พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย พยายามจำหน่าย และขายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยที่ 1 ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง ส่วนเฟนิลโพรพาโนลามีนซึ่งเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำเลยที่ 1 ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกันและเป็นจำนวนเดียวกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4 ที่บังคับใช้ในขณะเกิดเหตุกำหนดคำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เพียงบทเดียว
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตามมาตรา 16 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 118 ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท ต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89 ที่ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 มาตรา 3 (1) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตามมาตรา 16 ที่ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา 118 ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงสองล้านบาท ต่างจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89 ที่ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ในส่วนของโทษจำคุกกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า แต่ในส่วนโทษปรับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์จากการประมงผิดกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี กฎหมายเดิมยังใช้บังคับ
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกา มีพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ใช้บังคับ โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และให้ใช้บทบัญญัติใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสิบห้าในส่วนโทษปรับและการริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (1), 82 และ 98 และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 69, 147 วรรคหนึ่ง และ 169 จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยทั้งสิบห้า ตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ซึ่งมาตรา 69 (เดิม) บัญญัติว่า เครื่องมือทำการประมง เรือ สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะริบเสียก็ได้ แต่ถ้าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 19 หรือมาตรา 20 ให้ศาลริบสิ่งเช่นว่านั้นเสียทั้งสิ้น และมาตรา 70 (เดิม) บัญญัติว่า เครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศตามความในมาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้โดยเด็ดขาดนั้น ถ้านำมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ให้ศาลริบเครื่องมือนั้นเสีย เมื่อจำเลยทั้งสิบห้าใช้เรือยนต์ประมงในการกระทำความผิดและนำเครื่องมืออวนล้อมจับอันเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศห้ามใช้โดยเด็ดขาดมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ริบจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9323/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและบทลงโทษ: การปรับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 88 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี แต่กฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 20 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แต่เมื่อกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี คดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดนับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว คดีของโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042-9043/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้ตั๋วเงิน (เช็ค) ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 และ 268
แม้เช็คเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) และโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ได้ เช็คถือเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 898 การที่จำเลยนำเช็คธนาคาร ก. ของโจทก์ร่วมมาแก้ไขและเติมข้อความในช่องสั่งจ่ายบ้าง ช่องจำนวนเงินบ้างหรือปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมในช่องสั่งจ่าย แล้วนำเช็คไปขอเบิกเงินจากธนาคาร ก. ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นเช็คที่แท้จริงของโจทก์ร่วม จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการแก้ไขเติมข้อความและลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่โจทก์ร่วมทำขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคาร ก. การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมตั๋วเงิน จำเลยหาจำต้องปลอมเช็คขึ้นทั้งฉบับ จึงจะเป็นความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินและนำไปใช้เอง จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 (4) ตามมาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย คือลงโทษในบทมาตราที่เบากว่า ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด
เมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมทั้งดุลพินิจในการกำหนดโทษได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมทั้งดุลพินิจในการกำหนดโทษได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงเครื่องชั่งเพื่อโกงน้ำหนัก และการใช้เครื่องชั่งที่ผิดกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าซื้อขายข้าวเปลือกต้องรู้เรื่องเครื่องชั่งเป็นอย่างดีการที่จำเลยนำเครื่องชั่งของกลางไปซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขดัดแปลงโดยถอดนอตเดิมออกแล้วใช้นอตอื่นใส่แทนในลักษณะหลวมเป็นผลให้ผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เครื่องชั่งแสดง เชื่อว่าจำเลยมีเจตนาดัดแปลงแก้ไขเครื่องชั่งของกลางเพื่อเอาเปรียบในทางการค้า
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลมี พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดพ.ศ. 2542 ใช้บังคับให้ยกเลิก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด เดิมทุกฉบับตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติความผิดฐานกระทำการใด ๆ เพื่อให้เครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงไว้ในมาตรา 75 และการใช้เครื่องชั่งโดยรู้ว่าเป็นเครื่องชั่งที่ถูกแก้เปลี่ยนไว้ในมาตรา 76 และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสองตามลำดับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องไว้ แม้จะเป็นเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดเครื่องชั่งที่ได้ทำการให้คำรับรองจากทางราชการก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มิได้บัญญัติความผิดในการมีเครื่องชั่งที่มีการแก้ไขลดดังกล่าวให้เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องชั่งซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ไว้เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นและในพาณิชยกิจของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31เท่านั้น ดังนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542จะบัญญัติให้การมีเครื่องชั่งที่มีการให้คำรับรองแล้วแสดงน้ำหนักผิดไปจากที่ได้ตรวจสอบความเที่ยงเป็นความผิดตามมาตรา 76 ก็ตามก็ไม่อาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466มาตรา 31 นั้น ได้มีพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 บัญญัติความผิดฐานมีเครื่องชั่งโดยรู้ว่าเครื่องชั่งนั้นมีความเที่ยงผิดอัตราไว้ในมาตรา 79และมีระวางโทษเป็นคุณกว่าโทษตามมาตรา 31 จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อความผิดฐานขับรถภายใต้อิทธิพลยาเสพติด
จำเลยขับรถบรรทุกเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ศาลต้องยกฟ้องข้อหานี้ และให้ยกคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรง ไม่รอการลงโทษ
เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรง ไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อความผิดและโทษทางอาญา
จำเลยขับรถบรรทุกเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลต้องยกฟ้องข้อหานี้และให้ยกคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรงไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้ตามเช็คระงับ การฟ้องคดีอาญาจึงสิ้นสุด
เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ จำเลยออกให้โจทก์ชำระหนี้ค่าซื้อรถยนต์กระบะของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้โอนทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้จำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์กระบะตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ การที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ให้จำเลยเอาหนี้ตามเช็คทั้งหมด รวมทั้งเช็คพิพาท 4 ฉบับด้วยมารวมกันแล้วให้จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,000,000 บาท โดยมีข้อความระบุว่า ผู้กู้ได้ยืมเงินสดจากผู้ให้กู้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท ได้จ่ายเช็คของธนาคารมอบให้ไว้กับผู้ให้กู้ เมื่อถึงกำหนดให้เข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บวันนี้ผู้กู้ได้มอบเช็คดังกล่าวข้างต้นให้กับผู้ให้กู้ไว้เป็นที่เรียบร้อยในวันทำสัญญา ถือว่าได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนภายหลังการกระทำผิด ศาลฎีกามีอำนาจปรับคดี แม้ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นประเด็น
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาติ นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้จึงไม่ถูกต้อง และในปัญหาดังกล่าวนี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นมาสู่ศาลฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่ง คปค. ที่ให้ผู้ครอบครองอาวุธสงครามมามอบเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ เหนือกว่ากฎหมายเดิม
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ามีอาวุธปืนและกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 แล้วได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 สั่งให้บุคคลที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าวใช้บังคับไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ต้องใช้คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ของกลางริบ