พบผลลัพธ์ทั้งหมด 475 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพผิดในคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร และการยืนยันคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลย ให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้องข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขต ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิด ฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็น ภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44 มากับ คำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลย ในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงรับฟังมิได้ โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุ ที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษา แก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือ ไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายืนโทษจำเลยคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร โดยศาลฎีกาเห็นว่าการรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนัก และไม่มีเหตุให้แก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงฟังไม่ขึ้น โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพผิดในชั้นศาล และอำนาจฟ้องของโจทก์ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 25 และ 44 มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 25 และ 44 มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27, 45จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนต่อเนื่องในคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมไม่ใช่ข้อจำกัด
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางมุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรีดังกล่าว เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวกได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 (3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่า จำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีอาญา: สถานที่จับกุม vs. สถานที่เกิดเหตุ - การรับของโจรต่อเนื่อง
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลาง มุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความ ไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรี ดังกล่าวเมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอ กบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวก ได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกัน บรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะ เดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง กับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม(ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตามก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม(ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมและการรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน โดยคงจำคุกจำเลยคนละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า การที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ที่จำเลยทั้งสาม พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กับพวกรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ในการจับกุมมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยทั้งสามถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมตามกฎหมายโดยชอบและการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศเขมรนั้น เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามมาตรา 19(3)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วยร้อยตำรวจเอกอ. จึงเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วเข้ากรณีตาม มาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้ร้อยตำรวจเอก อ. พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานอัยการจังหวัดลำปางโจทก์จึงฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ โดยถือว่ามีการสอบสวน โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องความผิดหลายฐาน: แจ้งข้อหาความผิดหลักเพียงพอต่อการดำเนินคดีความผิดอื่นที่เกี่ยวพัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิด และในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่ เมื่อได้แจ้งข้อหา อันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิด อันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิด ทุกข้อหาได้ ฉะนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลย ว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากร เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิด ฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ฐานมีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและสอบสวนความผิดซึ่งหน้า การใช้สายลับล่อซื้อ และการรับคำสารภาพโดยสมัครใจ
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลยจะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริง จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริง จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำแท้งที่ไม่เข้าข่ายความผิดต่อส่วนตัว และการรับฟังพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบดังนั้น แม้นางน.มารดาของเด็กหญิงล.มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจะเป็นผู้ร้องทุกข์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ระหว่างการทำแท้งซึ่งเป็นเวลากลางวัน เด็กหญิงล.มีโอกาสเห็นจำเลยในระยะใกล้ชิดเป็นเวลานานนับชั่วโมงเชื่อได้ว่าเด็กหญิงล. จดจำจำเลยได้แม่นยำไม่ผิดตัว เมื่อพยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความได้สอดคล้องเชื่อมโยงมีเหตุผลทั้งไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่าจำเลยจะถูกเบิกความปรักปรำใส่ร้าย แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ บางปากจะขัดแย้งหรือแตกต่างกันไปบ้างก็เป็น เพียงรายละเอียดข้อปลีกย่อยไม่ทำให้คดีโจทก์ต้องเสียไป ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเลื่อนลอยและขัดกับคำให้การชั้นสอบสวน จึงมีน้ำหนักไม่พอฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยทำให้เด็กหญิงล.แท้งลูกโดยเด็กหญิงล. ยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 วรรคหนึ่ง