คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 134

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสถานบริการ: แม้แจ้งข้อหาไม่ครบถ้วน หากสอบสวนความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องแล้ว โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการฟ้องคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาเปลี่ยนแปลงจากการสอบสวน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันใช้ จ้าง วาน ให้ผู้อื่นฆ่า และคำรับสารภาพชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานสำคัญ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนสอดคล้องกับคำเบิกความของ ร. ว่าก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ได้ขอให้หาคนไปยิงผู้ตายเพราะผู้ตายติดต่อฉันชู้สาวกับ ส. สามีจำเลยที่ 2ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยที่ 1 รับสารภาพว่ารับจ้างจำเลยที่ 2ยิงผู้ตาย โดยจำเลยที่ 3 เป็นคนติดต่อ ประกอบกับผู้ตรวจพิสูจน์มีความเห็นว่าปลอกกระสุนปืนของกลางที่จำเลยที่ 1 นำยึดได้และหัวกระสุนปืนที่ได้จากศพผู้ตายใช้ยิงมาจากอาวุธปืนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ขณะทำการจับกุมจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ คำให้การดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์แล้วฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบด้วย มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบในฐานะเป็นหุ้นส่วนกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำความผิด แสดงว่าได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิด เพราะการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องสอบสวนดำเนินคดีผ่านทางกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 แล้ว
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิดและกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
การสอบสวนดำเนินคดีนิติบุคคลจำต้องสอบสวนผ่านทางกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 แม้ไม่ได้ระบุแจ้งชัดว่าได้แจ้งข้อหาและสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ด้วยก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว เมื่อจำเลยทำการดัดแปลงอาคารหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22มิใช่เป็นความผิดตามมาตรา 31 ที่เป็นเรื่องการดัดแปลงภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต แต่กระทำผิดไปจากแบบรายการที่ได้รับอนุญาต แม้แบบคำสั่งท้ายกฎกระทรวงจะกำหนดให้มีคำว่า "ตราส่วนราชการ"ไว้ และคำสั่งที่เจ้าพนักงานใช้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสองไม่ปรากฏตราส่วนราชการแต่คำสั่งดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนทุกรายการให้จำเลยทั้งสองทราบและเข้าใจคำสั่งแล้ว จึงไม่ทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุใช้ยันจำเลยได้ แม้ผู้เสียหายไม่เบิกความ
ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานอยู่ในที่เกิดเหตุเพียงคนเดียวแม้โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลได้ คงมีแต่คำให้การชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพซึ่งสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและพยานบุคคล สามารถรับฟังใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นในข้อหาซ่อนเร้นศพและฆ่าผู้อื่น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอฟังลงโทษจำเลยโจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังลงโทษจำเลยได้ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ อัยการสูงสุดไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำให้การในชั้นสอบสวนของพยานซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำตัวมาเบิกความในชั้นพิจารณา เพราะหาตัวไม่พบ แม้โจทก์จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาเบิกความว่าพยานได้ให้การต่อหน้าตนก็ตาม ก็รับฟังได้แต่เพียงว่าพยานได้เคยให้การไว้เช่นนั้น แต่ความจริงจะเป็นดังที่พยานให้การไว้หรือไม่ โจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบอีก เพราะคำให้การในชั้นสอบสวนของพยานดังกล่าว จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจค้นคว้าหาข้อเท็จจริงได้ จึงมีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสืบให้เห็นว่าจำเลยฆ่าผู้ตาย ลำพังคำรับชั้นจับกุมจำเลย และคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธอยู่ว่าไม่ได้ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจจึงนำมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิด – ไม่จำเป็นต้องระบุทุกบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิดเกี่ยวพัน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอื่นได้ แม้ไม่แจ้งข้อหาโดยเฉพาะ
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
of 19