คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำสืบพยานเท็จในคดีแพ่ง โจทก์เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 180 หรือไม่ ความผิดฐานดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้จึงมีผลเป็นการสั่งรับเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1เท่านั้น
การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ผิดสัญญาซื้อขาย ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1531ให้แก่จำเลย และจำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งดังกล่าวนั้นแม้จำเลยอ้างว่าการเบิกความเป็นพยานและการส่งสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยกระทำต่อศาลชั้นต้น มิใช่กระทำต่อโจทก์ก็ตาม แต่คดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ถูกจำเลยฟ้องโจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีด้วย และสัญญาซื้อขายตามที่จำเลยอ้างส่งก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์โดยตรงเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี เพราะอาจมีผลให้โจทก์ถูกบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายในคดีเช็ค – การบังคับใช้ พ.ร.บ.เช็ค เมื่อผู้ออกเช็คไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูล ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้จำเลยจะมิได้เป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าผู้ออกเช็คจะต้องเป็นลูกหนี้ เมื่อจำเลยยอมออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวรวมทั้งหนี้ของจำเลย จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเป็นการอุทธรณ์ว่าเช็คที่ออกในลักษณะดังกล่าวผู้ออกเช็คมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 หรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาอุทธรณ์ของโจทก์นี้จะต้องนำมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับบทว่า เช็คที่ออกในลักษณะดังกล่าวเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้หรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและการประเมินเจตนาในการฆ่า: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่าและตบหน้าจำเลยจำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุมีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์จำเลย และผู้ตาย อ. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยหรือผู้ตายมาก่อน จึงเป็นพยานคนกลาง พยานปากนี้จึงมีน้ำหนักมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาคำเบิกความของจำเลยแล้ว จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทั้งที่ยังไม่พฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลยและไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธปืนจึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 72โจทก์ร่วมขอขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่อนุญาต จึงถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต้องถือว่าปัญหาดังกล่าวสำหรับโจทก์ร่วมได้ยุติแล้ว โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาโจทก์ร่วมมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งชัดเจน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตาม ป.อ.มาตรา 225 ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 220จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสี่ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9299/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์สงวนเฉพาะผู้เสียหายโดยตรงในความผิดต่อกฎหมายจราจร
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย จึงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหานี้ไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้ก็ต้องหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 เท่านั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คและฉ้อโกงเป็นกรรมเดียวกัน หากมีคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คแล้ว สิทธิฟ้องร้องในความผิดฐานฉ้อโกงย่อมระงับ
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 และโจทก์ในคดีนี้ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวสำหรับเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดที่ได้ฟ้องในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นความผิดอันเกิดจากการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาสืบพยานฟังข้อเท็จจริง และพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไปแล้วว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ในข้อหาความผิดกรรมเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการไม่ชอบที่จะกระทำได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ของโจทก์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวในคดีนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา39 (4) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดดังกล่าวอีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และ 193 แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเช็คพิพาท และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องได้ จำเลยที่ 1ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7789/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ใหม่ได้
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วม ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ไม่ได้ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้อีกไม่ได้เพราะการเข้าร่วมเป็นโจทก์ถือว่าเป็นการฟ้องคดีใหม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน-อัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้ และที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ไม่ได้แล้วโจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364-7365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ในสำนวนหลังของศาลชั้นต้นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วโจทก์และจำเลยที่8(โจทก์และจำเลยในสำนวนหลัง)มิได้ยื่นอุทธรณ์ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในสำนวนแรกยื่นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์เกี่ยวกับสำนวนคดีหลังจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค1เกี่ยวกับจำเลยที่8จึงไม่ชอบและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่8ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านคำสั่งริบทรัพย์ในคดียาเสพติด: ผู้มีสิทธิคือผู้คัดค้านคำขอริบเท่านั้น
ผู้ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษากลับหรือแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามคำขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา30,31คือผู้คัดค้านคำขอซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นเมื่อบุคคลดังกล่าวมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยซึ่งมิได้ร้องคัดค้านคำขอของโจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์และฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
of 28