พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: วันหยุดราชการและเจตนาให้ลูกหนี้ชำระหนี้
คำว่า "ลักษณะนี้" ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.ด้วย และแม้ ป.วิ.พ.มาตรา 273วรรคสาม จะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย กรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาในคำบังคับและการออกหมายบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย และแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วยกรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดการที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การแจ้งการขาย การคัดค้าน และความชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อและชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้น ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่า ไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่ จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดและการแจ้งการขายโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้และชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้ผู้ซื้อรายต่อๆไป ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2จนถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปโดยชอบ หากไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามยื่นต่อศาลผิดอำนาจ แม้ศาลมีคำสั่งขยายเวลา แต่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 229 ประกอบด้วย มาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยคู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนดังนี้ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยาย ระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาและการขยายระยะเวลาในกรณีที่ศาลมีเขตอำนาจต่างกัน การยื่นฎีกาต้องทำต่อศาลที่มีคำพิพากษา
ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบด้วยมาตรา 247 คู่ความจะต้องยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10แห่ง ป.วิ.พ.
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยที่ 1จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดอุดรธานี ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้ศาลจังหวัดนครราชสีมาไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยที่ 1จะต้องยื่นฎีกาคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมา การที่ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีซึ่งมิใช่ศาลที่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาจึงเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 หาใช่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ไม่ อีกทั้งตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของศาลจังหวัดอุดรธานีจึงมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นไม่ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามมาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายที่อยู่แล้ว โดยใช้ภูมิลำเนาเดิมที่ปรากฏในสัญญาและทะเบียนบ้าน
ในการทำสัญญาจำนองที่ดินแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 แจ้งที่อยู่ลงในสัญญาจำนองว่าอยู่บ้านเลขที่ 483/2-3 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร และโจทก์ก็บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 4 มีที่อยู่ดังกล่าว โดยโจทก์ได้ยื่นสำเนาทะเบียนบ้านที่คัดรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันยื่นฟ้อง 3 วัน ก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวพร้อมบุตรผู้เยาว์ 2 คน อายุ 2 ปี และ 4 ปี การที่จำเลยที่ 4 ย้ายไปที่อยู่ใหม่ภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดี โดยจำเลยที่ 4 มิได้แจ้งที่อยู่ใหม่ให้โจทก์และศาลชั้นต้นทราบทั้งไม่มีชื่อบุตรผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ด้วย และภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 ตามหลักฐานที่ปรากฏในขณะส่งคำบังคับคือบ้านเลขที่ 483/2-3 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร ดังนั้น การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 4 ตามภูมิลำเนาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้ในขณะปิดคำบังคับตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 4 จะได้ย้ายไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้วคือบ้านเลขที่ 45/323 หมู่ที่ 5 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่มกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี
แม้ในขณะปิดคำบังคับตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 4 จะได้ย้ายไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้วคือบ้านเลขที่ 45/323 หมู่ที่ 5 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่มกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยย้ายที่อยู่ เหตุภูมิลำเนาเดิมยังคงมีชื่อจำเลยและครอบครัว
ในการทำสัญญาจำนองที่ดินแก่โจทก์จำเลยที่4แจ้งที่อยู่ลงในสัญญาจำนองว่าอยู่บ้านเลขที่483/2-3ถนนศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครและโจทก์ก็บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยที่4มีที่อยู่ดังกล่าวโดยโจทก์ได้ยื่นสำเนาทะเบียนบ้านที่คัดรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันยื่นฟ้อง3วันก็ปรากฎว่าจำเลยที่4มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวพร้อมบุตรผู้เยาว์2คนอายุ2ปีและ4ปีการที่จำเลยที่4ย้ายไปที่อยู่ใหม่ภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีโดยจำเลยที่4มิได้แจ้งที่อยู่ใหม่ให้โจทก์และศาลชั้นต้นทราบทั้งไม่มีชื่อบุตรผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ด้วยและภูมิลำเนาของจำเลยที่4ตามหลักฐานที่ปรากฎในขณะส่งคำบังคับคือบ้านเลขที่483/2-3ถนนผศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครดังนั้นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่4ตามภูมิลำเนาดังกล่าวจึงชอบแล้ว แม้ในขณะปิดคำบังคับตามคำสั่งศาลจำเลยที่4จำได้ย้ายไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้วคือบ้านเลขที่45/323หมู่ที่5ถนนสุขาภิบาล1แขวงคลองกุ่มเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครแต่เมื่อถือว่าจำเลยที่4ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี