พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถที่เกี่ยวข้องกับความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งมิใช่ศาลอุทธรณ์ภาคตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 และมาตรา 14 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้ยกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่โจทก์ฎีกาขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาคดียาเสพติด: การพิจารณาไม่ชอบตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นหลักประกันขายทอดตลาด เพื่อบังคับชำระค่าปรับเนื่องจากผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัดในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์พร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยเร็ว โดยมาตรา 5 บัญญัติว่า "ศาลอุทธรณ์" หมายความว่า ศาลอุทธรณ์ซึ่งมิใช่ศาลอุทธรณ์ภาค ดังนั้น เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13598/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฎีกา และศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษค่าปรับเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 57, 66, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังไม่เกิน 2 ปี โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ถือว่าเป็นการเพิ่มโทษจำเลย ซึ่งเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังไม่เกิน 2 ปี โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ถือว่าเป็นการเพิ่มโทษจำเลย ซึ่งเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาอุทธรณ์ค่าปรับจากการบังคับตามสัญญาประกัน – คดีไม่ใช่คดียาเสพติด
คดีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 มิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกันที่ขอให้งดหรือลดค่าปรับ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13353/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อใช้ค่าปรับ แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ขอให้ศาลไม่บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10893/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยโดยไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และคำพิพากษาไม่เป็นที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 57, 66, 91 พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งการกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วยและเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยไม่ชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง เฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 8 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมความประพฤติ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1 ปี ยกฟ้องฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอทเฟตามีน จำเลยไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ศาลชั้นต้นปรับบทคลาดเคลื่อนและวางโทษจำคุกหนักไป ควรปรับบทให้ถูกต้องและกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่ เป็นจำคุก 4 เดือน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 7 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษในความผิดฐานนี้ ทำให้จำเลยต้องถูกจำคุกเพิ่มอีก 4 เดือน ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอุทธรณ์ และแม้คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึงต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจทำได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและหาเป็นที่สุดไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 208 (2) และมาตรา 225 จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนใหม่
ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด จำคุก 8 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี คุมความประพฤติ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 1 ปี ยกฟ้องฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอทเฟตามีน จำเลยไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น ศาลชั้นต้นปรับบทคลาดเคลื่อนและวางโทษจำคุกหนักไป ควรปรับบทให้ถูกต้องและกำหนดโทษจำคุกเสียใหม่ เป็นจำคุก 4 เดือน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 7 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ซึ่งเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษในความผิดฐานนี้ ทำให้จำเลยต้องถูกจำคุกเพิ่มอีก 4 เดือน ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอุทธรณ์ และแม้คดีนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นที่สุดนั้น หมายถึงต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งเช่นนั้นได้ มิได้หมายความว่า แม้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุดด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจทำได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายและหาเป็นที่สุดไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 208 (2) และมาตรา 225 จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีริบทรัพย์จากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 5 บัญญัติว่า กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย ดังนั้นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ซึ่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มาตรา 3 แม้จะไม่ได้บัญญัติให้รวมความถึงคำร้องขอให้ริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ด้วย แต่โดยเนื้อหาและลักษณะของคำร้องนี้ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดข้อหาใดข้อหาหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 โดยมาตรา 32 แห่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดต่อเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการฟ้องคดีในข้อหาความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา 3 นั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นมูลเหตุโดยตรงและเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินสั่งยึดและอายัดไว้ น่าจะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จะต้องริบหรือไม่ คำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 27 จึงเป็นส่วนหนึ่งของความผิดหรือมาตรการลงโทษในทางทรัพย์สินที่เกี่ยวโยงอยู่กับความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ต้องถือว่าคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามความหมายของ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์แต่เพียงศาลเดียวตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มาตรา 15 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ และการขอปรับมาตราบทลงโทษหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาแล้วว่า ให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 กรณีจึงมิได้เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ชอบที่จะใช้สิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา แต่จำเลยกลับยื่นฎีกาเฉพาะประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรหรือไม่เท่านั้น และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 4 จนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่โดยอ้างเหตุข้างต้น พยานหลักฐานโจทก์เป็นเท็จ และมีเหตุอันควรปรานีลดโทษให้จำเลย ดังนี้ หากศาลฟังข้อที่จำเลยอ้างดังกล่าวแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13992/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาฎีกาในคดียาเสพติด: การอนุญาตฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน และการตีความความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 จะเป็นบทหนัก แต่ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ แต่ฎีกาของจำเลยมิได้มีคำขอโดยทำเป็นคำร้องมาพร้อมกับฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัย แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น พอแปลได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13813/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด และการลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และ "กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหยกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง