คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม, ความผิดหลายกระทง, เจตนาเฉพาะเจาะจง, การปรับบทอาญา
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา288, 80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่า ในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตาย กระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกัน และกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน
เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้อง แต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การอุทธรณ์คำสั่งปรับของผู้ประกัน
ข.เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก.ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก.ได้มอบให้ ข.นำที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ ข.ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติ ทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก.หาได้มอบอำนาจให้ ข.อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับ ก.ผู้ประกันแทน ก.แต่อย่างใดไม่ข.จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการอุทธรณ์คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะการถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลเท่านั้น
ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก. ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก. ได้มอบให้ ข. นำที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและให้ ข. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก. หาได้มอบอำนาจให้ ข. อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับก. ผู้ประกันแทน ก. แต่อย่างใดไม่ ข. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องพยานหลักฐาน ชี้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามลำดับศาล
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ในศาลชั้นต้นจำเลยจะนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ก็ตาม
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัดศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าหมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับเดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่องการออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ต้องการอ้างอิงในการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อฎีกาไม่ชัดเจนและไม่ระบุเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกา ขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 216, 225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีหลายสำนวน และข้อยกเว้นตาม ป.อ.มาตรา 91 กรณีรวมพิจารณาคดี
ป.อ.มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้
การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทง จึงต้องอยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตาม ป.อ.มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัติไว้
โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตามเมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในป.อ.มาตรา 91 (3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 22วรรคหนึ่งได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามป.อ.มาตรา 91 (3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอันที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วย ป.อ.มาตรา 91 (3) หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีอาญาต่างสำนวน และข้อยกเว้นการนับโทษเกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยใน คดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทงจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้ โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตาม เมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอัน ที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 28