คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องฟังว่าการตายเกิดจากการชิงทรัพย์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ของผู้ตายในเวลากลางคืน ไม่พอฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง โจทก์ไม่อุทธรณ์ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อสะดวกในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือในการชิงทรัพย์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการตายของผู้ตายจึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายมิได้ถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์ครั้งนี้ แม้คดีจะน่าเชื่อว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์และได้ชิงเอาเงิน 19,500 บาท ของผู้ตายไปก็จะปรับบทเป็นความผิดตามมาตรา 339 วรรคห้าไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักเอาเงินสด 19,500 บาทของผู้ตายไปโดยใช้ไม้ตีและมีดแทงผู้ตายหลายแห่งโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ และนำสืบเช่นนั้น แต่ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ และไม่ฟังว่าการตายของผู้ตายเกิดจากการชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงของคู่ความว่าจะเชื่อได้เพียงใดมิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์และการปรับบทความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลต้องวินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่ฟังได้ ไม่ใช่ตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ของผู้ตายในเวลากลางคืนไม่พอฟังว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา339วรรคสองโจทก์ไม่อุทธรณ์ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อสะดวกในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์หรือในการชิงทรัพย์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการตายของผู้ตายจึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายมิได้ถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกชิงทรัพย์ครั้งนี้แม้คดีจะน่าเชื่อว่าจำเลยฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์และได้ชิงเอาเงิน19,500บาทของผู้ตายไปก็จะปรับบทเป็นความผิดตามมาตรา339วรรคห้าไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักเอาเงินสด19,500บาทของผู้ตายไปโดยใช้ไม้ตีและมีดแทงผู้ตายหลายแห่งโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์และนำสืบเช่นนั้นแต่ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมีส่วนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และไม่ฟังว่าการตายของผู้ตายเกิดจากการชิงทรัพย์ซึ่งเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงของคู่ความว่าจะเชื่อได้เพียงใดมิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อหาเดิมที่ยุติแล้ว: เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษในข้อหาหนึ่งแล้ว ข้อหาอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ย่อมยุติ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการฎีกาในข้อหาเดิม เมื่อศาลชั้นต้นยุติการพิจารณาคดีในข้อหานั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นยกข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขึ้นวินิจฉัยแล้วสรุปว่าพยานหลักฐานยังไม่มั่นคงพอจะฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดและพิพากษายกฟ้อง แล้วโจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาพร้อมกับยกข้อเท็จจริงซึ่งต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขึ้นอ้างนั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องอยู่ในตัว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยก็ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือหยิบยกเอาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วขึ้นวินิจฉัยใหม่แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นยกข้อเท็จจริงต่างๆ ขึ้นวินิจฉัยแล้วสรุปว่าพยานหลักฐานยังไม่มั่นคงพอจะฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดและพิพากษายกฟ้อง. แล้วโจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาพร้อมกับยกข้อเท็จจริงซึ่งต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขึ้นอ้างนั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องอยู่ในตัว. จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยก็ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือหยิบยกเอาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วขึ้นวินิจฉัยใหม่แต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาในกำหนดระยะเวลาฎีกาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากลักทรัพย์เป็นรับของโจรในชั้นอุทธรณ์ และสิทธิฎีกาของโจทก์และจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจรเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์กรณีต้องถือว่าข้อหาฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว และเมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ปัญหาวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาอย่างไรก็ตามย่อมถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ แต่ที่จำเลยฎีกาขอให้แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยยกฟ้องโจทก์นั้นย่อมมีความหมายว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจร ซึ่งข้อหานี้ยุติไปแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนข้อหา – ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาเฉพาะข้อหาเดิมที่จำเลยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าข้อหาฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้ว และเมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ปัญหาวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อย่างไรก็ตามย่อมถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้ แต่ที่จำเลยฎีกาขอให้แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยยกฟ้องโจทก์นั้น ย่อมมีความหมายว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหารับของโจร ซึ่งข้อหานี้ยุติไปแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 28