พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลต้องตรวจและแก้ไขก่อนรับพิจารณา หากไม่ทำเป็นการละเมิดสิทธิจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดย ก. ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนจำเลยแต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยละเอียด และมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องในการยื่นอุทธรณ์เสียให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนที่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง ๆที่เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในเนื้อหาแห่งอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยโดยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้พร้อมกับยื่นฎีกาเข้ามาแล้วจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขและต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กหญิงเพื่ออนาจาร แม้ผู้เสียหายเต็มใจไปก็เป็นความผิด เจตนาจำเลยสำคัญกว่า
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่ออนาจาร ไม่ว่าผู้เสียหายจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจไปกับจำเลยก็เป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ถือเจตนาของจำเลยที่พาไปหรือแยกผู้เสียหายออกจากความดูแลของบิดามารดาของผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะความเสียหายของตนเอง และผลของการไม่คัดค้านคำพิพากษา
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานบุกรุกซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายด้วยเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมาย (ดอกเบี้ยเกินอัตรา) ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้โอนให้ผู้อื่น
อุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ฝ. แทนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โดยมิได้อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นประการอื่น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกำหนด: จำเลยต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาลก่อนฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา เมื่อนับถึงวันยื่นฎีกาเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือน หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า 6 เดือน ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเกี่ยวกับระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาตขับขี่และการบังคับคดีที่ถูกต้อง รวมถึงเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุก
ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษาซึ่งเมื่อนับถึงวันยื่นฎีกานี้เป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือนแล้ว หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า6 เดือนนั้น เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ซึ่งมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้ตามลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยแถลงข้อเท็จจริงปฏิเสธความผิด ไม่ได้คัดค้านดุลพินิจศาลอุทธรณ์
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 จะได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ได้ไปติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 และพวกตลอดทั้งพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 และหลอกลวงให้ทำบันทึกคำรับสารภาพไว้ โดยละเอียดก็ตาม แต่ฎีกาของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแถลงข้อเท็จจริงปฏิเสธความผิดของตนโดยมิได้ยกเหตุขึ้นคัดค้านหรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลในคดีอาญา: สิทธิอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 54(2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 54 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป