พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นหลักฐานลงโทษจำเลยได้
คำให้การชั้นจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่เกิดขึ้นโดยชอบและจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจและตามความสัตย์จริง ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบเพื่อลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิด และการพิจารณาความน่าเชื่อถือของคำให้การในชั้นสอบสวน
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะกล่าวหาว่า ท. เป็นผู้ต้องหาในครั้งแรกแต่ ท. ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยด้วย คำให้การของ ท. หาใช่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยแต่อย่างใด ทั้ง ท. ให้การต่อพนักงานสอบสวนภายหลังเกิดเหตุเพียงชั่วข้ามคืนและโดยทันทีที่เข้าแจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนทราบ เป็นการยากที่ ท. จะปรุงแต่งเรื่องราวเพื่อปรักปรำจำเลยหรือเพื่อต่อสู้คดีได้ ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และแม้จะฟังว่า ท. ให้การซัดทอดจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้ตัว ท. มาเบิกความในชั้นศาล ศาลย่อมนำคำให้การของ ท. ในชั้นสอบสวนมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำให้การของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยืนยันรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และการนำชี้ที่เกิดเหตุก็กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่าไม่มีการล่อลวงหรือขู่เข็ญ คำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 และรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นได้
คำให้การของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยืนยันรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และการนำชี้ที่เกิดเหตุก็กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่าไม่มีการล่อลวงหรือขู่เข็ญ คำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 และรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกกระทงความผิด แม้เป็นความผิด 2 กระทง
ความผิดข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้จนผู้เสียหาย ไม่ติดใจเอาความ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็นับเป็นเหตุบรรเทาโทษและลดโทษให้ โดยลงโทษจำเลยในสถานเบา เมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่รอการลงโทษ หากศาลฎีกาจะพิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษในความผิดข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสก็จะเป็นการลักลั่นไม่เหมาะสมแม้จะเป็นความผิด 2 กระทงก็ตาม ดังนั้น หากศาลจะรอการลงโทษหรือไม่รอการลงโทษก็ควรจะเป็นอย่างเดียวกัน มิใช่กระทงหนึ่งรอการลงโทษ แต่อีกกระทงหนึ่งไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาวินิจฉัยตามพยานหลักฐานและคำรับสารภาพ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิดฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบโดยโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและฟังได้ว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาแบบขอหมายจริง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และการวินิจฉัยความผิดของจำเลยสมควรเป็นไปตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาในปัญหาดังกล่าวประกอบกับได้มีการนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
การจับกุมจำเลยเกิดจากเจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟ -ตามีนมาส่ง จึงถูกจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 100 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่บุคคลจะมีไว้เพื่อเสพประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาว่า จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนเพื่อนำไปให้ช่างซ่อมรถยนต์คน อื่นๆ อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบในชั้นจับกุมก็เพื่อประสงค์จะให้จำเลยทราบและเข้าใจถึงการกระทำความผิด ของตน แม้ชั้นจับกุมผู้จับกุมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพิรุธ
การจับกุมจำเลยเกิดจากเจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟ -ตามีนมาส่ง จึงถูกจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 100 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่บุคคลจะมีไว้เพื่อเสพประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาว่า จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนเพื่อนำไปให้ช่างซ่อมรถยนต์คน อื่นๆ อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบในชั้นจับกุมก็เพื่อประสงค์จะให้จำเลยทราบและเข้าใจถึงการกระทำความผิด ของตน แม้ชั้นจับกุมผู้จับกุมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพิรุธ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด: พฤติการณ์เชื่อได้ว่ามีส่วนรู้เห็นและมีส่วนร่วม
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยที่ 2 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ดอยู่ในกระเป๋าด้านหน้าข้างขวาที่จำเลยที่ 2 สวมใส่อยู่เมื่อจำเลยที่ 2ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งในตัวของจำเลยที่ 2 ยังมีเมทแอมเฟตามีนถึง 10 เม็ดเช่นนี้พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติดโดยเจตนา และการมีส่วนรู้เห็นร่วมกันกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยที่ 2 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด อยู่ในกระเป๋าด้านหน้าข้างขวาที่จำเลยที่ 2 สวมใส่อยู่เมื่อจำเลยที่ 2 ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งในตัวของจำเลยที่ 2 ยังมีเมทแอมเฟตามีนถึง 10 เม็ด เช่นนี้พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลอกลวงหางานในต่างประเทศ พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้แจ้งข้อหาอื่นก่อนก็มีอำนาจฟ้องได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ++
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6612-6613/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานวางเพลิงทำลายทรัพย์สินจากการประท้วง ความรับผิดทางอาญาจากการกระทำความผิดร่วม
น. เป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับจำเลยที่ 1 บ้านอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตรเคยเห็นจำเลยที่ 1 มาก่อนเกิดเหตุ ย่อมจำจำเลยที่ 1 ได้ไม่ผิดตัวแน่นอน และไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีเหตุให้ระแวงว่า น. จะแกล้งใส่ร้ายปรักปรำจำเลยที่ 1 การที่ น. ไม่ได้ร้องตะโกนบอกชาวบ้านให้มาช่วยดับไฟและไม่ได้ไปแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจทันที เพราะผู้ชุมนุมประท้วงมีมากและเจ้าพนักงานตำรวจกับประชาชนเข้าไปดับไฟก็ถูกผู้ชุมนุมประท้วงขัดขวางและทำร้ายจนไม่สามารถดับไฟได้เช่นนี้ ไม่ได้เป็นเหตุให้ไม่น่าเชื่อว่า น.ไม่เห็นเหตุการณ์ คำเบิกความของ น. สมเหตุสมผล แม้โจทก์จะมี น. เป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวก็มีน้ำหนักน่าเชื่อถือพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานร่วมกันก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและวางเพลิงเผาทรัพย์ การสอบคำให้การ ต. และนายดาบตำรวจ ป. มีขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแม้ข้อความที่บันทึกจะเป็นพยานบอกเล่าและไม่ได้ทำต่อหน้าจำเลยที่ 2 ก็สามารถใช้รับฟังประกอบคำเบิกความของพันตำรวจโท ร. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ถือกระป๋องน้ำมันมา และมีผู้ถือคบเพลิง 10 ถึง 20 คน เข้าไปรายล้อมจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 เทน้ำมันจากกระป๋องลงไปที่คบเพลิง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ผิดแผกไปจากผู้ประท้วงอื่น ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 โดดเด่นน่าสนใจกว่าผู้ประท้วงอื่นการที่พันตำรวจโทร. จำจำเลยที่ 2 ได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือแม้พยานโจทก์จะไม่มีผู้ใดเบิกความว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนจุดไฟเผาอาคารที่เกิดเหตุแต่คำเบิกความของพันตำรวจโท ร. ประกอบบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.และนายดาบตำรวจ ป. รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนราดน้ำมันลงในคบเพลิงที่ใช้โยนขึ้นไปเผาหลังคาอาคารเก็บพัสดุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับผู้ที่จุดไฟคบเพลิงโยนขึ้นไปบนหลังคาอาคารเก็บพัสดุอันเป็นการวางเพลิงเผาอาคารดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน, การครอบครองยาเสพติด, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่เบากว่า
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย