พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ว่าคำสั่งศาลเดิมที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเปลี่ยนแปลงด้วยคำร้องใหม่ แม้มีเหตุเพิ่มเติม
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริต เมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน ให้ยกคำร้อง เท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น เมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริตเมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนให้ยกคำร้องเท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้นเมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา147วรรคสองและมาตรา229การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริตก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้วจึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลถึงที่สุดและผลกระทบต่อคำร้องใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริต เมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน ให้ยกคำร้อง เท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น เมื่อมิได้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 229การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด: สิทธิในการโอน และข้อจำกัดในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่ 1 รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลัง แต่ได้ขายให้จำเลยที่ 2และที่ 3 กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 ไม่ เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 121 เดิม และมาตรา 124 (เดิม)
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด: สิทธิในการโอนขาย และการไม่มีผลของการหลอกลวงตามคำรับรอง
เมื่อจำเลยที่1ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้วต่อมาจำเลยที่1ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่1รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลังแต่ได้ขายให้จำเลยที่2และที่3กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่1ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่1ไม่เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา121เดิมและมาตรา124(เดิม) ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาททำให้จำเลยที่1ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่าการขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่1ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ต่อไปได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากคำสั่งอายัดทรัพย์สิน จำเป็นต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องสัญญาจำนำและสิทธิเรียกร้องอย่างละเอียดก่อน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดีเพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นแต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของ ผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามาก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้าง เป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและ เห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยก หมายบังคับคดีเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคแรกและวรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการไต่สวนสัญญาจำนำประกันหนี้ ศาลต้องไต่สวนสืบพยานให้ครบถ้วนก่อนมีคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดี เพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน 2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้น แต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามา ก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้างเป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 311ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและเห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยกหมายบังคับคดีเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคแรก และวรรคสามประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611-6612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์และงดการบังคับคดี ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเหตุตามกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ประกอบมาตรา 246คือต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้แล้วแต่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมจึงจะกระทำได้ คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดรวมรายการและราคาเหมาะสม แม้มีผู้สู้ราคาน้อยราย ไม่ถือเป็นเหตุให้การขายไม่ชอบ
ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอการที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไปจึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่ การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา2คนและทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการขายทอดตลาดผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดและเมื่อมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การเลื่อนการขาย, จำนวนผู้สู้ราคา, และอำนาจของผู้คัดค้าน
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอ การที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไป จึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309