คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดี: เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินราคาเบื้องต้นเพื่อขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีสิทธิสู้ราคา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึด เป็นเพียงการประมาณราคาในชั้นต้น เพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ แม้จำเลยจะไม่เห็นด้วย จำเลยก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่าศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินราคาเป็นเพียงราคาเริ่มต้น ผู้เข้าสู้ราคามีสิทธิเสนอราคาที่สูงกว่า
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมา เป็นเพียงการประมาณราคาในชั้นต้นตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเท่านั้น ราคาที่ประเมินดังกล่าวจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง ซึ่งหากจำเลยไม่เห็นด้วย จำเลยก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดจะต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมิน แต่ขึ้นอยู่กับผู้เข้าสู้ราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และถือไม่ได้ว่ามีข้อโตแย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผลเพียงชั้นต้น ผู้มีส่วนได้เสียอาจคัดค้านได้ในการขายทอดตลาด
การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้
การที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้มีส่วนได้เสียในบังคับคดี: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ผูกพัน แม้คดีจะอยู่ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โดยศาลจังหวัดอุบลราชธานีและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดขายทอดตลาด จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้อง แม้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะการบังคับคดีนั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีได้ตาม มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินชำระหนี้และการเพิกถอนการบังคับคดี: ศาลต้องแจ้งคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยทราบชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้จำเลยวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 58 ออกไป 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งคำร้องดังกล่าววันที่ 13 สิงหาคม 2545 อนุญาตให้จำเลยวางเงินภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เนื่องจากศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องแต่ได้มีคำสั่งภายหลังต่อมาอีก 4 วัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันที่ 10 กันยายน 2545 ว่าจำเลยมิได้นำเงินมาวางศาลภายในวันที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ชอบ
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง และกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่ธนาคารแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกผู้สุจริต และจำเลยไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยทำโดยวิธีปิดหมายการบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินนั้น เป็นคำร้องที่มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 นั่นเอง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างหลังโอนสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อระยะเวลาคัดค้านการบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ธนาคารศรีนคร เงินค่าจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารศรีนคร มิใช่ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินดังกล่าวเนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคงภายนอกผู้สุจริต และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ทำโดยวิธีปิดหมาย การบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ดังนั้น การยื่นคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งวางประกันในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: หลักฐานเบื้องต้นและการใช้ดุลพินิจ
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยนำเงินหรือหลักประกันมาวางศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนได้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องดังกล่าวไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าหลักฐานเบื้องต้นนั้นจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มาจากการไต่สวนคำร้องที่ยื่น ดังนั้น คำร้องของจำเลยประกอบรายงานข้อเท็จจริงในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหลักฐานเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไต่ส่วนคำร้องของจำเลยเสียก่อน และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นชอบที่ยกคำร้องของจำเลยได้ และคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบังคับคดี: สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำเมื่อจำเลยคัดค้านการขาย
ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องจะต้องนำเงินที่ค้างชำระไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อ ถ้าไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้เสร็จภายในกำหนดดังกล่าว ผู้ร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำที่ได้วางไว้ ฯลฯ เช่นนี้ เป็นสัญญาซื้อขายที่บริบูรณ์และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่ผู้ร้องขอรับเงินมัดจำคืนและเจ้าพนักงานบังคับคดียอมคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้ร้องบางส่วนแต่ยังคงเหลือไว้ร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์พิพาทนั้น เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการบรรเทาความเดือนร้อนให้แก่ผู้ร้องเพราะผู้ร้องยังไม่อาจจดทะเบียนรับโอนทรัพย์พิพาทพร้อมทั้งวางเงินค่าทรัพย์พิพาทที่เหลือทั้งหมดเนื่องจากจำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดส่วนการที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์พิพาทได้ตามความประสงค์นั้นเป็นเรื่องความคาดหวังในการประกอบธุรกิจของผู้ร้องเอง แต่ทรัพย์พิพาทมิได้เสียหายแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามผู้ร้องยังกลับจะได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิมเพราะระยะเวลาที่ผ่านไปหลายปีราคาทรัพย์พิพาทอาจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ร้องยังสามารถซื้อทรัพย์พิพาทได้ในราคาเท่ากับเมื่อหลายปีที่ผ่านมาโดยวางเงินมัดจำเพียงร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์พิพาทเท่านั้น กรณีมิใช่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 อันว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงมิอาจขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดและขอคืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การยกเว้นการเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาที่ไม่สอดคล้องกับราคาประเมิน
จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์เคยประเมินราคาที่ดินทั้งสองแปลงไว้ประมาณ8,000,000 บาท แต่ขายทอดตลาดไปในราคา 5,600,000 บาท โดยโจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกในราคาต่ำกว่าที่ดินแปลงที่สองถึง 1,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกันและก่อนขายทอดตลาดจำเลยก็ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินราคาที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 5,432,700 บาท ว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่โจทก์ประเมินไว้และต่ำกว่าราคาตามความเป็นจริงในท้องตลาด เป็นการขายโดยไม่สุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ข้ออ้างตามคำร้องดังกล่าวเป็นเรื่องโต้แย้งราคาขายซึ่งอาจแตกต่างจากการซื้อขายกันตามปกติได้ ส่วนการประเมินราคาก็เป็นการกำหนดราคาไว้ในเบื้องต้นซึ่งไม่แน่นอนแล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ คำร้องของจำเลยจึงมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หรือเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องได้
of 64