรากฏว่า ว.ได้แจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้เสียหายทราบตามหน้าที่ของตน คำให้การของ ว.จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ โจทก์คงมีเพียงคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสาม ซึ่งจำเลยทั้งสามก็นำสืบว่า เหตุที่ให้การรับสารภาพเพราะถูกขู่เข็ญบังคับและกลัวจะถูกทำร้าย พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้ลงโทษจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีฉ้อโกง: วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายจำนวนมาก และการพิจารณาโทษจำเลย
แม้วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายคดีนี้ พนักงานสอบสวนจะกระทำแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป เพราะผู้เสียหายคดีนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงิน และวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ยืนยันว่าได้สอบถามผู้เสียหาย ผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้างถ้าไม่ผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้ ก็ไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนหรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจ หรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่นอันจะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานแวดล้อมและคำรับสารภาพใช้ได้ แม้ไม่มีพยานประจักษ์พยาน ยืนยันความผิดจำเลย
ในการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญานั้น นอกจากศาลรับฟังพยานหลักฐานจากประจักษ์พยานแล้ว พยานแวดล้อมกรณีหรือพยานพฤติเหตุที่บ่งชี้ว่า จำเลยกระทำผิดศาลก็รับฟังได้ด้วย ศาลจึงรับฟังพยานแวดล้อมกรณี และคำรับของจำเลยกับของผู้ร่วมกระทำผิดประกอบพยานอื่นได้ เพราะคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลย ได้ในชั้นพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้อ้างจำเลย เป็นพยานเพื่อเค้นเอา ความจริงจากจำเลยมาลงโทษจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 232 แต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐาน การสอบสวนต้องแจ้งสิทธิและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ในคดีอาญามีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา เพราะจะต้องบอกให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยเป็นพยาน แล้วโจทก์จะอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นการมิชอบ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำรับซึ่งปรักปรำและเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของจำเลยเป็นพยานหลักฐาน: ข้อจำกัดและผลกระทบต่อการลงโทษ
ในคดีอาญามีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา เพราะจะต้องบอกให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134การที่พนักงานสอบสวนจำเลยเป็นพยาน แล้วโจทก์จะอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นการมิชอบ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำรับซึ่งปรักปรำและเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อมาตรา 226.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้ลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานประกอบยืนยันความผิดจริง มิใช่เพียงคำเบิกความของผู้เกี่ยวข้อง
การรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธชั้นศาลมาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลย กระทำผิดจริงและพยานประกอบนั้นมิใช่มีเพียงคำเบิกความของพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคำรับสารภาพเท่านั้น คดีนี้พยานประกอบของโจทก์คือ ด. ซึ่งอาจตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกับจำเลย ด. อาจซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนพ้นจากการตกเป็นผู้ต้องหาก็ได้ คำเบิกความของ ด. จึงมีน้ำหนักน้อยพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอที่จะลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนต้องมีพยานหลักฐานประกอบ หากพยานประกอบมีพิรุธหรือไม่น่าเชื่อถือ ศาลไม่สามารถนำมาลงโทษจำเลยได้
การรับฟังคำรับสารภาพชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธชั้นศาลมาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริงและพยานประกอบนั้นมิใช่มีเพียงคำเบิกความของพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคำรับสารภาพเท่านั้น คดีนี้พยานประกอบของโจทก์คือ ด. ซึ่งอาจตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกับจำเลย ด. อาจซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนพ้นจากการตกเป็นผู้ต้องหาก็ได้ คำเบิกความของ ด. จึงมีน้ำหนักน้อยพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอที่จะลงโทษจำเลยตามฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังสอบสวน: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากพบพยานหลักฐานใหม่
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาได้หลายกระทง แม้แจ้งข้อหาแรกไปแล้ว หากสอบสวนพบความผิดอื่นเพิ่มเติม โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องข้อหาหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การของผู้ต้องหาที่เป็นการหมิ่นประมาท ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใด หรือไม่ให้การเลยก็ได้ แต่ถ้าคำให้การนั้นเป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่น บทมาตรานี้ก็หาได้คุ้มครองการกระทำนั้นไม่