พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11411/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งออกหมายจับ/ค้นในชั้นสอบสวน ไม่เปิดอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาใช้สิทธิฟ้องดำเนินคดีกับผู้ร้องได้
การออกหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปได้ แม้พนักงานสอบสวนจะต้องมาร้องขอต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกหมายจับและหมายค้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องเป็นคดีมาถึงศาล เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรสั่งประการใดแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายประสงค์จะให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 หากผู้ร้องอ้างข้อมูลอันเป็นเท็จ ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีต่างหากได้ ผู้ต้องหาจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ต้องหาที่ให้เพิกถอนหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14293/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาและการใช้สิทธิขอปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องขอปล่อยตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบถึงสาระสำคัญคลาดเคลื่อน จึงออกคำพิพากษาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9535/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาหลังศาลตัดสินแล้ว: จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์เท่านั้น การยื่นคำร้องใหม่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าว กลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นการบังคับคดีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390-7391/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและการละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดโดยเฉพาะ
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เป็นอำนาจของศาลที่จะทำไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่า มิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำต้องไต่สวน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุมีจะเรียก ว. มาสอบถามและหากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจาก ว. โจทก์ร่วมชอบที่จะไปดำเนินคดีต่างหากก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นชี้ขาดในเรื่องการละเมิดอำนาจศาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นได้
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุมีจะเรียก ว. มาสอบถามและหากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจาก ว. โจทก์ร่วมชอบที่จะไปดำเนินคดีต่างหากก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นชี้ขาดในเรื่องการละเมิดอำนาจศาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกหลังคดีถึงที่สุดแล้วเป็นไปไม่ได้ แม้จะมีข้อกฎหมายหรือคำพิพากษาใหม่ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือกำหนดโทษไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ดังนี้ หากศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานร่วมกันกระทำความผิดและลดโทษจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 และฐานร่วมกันกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามและมาตรา 277 วรรคสาม แต่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยปราศจากเหุตอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันซึ่งมีระวางโทษต่างกันไม่มากนัก และเป็นการแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะแก้โทษด้วยก็เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเด็กหญิงไม่ยินยอมตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ที่ใช้บังคับขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จะต้องมีผู้ร่วมกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างน้อยสองคน โดยผลัดเปลี่ยนกันกระทำชำเราเด็กหญิงและโดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 พาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 พา ต. มาและจำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 1 ออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ หลังจากนั้น ต. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 และในเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันยังมี ร. กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีก พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับคนอื่นในการกระทำความผิดอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วออกไปจากที่เกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำโดยลำพังเฉพาะตัว ไม่มีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทลงโทษหลังคดีถึงที่สุด ศาลไม่อำนาจแก้ไขคำพิพากษา แม้กฎหมายเปลี่ยนแปลง
ขณะจำเลยที่ 3 กระทำความผิดคดีนี้ มาตรา 15 และ มาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหากจำเลยที่ 3 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยที่ 3 ชอบที่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 3 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ โดยอ้างข้อกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 3 ดังนี้หากศาลฟังข้อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 อ้างแล้ววินิจฉัยปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติโดยไม่ชอบ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ประเด็นการใช้บังคับของกฎหมายที่ดิน
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2510 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ฉะนั้นตามคำฟ้องจำเลยจึงเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ที่แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ใช้บังคับทั้งการครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2510 ตลอดมาก็เป็นการครอบครองสืบเนื่องจากการเข้ายึดถือครอบครองในครั้งแรกเมื่อมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ฯลฯ เช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ที่โจทก์ขอให้ลงโทษได้
โจทก์ฟ้องว่าวันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลา 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างอิงเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องอันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
โจทก์ฟ้องว่าวันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลา 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างอิงเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องอันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดพาอาวุธ และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองได้
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ กับปรากฏในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายข้างต้นยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใด อันเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225