คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เข้าสู้ราคาในการเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติมิชอบ และประเด็นส่วนได้เสียในการอ้างราคาต่ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 เป็นเพียงบทสันนิษฐานเพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาค 4 ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ให้ถือว่าบุคคลตามที่ระบุไว้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีเท่านั้น มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากที่ระบุไว้แล้วจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แจ้งแก่ผู้เข้าสู้ราคา ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีโอกาสเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้น เป็นกรณีที่ผู้ร้องที่ 2 อ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและเป็นเหตุโดยตรงให้ผู้ร้องที่ 2 ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
ข้อโต้แย้งว่าราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดต่ำหรือไม่ เป็นข้อโต้แย้งหรือส่วนได้เสียของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 โดยตรงผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคา ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างในประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตามแต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้วโดยมาตรา 296 วรรคสองกำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิวรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) กรณีเพิกถอนการขายทอดตลาด
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตาม แต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้น ป.วิ.พ. ได้ถูกแก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้ว โดยมาตรา 296 วรรคสอง กำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีโดยใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นหลักประกัน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง และการที่ผู้ประกันไปยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และขอยกเลิกตามเอกสารหมาย ร.4ถึง ร.6 แล้ว จากนั้นกลับมีใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เอกสารหมาย ร.7 โดยที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนดังกล่าวตามเอกสารหมายร.7 และมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทไปเป็นของผู้ประกันแล้ว ผู้ประกันไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาประกันตัวจำเลยได้การที่ผู้ประกันนำทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ การบังคับคดีรายนี้จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 และ296 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 การขายทอดตลาดรายนี้เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ ผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด บังคับคดีได้ แม้ชำระเงินครบถ้วน
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด บังคับคดีได้ทันที กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้ทนายโจทก์ที่สำนักงาน งวดแรกชำระในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระในวันที่ 30 พฤษภาคม 2540โดยโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ผ่านทางธนาคารครบถ้วนตามข้อตกลง แม้จะชำระเงินครบถ้วนดังกล่าว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะชำระหนี้ล่วงเลยกำหนด ทั้งชำระผิดสถานที่ที่ระบุไว้อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดีมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการชำระหนี้ไปบ้างแล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะขอยกเลิกหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดลงได้เมื่อเจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบังคับคดี
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตผู้ร้องก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภารจำยอมตาม แนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์ แล้วนั้น ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่ เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือ มาตรา 1394 ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดเมื่อภารยทรัพย์สลาย หรือไม่ได้ใช้ 10 ปี แม้ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตก็ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุให้ภารจำยอมสิ้นสุดได้
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 หรือมาตรา 1399ดังนั้น แม้ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ แม้ภารจำยอมตามแนวที่กำหนดไว้เดิมแปรสภาพไปตั้งแต่ ก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยจะต้องไปดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอม หรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394 ไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดี ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างใด จึงไม่อาจขอให้ยกเลิก การบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดิน แม้ผู้ซื้อที่ดินใหม่โดยสุจริตก็ไม่อาจต่อสู้ให้ภาระจำยอมสิ้นสุดลงได้ หากภาระจำยอมยังมิได้ถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
คดีแดงที่ 2091-2092/2542
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพที่ดินเอง ศาลไม่รับเพิกถอนกรณีสำคัญผิด
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจเลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศกับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึง ทั้งได้ระบุการไปที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เห็นได้ว่า ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการ ประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดิน ดังกล่าว กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดิน เห็นที่ดิน แปลงหนึ่งห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดเมื่อผู้ร้องทราบว่า มีการประกาศขายทอดตลาด ที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบ ที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการ ตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อน ทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองเพราะ ตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเองเช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดี พอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีนี้จึงชอบแล้ว
of 64