คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 134

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4592/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพ-พยานหลักฐานไม่เพียงพอ-การปฏิเสธในชั้นพิจารณา
แม้โจทก์จะมีพนักงานสอบสวน 2 ปากเบิกความประกอบบันทึกการจับกุม บันทึกการทำแผนประทุษกรรม บันทึกการยึดของกลางและคำให้การของจำเลยทั้งสามในชั้นสอบสวนว่า จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน กับแสดงท่าทางในขณะกระทำผิดและนำชี้ที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 นำไปยึดอาวุธปืนพร้อมด้วยปลอกกระสุนปืน กับรับว่าเป็นอาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์และพยานโจทก์คนอื่นๆ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดตามฟ้อง และในชั้นพิจารณาจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าลงชื่อในเอกสารต่างๆ โดยไม่ทราบข้อความแล้วพยานโจทก์จึงยังไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติและข้อมูลทะเบียนบ้านเพื่อขอเอกสารราชการ
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งเท็จเกี่ยวกับสัญชาติและข้อมูลในทะเบียนบ้าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และ 137
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งเลย แล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดให้มีการเล่นพนันลักษณะสล๊อทแมชีน แม้ไม่มีผู้เล่นขณะจับกุม ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน
การขายสินค้าด้วยวิธีที่ผู้ซื้อหยอดเหรียญที่ขวดโหลซึ่งมีขนมหรือของเล่นบรรจุอยู่ เมื่อผู้ซื้อหมุนปุ่มจะมีของเล่นหรือขนมตกลงมา ของเล่นบางชนิดหากเปิดออกไม่มีสลากอยู่ภายในผู้ซื้อก็เป็นฝ่ายเสีย ถ้ามีสลากผู้ซื้อก็เป็นฝ่ายได้ บาง ชนิดขนมหรือของเล่นมีราคาน้อยหรือมากกว่าราคาเหรียญ ที่หยอดดังนี้เป็นการพนันคล้ายสล๊อทแมชีน เพราะมีทั้งได้ทั้งเสีย
จำเลยนำเครื่องเล่นดังกล่าวออกมาตั้งที่หน้าร้านขายของชำเด็กมาเล่นได้ตามต้องการทุกเวลา ทั้งเครื่องเล่นที่จับกุมมามีเหรียญซึ่งผู้เล่นหยอดไว้แล้ว ดังนี้ จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน แม้ขณะจับกุมจะไม่มีเด็กกำลังเล่นอยู่ก็ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 กำหนดแต่เพียงว่าให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเท่านั้นมิได้บังคับว่าเมื่อแจ้งข้อหาอย่างไรแล้วก็จะต้องฟ้องผู้ต้องหาในข้อหานั้นๆดังนี้ เมื่อจับกุมแจ้งข้อหาว่าเป็นผู้จัดให้มีการแถมพกด้วยการแจกรางวัล แล้วฟ้องตามที่แจ้งข้อหาใหม่ว่าเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันอันมีลักษณะคล้ายสล๊อทแมชีน ดังนี้ เป็นการสอบสวนชอบด้วย มาตรา 134 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องยักยอกทรัพย์ – การแจ้งข้อหา – โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ แม้จำนวนเงินฟ้องสูงกว่าที่แจ้งความ
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเงิน 419,235.40 บาท พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานยักยอกทรัพย์ให้จำเลยทราบแล้วก่อนทำการสอบสวน แม้ต่อมาปรากฏว่าจำเลยถูกกล่าวหาความผิดฐานเดียวกันหลายกระทงและกระทำต่อเนื่องกันรวมเป็นเงิน 674,653.65 บาท พนักงานสอบสวนก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบทุกกระทง ถือได้ว่าคดีได้มีการสอบสวนโดยถูกต้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงิน 674,653.65 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การฟ้องเกินจำนวนเงินที่แจ้งข้อหาเดิม แต่เป็นข้อหาเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องไม่ชัดเจน
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเงิน 419,235.40 บาทพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานยักยอกทรัพย์ให้จำเลยทราบ แล้วก่อนทำการสอบสวน แม้ต่อมาปรากฏว่าจำเลยถูกกล่าวหา ความผิดฐานเดียวกันหลายกระทงและกระทำต่อเนื่องกันรวมเป็นเงิน 674,653.65บาท พนักงานสอบสวนก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบทุกกระทงถือได้ว่าคดีได้มีการสอบสวนโดย ถูกต้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าจำเลยยักยอกเงิน 674,653.65 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ: พยานหลักฐานสนับสนุนคำรับสารภาพต้องมีน้ำหนักพอสมควร หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบ และจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณา ศาลไม่สามารถลงโทษได้
โจทก์คงมีแต่พนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคำให้การจำเลยมาเบิกความประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลย โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาและนำสืบปฏิเสธว่าคำรับดังกล่าวพนักงานสอบสวนได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ พยานโจทก์ยังไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพ, การชี้ที่เกิดเหตุ, และพฤติการณ์เชื่อมโยง เป็นหลักฐานสำคัญพิสูจน์ความผิดอาญา
จำเลยถือปืนเล่นฟ้อนรำแล้วปืนลั่น ผู้ตายซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านแย่งปืนไปว่ากล่าวสั่งสอนแล้วคืนปืนให้ต่อมาผู้ตายถูกยิง จำเลยเข้ามอบตัวมอบปืน คำให้การชั้นสอบสวนซึ่งกระทำในวันเกิดเหตุมีรายละเอียดเกี่ยวกับความเคืองแค้นที่จำเลยมีต่อผู้ตายมาก่อน เชื่อว่าให้การโดยสมัครใจ และการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพไม่มีเหตุที่จะสงสัยว่ากระทำโดยถูกบังคับ ฉะนั้นแม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยาน และจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นศาล คดีก็ฟังลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการบันทึกการจับกุมไม่จำเป็นต้องควบคู่กันไป การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะกรณีแจ้งข้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้ เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้กำหนดให้มีการแจ้งข้อหาหรือการบันทึกการจับกุมแต่ประการใด
การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 กำหนดให้กระทำเฉพาะเมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและ ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทง ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนเติมคำว่า บุกรุกลงในบันทึกการจับกุมที่ผู้จับทำขึ้น จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการ สอบสวนที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบ การปฏิบัติตามกฎหมาย และความรับผิดของผู้กระทำ
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคารไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้
of 19