คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านคำสั่งริบทรัพย์: ผู้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์/ฎีกาต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบเท่านั้น
ผู้ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษากลับหรือแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามคำขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 ได้คือผู้คัดค้านคำขอซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นเท่านั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยซึ่งมิได้ร้องคัดค้านคำขอของโจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์และฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการริบทรัพย์ในคดียาเสพติด: ผู้มีสิทธิคือผู้คัดค้านคำขอริบเท่านั้น
ผู้ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษากลับหรือแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามคำขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา30,31คือผู้คัดค้านคำขอซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นเมื่อบุคคลดังกล่าวมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยซึ่งมิได้ร้องคัดค้านคำขอของโจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์และฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านคำสั่งริบทรัพย์ในคดียาเสพติด: ผู้มีสิทธิคือผู้คัดค้านคำขอริบเท่านั้น
ผู้ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษากลับหรือแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามคำขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา30,31คือผู้คัดค้านคำขอซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นเมื่อบุคคลดังกล่าวมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาจำเลยซึ่งมิได้ร้องคัดค้านคำขอของโจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์และฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ขยายข้อกล่าวหาจากลักทรัพย์เป็นรับของโจร ศาลมีอำนาจลงโทษได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธและนำสืบอ้างฐานที่อยู่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานลักทรัพย์แต่มิได้วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่เมื่อโจทก์เป็นว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่นำสืบจำเลยที่1ถึงที่3มีความผิดฐานรับของโจรซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามโจทก์จึงอุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยที่1ถึงที่3ในความผิดฐานรับของโจรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำหลายกรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษ
จำเลยที่2และที่3กับพวกล่อลวงผู้ตายและผู้เสียหายมายังที่เกิดเหตุจุดแรกโดยมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายและทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัสแต่ผู้ตายหลบหนีไปได้เสียก่อนการที่จำเลยที่2ที่3และ ฮ. ติดตามไปทันและฆ่าผู้ตายในภายหลังต่อเนื่องกันไปย่อมเห็นได้ว่าเพิ่งมี เจตนาฆ่าผู้ตายในขณะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ที่3และ ฮ.มีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยที่2และที่3ต่อผู้ตายและผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันแต่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่2และที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(4),83เพียงกรรมเดียวเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297(8)อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษา เพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา212ประกอบมาตรา225แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ การที่จำเลยที่2และที่3อุทธรณ์ว่ามิใช่คนร้ายที่กระทำผิดตามฟ้องย่อมครอบคลุมไปถึงข้ออุทธรณ์ว่าไม่มีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์-กฎหมายใหม่คุ้มครอง: ศาลฎีกาแก้โทษปรับ-จำคุกจากกฎหมายเช็คเก่าเป็นเช็คใหม่
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมย่อมอุทธรณ์คัดค้านของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว และยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 บังคับใช้ ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์, สิทธิอุทธรณ์, และการใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เบากว่าเดิม
การสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคำร้อง โจทก์ร่วมชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วและยังไม่ได้มีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 196 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่าต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอัตราโทษเบากว่าโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด และเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นป้องกันตัว เหตุโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกามาในฎีกาเลยว่า ข้อเท็จจริงอย่างไรที่ถือว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบ ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ข้อโต้แย้งเรื่องข้อเท็จจริงข่มขืนกระทำชำเรา และการยอมรับสมัครใจของผู้เสียหายในข้อหาพรากผู้เยาว์
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลยเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การถอนอุทธรณ์และการโต้แย้งหมายจำคุกหลังคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์แล้วพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญา มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 และ 216 หากจำเลยเห็นว่าการออกหมายไม่ถูกต้องก็ต้องร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายนั้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเสียก่อน ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้องจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม
of 28