คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์และการลงโทษที่ไม่ตรงตามประสงค์โจทก์ รวมถึงการล้างมลทิน
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมไขกุญแจประตูรถและติด เครื่องยนต์มิใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับ คุ้มครองทรัพย์ และกุญแจประตูรถเป็นส่วนหนึ่งของรถ จำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ตาม มาตรา 335(3) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักรถยนต์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานยศร้อยตรี อันเป็นการมุ่งประสงค์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) ฐานลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานมิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์โดยแปลงหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามมาตรา 335(5)การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม มาตรา 335(5) จึงเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 เท่านั้น ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 4 ใช้บังคับบัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ ปรากฏว่าความผิดฐานรับของโจร ที่โจทก์ถือเป็นเหตุ ขอเพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยใช้กุญแจปลอมและการลงโทษที่ไม่ตรงกับฟ้อง: ศาลฎีกายกเลิกโทษฐานแปลงตัวและรับของโจร
การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจปลอมไขกุญแจประตูรถและติดเครื่องยนต์มิใช่เป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ และกุญแจประตูรถเป็นส่วนหนึ่งของรถ จำเลยลักรถยนต์ไปทั้งคัน ถือไม่ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ตาม มาตรา 335(3)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักรถยนต์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานยศร้อยตรี อันเป็นการมุ่งประสงค์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) ฐานลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานมิได้ประสงค์ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์โดยแปลงหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามมาตรา 335(5) การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตาม มาตรา 335(5) จึงเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม มาตรา 334 เท่านั้น
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีพ.ศ. 2526 มาตรา 4 ใช้บังคับบัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ ปรากฏว่าความผิดฐานรับของโจรที่โจทก์ถือเป็นเหตุขอเพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาเฉพาะข้อหาลักทรัพย์ ข้อหาอื่นยุติ ศาลฎีกาไม่พบหลักฐานเพียงพอ ฟังลงโทษฐานลักทรัพย์ไม่ได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ทุกข้อหา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในข้อหาลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา โดยโจทก์มิได้ฎีกา กรณีจึงต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลอุทธรณ์ในชั้นฎีกา คดีคงมีปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำผิดฐานลักทรัพย์โจทก์หรือไม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาเฉพาะคดีลักทรัพย์ ข้อหา รับของโจร ยุติแล้ว ศาลฎีกา ยกฟ้องฐานลักทรัพย์เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ทุกข้อหา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในข้อหาลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา โดยโจทก์มิได้ฎีกา กรณีจึงต้องถือว่า ข้อหาความผิดฐานรับของโจรยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลอุทธรณ์ในชั้นฎีกาคดีคงมีปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำผิดฐานลักทรัพย์โจทก์หรือไม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง และการลงโทษในเรื่องที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษ เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกับพวกกลั่นแกล้งจับกุมผู้เสียหาย กล่าวหาว่าผู้เสียหายกับพวกลักรถจักรยานยนต์ของญาติจำเลยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย ทำทีว่าจะจับกุมผู้เสียหายส่งพนักงานสอบสวน แต่แล้วได้ร่วมกันกรรโชกทรัพย์โดยเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในเรื่องจำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบจึงเป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง และเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษ จำเลยอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ กลับนำข้อเท็จจริงอีกตอนหนึ่งที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในฟ้องมาฟังลงโทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิชอบเพราะเป็นการพิพากษาในเรื่องที่โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ ส่วนการจะนำข้อเท็จจริงอย่างอื่นซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์มาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยนั้นก็เป็นการไม่ชอบอีกเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง ถือเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกับพวกกลั่นแกล้งจับกุมผู้เสียหายกล่าวหาว่าผู้เสียหายกับพวกลักรถจักรยานยนต์ของญาติจำเลยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทำทีว่าจะจับกุมผู้เสียหายส่งพนักงานสอบสวนแต่แล้วได้ร่วมกันกรรโชกทรัพย์โดยเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในเรื่องจำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ในข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยทราบว่าพวกของจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายแก่กายแล้วไม่แจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทราบจึงเป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องและเป็นการลงโทษในเรื่องที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่กลับนำข้อเท็จจริงอีกตอนหนึ่งที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในฟ้องมาฟังลงโทษจำเลยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิชอบเพราะเป็นการพิพากษาในเรื่องที่โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ส่วนการจะนำข้อเท็จจริงอย่างอื่นซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์มาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยนั้นก็เป็นการไม่ชอบอีกเช่นกันไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมและการอุทธรณ์
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯลฯ และร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองจนได้รับอันตรายสาหัส ผู้เสียหายทั้งสองเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมทั้งสองอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ร่วมกับพวกได้กลุ้มรุมทำร้ายจำเลย และจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสทั้งสองคน เป็นเรื่องวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ถือว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วม และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เมื่อโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯ และร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองจนได้รับอันตรายสาหัส ผู้เสียหายทั้งสองเข้าเป็นโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์แต่โจทก์ร่วมทั้งสองอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ร่วมกับพวกได้กลุ้มรุมทำร้ายจำเลย และจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสทั้งสองคนเป็นเรื่องวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ถือว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงและการไม่แสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงการชั่งน้ำหนักในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น โจทก์มิได้แสดงโดยชัดเจนว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร หาเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ไม่
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่เป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499มาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และอุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังคลาดเคลื่อน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำเบิกความของตัวโจทก์ พยานจำเลย และพฤติการณ์ของจำเลยประกอบกันฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงการชั่งน้ำหนักในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น โจทก์มิได้แสดงโดยชัดเจนว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนนอกฟ้องนอกประเด็นอย่างไร หาเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ไม่
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่เป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ.2499มาตรา 22 ทวิ
of 28