คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 683

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้นของผู้ค้ำประกัน, และวงเงินความรับผิด
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตาม ป.พ.พ. มาตรา 858, 859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1 กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน 611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24 บาทจึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858,859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24บาท จึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ที่จำกัดวงเงินและความรับผิดตามสัญญาอุปกรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เคยตกลงผูกพันตามสัญญาโอนขายลดเช็คฉบับเดิม ในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คที่ได้กระทำขึ้นใหม่ภายหลัง เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่แล้ว และที่จะเกิดขึ้นในภายหลังผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่คู่สัญญาได้กระทำขึ้นต่อมาอีกภายหลัง แต่ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาโอนขายลดเช็คที่สัญญาค้ำประกันได้ทำขึ้นเป็นสัญญาอุปกรณ์อยู่เดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักบัญชีนอกเงื่อนไขสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, วงเงินค้ำประกัน, และการบอกกล่าวบังคับจำนอง
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 นั้น ไม่จำต้องบอกกล่าววิธีบังคับจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย คำขอเปิดบัญชีของจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้า บริษัทมีหนี้สินความรับผิดชอบต่อธนาคารไม่ว่าจะเป็นหนี้สินความรับผิดชอบประเภทใด ธนาคารมีสิทธิหักบัญชีของข้าพเจ้า/บริษัท ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า" ถือได้ว่าตามข้อตกลงนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์หักบัญชีมิใช่เฉพาะแต่เงินในบัญชีเท่านั้นดังนั้นแม้ในบัญชีของจำเลยที่ 1 จะไม่มีเงิน โจทก์อาจนำหนี้สินอื่นมาหักจากบัญชีของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาค้ำประกัน ข้อ 1 มีว่า "เนื่องในการที่ธนาคาร ยอมให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีเบิกเงินจากธนาคารตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นจำนวน 2,000,000 บาท นั้น ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่กล่าวแล้วจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และทั้งนี้ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันชำระหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วต่อธนาคารก่อนสัญญานี้ด้วย" ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 มิได้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,000,000บาท เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากเจ้าหนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในวันเดียวกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขในสัญญาโดยไม่ได้ระบุวงเงินค้ำประกันไว้ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงินเพียง20,000 บาท ดังนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญานับแต่วันผิดนัด จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำพิพากษาในคดีแพ่งที่ให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้จำเลยที่ 1 เต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้นั้น ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะสอบสวนและมีความเห็นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 94,105 และศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 107(3) ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ชำระเป็นหนี้ที่ผูกพันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้นี้ในคดีล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีก่อสร้าง: การลดค่าปรับ, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดจำกัด
สัญญามีข้อความว่า ผู้รับจ้างยินยอมให้บรรดาสิ่งก่อสร้างที่ผู้รับจ้างได้กระทำขึ้น รวมทั้งสัมภาระอุปกรณ์การก่อสร้างที่ได้ทำไว้ ณ สถานที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะเพื่อการก่อสร้าง.... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น นั้น ทรัพย์สินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมควบคุมโรคติดต่อ ผู้ว่าจ้างก็เฉพาะวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างที่จะใช้ในการก่อสร้างอาคารตามสัญญา และที่ได้ก่อสร้างเป็นส่วนของอาคารตามสัญญาไปแล้วเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำการก่อสร้างด้วย
ข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนด กรณีจะเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาหรือให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างล่วงเวลาไป ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดต่อผู้ว่าจ้างในสิ่งก่อสร้างและสัมภาระอุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับจ้างคงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยไม่ต้องใช้ราคาแก่ผู้รับจ้าง ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 แก่กรมควบคุมโรคติดต่อผู้ว่าจ้าง ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของกรมควบคุมโรคติดต่อ กับสภาพหรือผลงานและพฤติการณ์ที่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด ผู้รับจ้างปฏิบัติมาแล้ว เห็นว่า เบี้ยปรับส่วนนี้เป็นเงินพอสมควรแล้วกรมควบคุมโรคติดต่อจึงมีสิทธิรับผลงานไว้โดยไม่ต้องชดใช้ราคา
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "ข้าพเจ้ายอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่กรมควบคุมโรคติดต่อได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด โดยเพียงแต่กรมควบคุมโรคติดต่อแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น" เช่นนี้เป็นการที่ธนาคารผู้ค้ำประกันยินยอมด้วยล่วงหน้าในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างเมื่อกรมควบคุมโรคติดต่อได้ผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างจึงไม่เข้าข่ายที่ธนาคารจะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 แม้สัญญาตอนท้ายจะมีข้อความว่ากรมควบคุมโรคติดต่อต้องแจ้งให้ธนาคารทราบโดยไม่ชักช้า ข้อความดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าถ้าไม่ได้แจ้งจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นเป็นการแสดงเจตนาของธนาคารที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น ฉะนั้น แม้กรมควบคุมโรคติดต่อจะไม่ได้แจ้งธนาคาร ธนาคารก็ไม่หลุดพ้นความรับผิด
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อกรมควบคุมโรคติดต่อ เป็นเงิน 1,122,868.80 บาท ข้อสัญญานี้เป็นการผูกพันรับผิดเป็นจำนวนจำกัดแน่นอน ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดต่อกรมควบคุมโรคติดต่อไม่ถึง 1,122,867.80 บาท ธนาคารผู้ค้ำประกันก็ย่อมผูกพันรับผิดตามจำนวนที่บริษัท จ. ต้องรับผิดนั้น แต่ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดเกิน 1,122,867.80 บาท ธนาคารก็รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่จำกัดไว้แล้ว ฉะนั้น เมื่อบริษัท จ. จะต้องรับผิดชอใช้ค่าเสียหายแก่กรมควบคุมโรคติดต่อเป็นเงิน 4,700,654 บาท ธนาคารจึงต้องรับผิดด้วยเป็นเงิน 1,122,867.80 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ลูกหนี้ร่วมและหนี้ค้ำประกัน แม้คดีขาดอายุความแต่บังคับชำระจากที่ดินจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมีอ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และ อ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ. ด้วย อ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปีนับแต่ อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ ตามมาตรา 189 และมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีค้ำประกันขาดอายุความ ผู้รับจำนองยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมีอ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและอ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ.ด้วยอ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปีนับแต่ อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ ตามมาตรา 189 และมาตรา 745.
of 6