คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 120

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 475 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน การจับกุมไม่ชอบไม่กระทบการสอบสวนและอำนาจฟ้อง
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นวิธีการทางกฎหมายคนละขั้นตอนกัน โดยการจับกุมจะชอบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งอันเพื่อให้ได้ตัวมาเพื่อการฟ้องศาลตามที่สอบสวนไว้แล้วหรือที่จะทำการสอบสวนต่อไปเท่านั้น ไม่มีผลเกี่ยวข้องกับการสอบสวนไม่เหมือนกับการร้องทุกข์หรือการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 129ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน เมื่อมีการสอบสวนจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: พนักงานสอบสวนท้องที่พบการกระทำผิดก่อน มีอำนาจสอบสวน แม้จับกุมในท้องที่อื่น
ว. ได้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางานผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโท บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะถูกจับกุมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม แต่การที่ร้อยตำรวจโท บ. ได้รับคำร้องทุกข์ไว้ก่อนแล้ว จึงถือว่าเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอันเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนและมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ข.) และร้อยตำรวจโท บ. ยังได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับตัวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 หาจำต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่อง: พนักงานสอบสวนท้องที่พบกระทำผิดก่อนมีอำนาจ แม้จับกุมในท้องที่อื่น
ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางานผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโท บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อต่อมาจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่มเมื่อร้อยตำรวจโท บ. ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบกระทำผิดก่อน ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคสาม (ข)และร้อยตำรวจโท บ. ได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับตัวจำเลยไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย หาจำต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์ต้องมีเจตนาให้ดำเนินคดีกับจำเลย หากไม่มีอำนาจฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ย่อมเป็นโมฆะ
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษ ทั้งเหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)
เมื่อความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ ต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดูแลที่สาธารณประโยชน์: ป.ที่ดินไม่ตัดอำนาจหน้าที่นายอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ความในมาตรา 8 แห่ง ป.ที่ดิน หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จึงให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้ แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ได้มี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62วรรคสาม เห็นได้ว่า ป.ที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนั้น การสอบสวนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของนายอำเภอจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์: ไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์โดยตรง
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์: ไม่จำกัดเฉพาะผู้เสียหายร้องทุกข์โดยตรง
ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด การเติมคำในเอกสารประกอบการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การแจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134นั้น แม้พนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งข้อหาจำเลยทุกข้อหาทุกกระทงความผิดก็ตามแต่เมื่อภายหลังได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย จึงถือได้ว่าได้มีการสอบสวนในข้อหาฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้ว ดังนั้นการเติมคำว่า "จำหน่าย" ในบัญชีของกลางในคดีอาญา คำให้การในชั้นสอบสวนและบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องข่มขืนกระทำชำเราต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มี พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใด การรับแจ้งความเช่นนี้แม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีข่มขืนที่ขาดความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้อง และความผิดเป็นเรื่องยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
of 48