พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการฝากขังก่อนฟ้องและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฝากขังของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ตามคำร้องของผู้ร้องมีกำหนด 12 วัน เพื่อสอบสวนดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาฎีกา เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที... กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม..." มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" มาตรา 66 บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี" ตามบทบัญญัติข้างต้นให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 คดีนี้ ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 106 บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีชั่วคราว-เด็ดขาด: จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง/คำพิพากษาเมื่อคดีจำหน่าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาใหม่ โดยให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเฉพาะจำเลยที่ 2 และจำหน่ายคดีเด็ดขาดเมื่อโจทก์ฟ้องหรือไม่ฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงไม่มีคดีของจำเลยที่ 2 ในระหว่างพิจารณาที่จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์คำสั่งขอให้รวมการพิจารณาคดี คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้แก่จำเลยที่ 2 ที่จะฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยไม่ชอบ และสิทธิในการขอเพิกถอนนิติกรรมของทายาทที่ถูกละเลย
โจทก์อุทธรณ์ว่า จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่ตนเองโดยแจ้งในบัญชีเครือญาติว่าบุตรผู้ตายอีก 8 คน ถึงแก่ความตาย เหลือ จ. เพียงคนเดียว โดยไม่ระบุบุตรผู้ตาย และในคดีขอจัดการมรดก จ. ระบุว่า ผู้ตายมีทายาทเพียง 2 คน ถือเป็นการปิดบังมรดก แต่ในคำฟ้องของโจทก์อ้างสาเหตุที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ต้องกำจัด จ. เพราะว่า จ. โอนทรัพย์มรดกแก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 โดยให้ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่โอนให้แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่มิได้อ้างมาในคำฟ้อง ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่รับวินิจฉัย เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่โต้แย้งคัดค้านพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในประเด็นดังกล่าวนี้ว่า ไม่ชอบอย่างไร แท้จริงแล้วอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นการยกเอาข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องมาอุทธรณ์ แต่โจทก์ยังคงฎีกาว่า ตามคำฟ้องและจากพยานหลักฐานในสำนวนถือว่า จ. มีพฤติกรรมในการปิดบังทรัพย์มรดกต้องถูกกำจัด จึงถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สิทธิในการรับมรดกนั้นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตร 9 คน โดยไม่ปรากฏว่ามีทายาทชั้นอื่นที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้อีก ดังนั้นมรดกของเจ้ามรดกต้องถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน โดย ป.พ.พ. มาตรา 1632 และ 1633 บัญญัติว่า หากแบ่งปันหรือมีข้อตกลงให้แบ่งปันเป็นประการอื่น ต้องเป็นข้อตกลงยินยอมของทายาททุกคน จะใช้มติของทายาทเสียงข้างมากบังคับให้มีผลแตกต่างจากส่วนแบ่งที่จะได้รับตามกฎหมายหาได้ไม่ คดีนี้ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 กล่าวอ้างว่า ทายาททุกคนตกลงให้แบ่งปันทรัพย์มรดกออกเป็น 10 ส่วน ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วน ยกให้แก่ จ. ก็มีผลเท่ากับว่า จ. ได้รับส่วนแบ่ง 2 ส่วน เกินส่วนที่ตนเองจะได้รับตามกฎหมาย และมีผลทำให้ทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาต้องได้รับส่วนแบ่งน้อยลงด้วย ทั้งในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ปรากฏว่าโจทก์เกี่ยวข้องด้วย การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ทายาทที่ตกลงกันเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการแบ่งมรดกที่แบ่งโดยมิชอบได้ แต่คงเพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเท่านั้น
สิทธิในการรับมรดกนั้นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตร 9 คน โดยไม่ปรากฏว่ามีทายาทชั้นอื่นที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้อีก ดังนั้นมรดกของเจ้ามรดกต้องถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน โดย ป.พ.พ. มาตรา 1632 และ 1633 บัญญัติว่า หากแบ่งปันหรือมีข้อตกลงให้แบ่งปันเป็นประการอื่น ต้องเป็นข้อตกลงยินยอมของทายาททุกคน จะใช้มติของทายาทเสียงข้างมากบังคับให้มีผลแตกต่างจากส่วนแบ่งที่จะได้รับตามกฎหมายหาได้ไม่ คดีนี้ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 กล่าวอ้างว่า ทายาททุกคนตกลงให้แบ่งปันทรัพย์มรดกออกเป็น 10 ส่วน ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วน ยกให้แก่ จ. ก็มีผลเท่ากับว่า จ. ได้รับส่วนแบ่ง 2 ส่วน เกินส่วนที่ตนเองจะได้รับตามกฎหมาย และมีผลทำให้ทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาต้องได้รับส่วนแบ่งน้อยลงด้วย ทั้งในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ปรากฏว่าโจทก์เกี่ยวข้องด้วย การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลบังคับเฉพาะที่ทายาทที่ตกลงกันเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่มีสิทธิจะได้รับตามกฎหมายได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการแบ่งมรดกที่แบ่งโดยมิชอบได้ แต่คงเพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์/ฎีกาคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจยาเสพติด: ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิ
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ยื่นคำร้องขอให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อรับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จะไม่ใช่คำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พนักงานสอบสวนมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวนดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ร้องโดยเฉพาะ ผู้ต้องหาทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ต้องหาทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9640/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินกรอบที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและโจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเฉพาะเรื่องแจ้งความเท็จเกี่ยวกับเรื่องยักยอกเงินว่า จำเลยแจ้งข้อความเท็จ ให้จำคุก 1 ปี ข้อหาอื่นให้ยก ย่อมถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบการกระทำผิดเพื่อไม่ให้คดีขาดอายุความแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานดังกล่าวที่เกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบการกระทำผิด โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่าจำเลยไม่ได้แจ้งข้อความเท็จว่าโจทก์ยักยอกเงิน ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้โดยยกฟ้องโจทก์ในฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับเรื่องยักยอกเงินเสียด้วย จะไปหยิบยกในเรื่องเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบเรื่องการกระทำผิดขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำคุกย่อมไม่ชอบ เนื่องจากเป็นการพิพากษานอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบเรื่องการกระทำผิด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิวาทร่วมกันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเป็นผู้เสียหายและอุทธรณ์คดีอาญาได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ร่วมกับจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ย่อมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 30 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดโทษจำเลยสูงขึ้น จึงต้องบังคับโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฎีกาเนื่องจากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจ ม.245 วรรคสอง แม้จำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้พิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 4 ด้วย แล้วพิพากษาแก้เฉพาะในส่วนการริบของกลาง เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนในส่วนความผิดและโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกคดีขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 4 อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8997/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อไม่ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
