พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพโดยไม่ถูกจูงใจ: พฤติการณ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการหลอกลวงให้รับสารภาพ
การที่พนักงานสอบสวนรู้ว่าผู้ต้องหาปิดบังอาชีพและยศไว้โดยพนักงานสอบสวนมิได้ท้วงติงนั้นไม่ถือว่าเป็นการจูงใจหรือหลอกลวงให้จำเลยรับสารภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพโดยไม่ได้ถูกจูงใจ: พนักงานสอบสวนทราบข้อมูลเท็จของผู้ต้องหาแต่ไม่ทักท้วง ไม่ถือว่าเป็นการหลอกลวง
การที่พนักงานสอบสวนรู้ว่าผู้ต้องหาปิดบังอาชีพและยศไว้โดยพนักงานสอบสวนมิได้ท้วงติงนั้นไม่ถือว่าเป็นการจูงใจหรือหลอกลวงให้จำเลยรับสารภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหา, การแจ้งข้อหา, และความผิดของเจ้าพนักงาน, รวมถึงการกระทำหน้าที่พ้นตำแหน่ง
ป.วิ.อาญา ม.134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน หมายความว่า กฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวน มิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุก ๆ กะทงความผิดแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยาน ๆ โจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิง เช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา ม.133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับ เมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบ ดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาล ทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.127 วรรค 2.
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยาน ๆ โจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิง เช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา ม.133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับ เมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบ ดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาล ทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.127 วรรค 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหา, การสอบสวนพยาน, และความผิดของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวนหมายความว่า กฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวนมิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุกๆ กระทงความผิด แม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยานพยานโจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิงเช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีนี้แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับเมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาลทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา127 วรรคสองฎีกาที่ 1121/2494 ฎีกาที่ 545/2496
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยานพยานโจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิงเช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีนี้แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับเมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาลทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา127 วรรคสองฎีกาที่ 1121/2494 ฎีกาที่ 545/2496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและพยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษ
คำรับของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนนั้นเมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนมิได้ตักเตือนจำเลยเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 จึงรับฟังเป็นคำรับสารภาพชั้นสอบสวนยันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดอาญา แม้เปลี่ยนฐานความผิดระหว่างสอบสวนก็ถือว่าสมบูรณ์
การสอบสวนความผิดทางอาญานั้นแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกได้ว่า ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานอื่นนั้นด้วยแล้วไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาในความผิดฐานอื่นนั้นแก่ผู้ต้องหาอีกก็ถือว่าการสอบสวนนั้นสมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีทหาร และการแจ้งข้อหาผู้ต้องหา: การพิจารณาตามกฎหมายและระเบียบทหาร
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.4 + 30 ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า " ผู้ซื่งบังคับบัญชาทหาร " ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาของทหาร และการแจ้งข้อหา
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 430ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า"ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร" ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ขาดลงโทษจำเลยในคดีปล้นทรัพย์ฆ่าคนตายไม่ได้
ในคดีอาญาหาว่าปล้นทรัพย์ฆ่าคนตายนั้น เมื่อพยานบุคคลที่โจทก์นำสิบเบิกความแตกต่างขัดกับเหตุผลเชื่อฟังเป็นจริงไม่ได้คดีของโจทก์คงยังมีคำรับของจำลเยชั้นสอบสวนกับว่าจับของกลางบางอย่างได้จากบ้านเรือนของจำเลย แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอจะชี้ขาดลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานที่ไม่เพียงพอต่อการลงโทษอาญา – พยานขัดแย้งและคำรับชั้นสอบสวนที่ไม่น่าเชื่อถือ
ในคดีอาญาหาว่าปล้นทรัพย์ฆ่าคนตายนั้น เมื่อพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบเบิกความแตกต่างขัดกับเหตุผลเชื่อฟังเป็นจริงไม่ได้ คดีของโจทก์คงยังมีคำรับของจำเลยชั้นสอบสวนกับว่าจับของกลางบางอย่างได้จากบ้านเรือนของจำเลย แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอจะชี้ขาดลงโทษจำเลยได้