พบผลลัพธ์ทั้งหมด 475 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุม
กรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวน ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุในคดีนี้เกิดในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่ กับอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ แต่ตามวรรคสาม (ก) ของมาตรา 19 ดังกล่าวระบุว่า พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ กับเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่อีกหลายนายเป็นผู้ร่วมจับกุม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้ คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและ ทำความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้ แล้วส่งสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้รับผิดชอบสอบสวนต้องเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่จับกุม
กรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้วพนักงานสอบสวนที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีดังกล่าวคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจตามวรรคสาม (ก) ของมาตราดังกล่าว
คดีนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดในท้องที่ใดแน่ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง แต่จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่หลายคนเป็นผู้ร่วมจับกุม ดังนั้น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพันตำรวจตรี ว. สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้วส่งไปพร้อมสำนวน เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดในท้องที่ใดแน่ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง แต่จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่หลายคนเป็นผู้ร่วมจับกุม ดังนั้น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพันตำรวจตรี ว. สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้วส่งไปพร้อมสำนวน เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเครื่องหมายการค้าปลอม ความรับผิดของกรรมการบริษัท และการพิจารณาโทษ
ความผิดที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานคร และสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับ จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้นั้นต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งมีโจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหารฯ
การที่จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยที่อาหารดังกล่าวนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวว่าประสงค์จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้นั้นต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งมีโจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหารฯ
การที่จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยที่อาหารดังกล่าวนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวว่าประสงค์จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าปลอมและอาหารปลอม ความรับผิดของจำเลยร่วม
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108,110และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25,27,59 เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีเจตนาทุจริตและผู้เสียหายต้องไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดเอง การฟ้องต้องมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด โดยร่วมคบคิดกันหรือแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน เช่น ประชุมหรือหารือวางแผนที่จะกระทำความผิด และตามมาตรา 212บัญญัติให้เอาความผิดแก่ผู้จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงองค์ประกอบของความผิดฐานเป็นซ่องโจรให้เห็นเด่นชัดว่าจะต้องมีการคบคิดประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่า มีการคบคิดกันจะกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดจำเลยจนปราศจากข้อสงสัย แม้การตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่กระทบการสอบสวน
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 130 เม็ด ไว้ในครอบครองแล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหาชอบไม่ โจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยจนได้ความแน่ชัดปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174
แม้การตรวจค้นจับกุมอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
แม้การตรวจค้นจับกุมอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนที่ชอบเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีลักทรัพย์สาธารณประโยชน์: ผู้เสียหายไม่ใช่สาระสำคัญ
สายไฟฟ้าที่ถูกลักเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ กรมทางหลวงหรือกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้เสียหายหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการสอบสวน แม้มิได้สอบสวนให้แจ้งชัดว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหายการสอบสวนก็ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาเด็ก ต้องมีนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ และอัยการร่วมด้วย หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย การฟ้องเป็นโมฆะ
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ตรี ประกอบด้วย มาตรา 133 ทวิ ตามบทบัญญัติดังกล่าวบังคับโดยเด็ดขาดว่าต้องจัดให้มีบุคคลดังกล่าวข้างต้นเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า จำเลยได้กระทำผิดและถูกสอบสวนขณะมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้สอบถามจำเลยในขณะทำการสอบสวนว่าจำเลยมีทนายความหรือไม่ ต้องการทนายความหรือผู้ใดที่จำเลยไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนหรือไม่ จำเลยตอบว่า จำเลยไม่มีทนายความ และไม่ต้องการผู้ใดร่วมฟังการสอบสวน โดยไม่ปรากฏกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่มีเหตุอันควรไม่อาจรอได้ เช่นนี้ การสอบสวนดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่ามิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามฟ้องที่มิได้มีการสอบสวนก่อน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120