คู่ความที่ฎีกาต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ เพื่อให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุใดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จะให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์เป็นส่วนหนึ่งของฎีกา โดยไม่มีเหตุผลและข้อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมไม่ได้
ปัญหาฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี
ที่โจทก์ฎีกาว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คัดค้านในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตั้งแต่ ฟ้องของโจทก์ก็ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดการกระทำผิดของจำเลยตามกฎหมายที่ชัดเจนครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ซึ่งจำเลยก็เข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ดี ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใด มีการเบิกความไต่สวนมูลฟ้อง จนศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาและการเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล โจทก์ก็เบิกความในข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญแก่คดีตามข้อกฎหมายที่โจทก์ได้ฟ้องแล้ว จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และเมื่อโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงได้อุทธรณ์คัดค้านโต้แย้งข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของกฎหมายในข้อประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัย โดยโจทก์เห็นว่าเป็นสาระสำคัญอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ภาค 5 อีกชั้นหนึ่งว่าการเบิกความของจำเลยต่อศาลตามพยานเอกสารคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าวจะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 หยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่พึงรับไว้พิจารณาแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า ข้อที่โจทก์อ้างในคำฟ้องฎีกาดังกล่าว โจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เลยว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จตามข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ได้บรรยายไว้แล้วในฟ้องด้วยข้อความใดและอย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร เช่นนี้จึงเป็นฎีกาที่มิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับในการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มิใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี
ที่โจทก์ฎีกาว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คัดค้านในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตั้งแต่ ฟ้องของโจทก์ก็ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดการกระทำผิดของจำเลยตามกฎหมายที่ชัดเจนครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ซึ่งจำเลยก็เข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ดี ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใด มีการเบิกความไต่สวนมูลฟ้อง จนศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาและการเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล โจทก์ก็เบิกความในข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญแก่คดีตามข้อกฎหมายที่โจทก์ได้ฟ้องแล้ว จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และเมื่อโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงได้อุทธรณ์คัดค้านโต้แย้งข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของกฎหมายในข้อประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัย โดยโจทก์เห็นว่าเป็นสาระสำคัญอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ภาค 5 อีกชั้นหนึ่งว่าการเบิกความของจำเลยต่อศาลตามพยานเอกสารคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าวจะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 หยิบยกปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่พึงรับไว้พิจารณาแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า ข้อที่โจทก์อ้างในคำฟ้องฎีกาดังกล่าว โจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เลยว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จตามข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ได้บรรยายไว้แล้วในฟ้องด้วยข้อความใดและอย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร เช่นนี้จึงเป็นฎีกาที่มิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับในการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195-4197/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันคดีถึงที่สุดหลังถอนฎีกา กรณีจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยก็ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวพอแปลความหมายได้ว่าจำเลยต้องการให้ศาลฎีกาอธิบายความหมายของคำสั่งที่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาตามคำร้องว่าในกรณีนี้คดีถึงที่สุดเมื่อใด
ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา แต่ยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดตามที่จำเลยยื่นคำร้องไว้ เมื่อกรณีที่จำเลยขอถอนฎีกาเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาแล้วสั่งต่อไปว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาในกรณีที่จำเลยนั้นต้องขังระหว่างฎีกาในขณะยื่นคำร้อง แต่คดีนี้จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาและขณะที่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จำเลยยังได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ประกันเพิ่งมาขอถอนประกันและส่งตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ฉะนั้น จึงเห็นควรระบุให้ชัดเจนว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 อันเป็นวันที่ผู้ประกันส่งตัวจำเลย
ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา แต่ยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดตามที่จำเลยยื่นคำร้องไว้ เมื่อกรณีที่จำเลยขอถอนฎีกาเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาแล้วสั่งต่อไปว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาในกรณีที่จำเลยนั้นต้องขังระหว่างฎีกาในขณะยื่นคำร้อง แต่คดีนี้จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาและขณะที่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จำเลยยังได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ประกันเพิ่งมาขอถอนประกันและส่งตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ฉะนั้น จึงเห็นควรระบุให้ชัดเจนว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 อันเป็นวันที่ผู้ประกันส่งตัวจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกหมายจับของผู้พิพากษาคนเดียวและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ.
การออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น เป็นอำนาจพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นมีอำนาจออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้ ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 66 และมาตรา 59/1 โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193