คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: “ขาย” ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ฯ ครอบคลุมการแจก จ่าย แลกเปลี่ยน หรือส่งมอบ
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่ายจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย เห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่การจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบแก่กัน ไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใด จะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ ก็อยู่ในความหมายของคำว่า "ขาย"ตามมาตรา 4 นี้ทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้อง การ "แจก" คือ การ "ขาย" การมีไว้เพื่อ "แจก" ก็คือการมีไว้เพื่อ "ขาย" หรือเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 3 เม็ด ไม่น่าจะมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม ตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 เพียงกรรมเดียวบทเดียว ไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิด้วยแต่ประการใด จึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3ในความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจกยาเสพติดถือเป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แม้ไม่ได้มีเจตนาค้าขาย
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขาย เห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่ การจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบแก่กันไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใดจะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ ก็อยู่ในความหมายของคำว่า"ขาย" ตามมาตรา 4 นี้ทั้งสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้อง การ "แจก" หรือ การ "ขาย" การมีไว้เพื่อ "แจก" ก็คือการมีไว้เพื่อ "ขาย" หรือเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง 3 เม็ด ไม่น่าจะมีปริมาณเกิน 0.500 กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา13 ทวิวรรคหนึ่ง,89 เพียงกรรมเดียวบทเดียว ไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106ทวิ ด้วยแต่ประการใดจึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจกยาเสพติดถือเป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ แม้ไม่ใช่การซื้อขายโดยตรง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา4ได้ให้คำนิยามของคำว่า"ขาย"ให้หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายเห็นได้ว่าการขายเมทแอมเฟตามีนตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้มีความหมายเฉพาะการขายกันโดยตรงเท่านั้นไม่การจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบแก่กันไม่ว่าจะกระทำในลักษณะอย่างไรและโดยจุดประสงค์ใดจะเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ก็อยู่ในความหมายของคำว่า"ขาย"ตามมาตรา4นี้ทั้งสิ้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อแจกแก่ลูกน้องการ"แจก"หรือการ"ขาย"การมีไว้เพื่อ"แจก"ก็คือการมีไว้เพื่อ"ขาย"หรือเพื่อจำหน่ายจำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพียง3เม็ดไม่น่าจะมีปริมาณเกิน0.500กรัมตามที่รัฐมนตรีกำหนดนั้นศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพียงกรรมเดียวบทเดียวไม่ได้พิพากษาลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินประมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา62วรรคหนึ่ง,106ทวิด้วยแต่ประการใดจึงมิใช่เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ในความผิดดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 และ 56
ในความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา20เป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเลือกโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้และเมื่อศาลใช้ดุลพินิจเลือกที่จะลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวก็มิได้หมายความว่าศาลต้องลงโทษจำคุกไปทีเดียวจะรอการลงโทษไม่ได้แล้วศาลย่อมนำบทบัญญัติมาตรา56ว่าด้วยการรอการลงโทษมาปรับใช้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายและมีไว้เพื่อขายยาเสพติดเป็นกรรมเดียว แม้จะพบยาเพิ่มเติมจากการตรวจค้น
การขายหรือมีไว้เพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา4เป็นความผิดอย่างเดียวกันจำเลยขายเมทแอมเฟตามีนผสมกับ อีเฟดรีนแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อ20เม็ดและทันใดในเวลาต่อเนื่องกันเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นพบได้จากจำเลยอีก116เม็ด เมทแอมเฟตามีนผสมกับ อีเฟดรีนทั้ง136เม็ดจึงเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยขายและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกันเป็นความผิด กรรมเดียวคือการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิด พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และผลของประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อการกำหนดปริมาณวัตถุออกฤทธิ์
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า "วัตถุตำรับ" หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้ นอกจากนั้นในมาตรา 59ยังได้บัญญัติว่า "ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย" จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้น นอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้ว ยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย
ในระหว่างพิจารณา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2536) ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลาง น้ำหนักรวม105.10 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิวรรคหนึ่ง, 89 เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามมาตรา 89 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 106 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 89 ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า"วัตถุตำรับ"หมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้นอกจากนั้นในมาตรา59ยังได้บัญญัติว่า"ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย"จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้นนอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้วยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย ในระหว่างพิจารณารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับ เมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลางน้ำหนักรวม105.10กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีกปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา89ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการใช้บังคับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ในขณะที่จำเลยกระทำผิดประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่19มกราคม2536ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน0.500กรัมแต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา59บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วยและมาตรา4บัญญัติว่า"วัตถุตำรับหมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยฯลฯ"ดังนี้ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดเมื่อของกลางมีปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่3เมษายน2538ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217กรัมซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิคงมีความผิดตามมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลต่อความผิดทางอาญา
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่85 พ.ศ.2536 เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน 0.500 กรัม แต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วย และมาตรา 4 บัญญัติว่า "วัตถุตำรับ หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อของกลางมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม จึงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 3เมษายน 2538 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536)ดังกล่าว และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217 กรัม ซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและมาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) ของฟ้องคดียาเสพติด: การบรรยายรายละเอียดการครอบครองและการขาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ก) ว่าจำเลยได้บังอาจมีแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด น้ำหนัก 0.14 กรัม อันเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย และข้อ 1 (ข) ว่าจำเลยได้บังอาจขายแอมเฟตามีนจำนวน2 เม็ด น้ำหนัก 0.14 กรัม อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 (ก) ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ยืนยันว่าจำเลยได้ขายแอมเฟตามีนตามที่จำเลยมีไว้ในครอบครองตามข้อ 1 (ก) นั่นเอง ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำนวน 2 เม็ด และเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนนั้นเห็นได้ว่าโจทก์พิมพ์ผิดไปฟ้องโจทก์จึงบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำและสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
of 8