พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ, การปรับบทกฎหมายยาเสพติด, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายอาญา
ศาลที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจะต้องเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เท่านั้น
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ-การปรับบทลงโทษ-ยาเสพติด-วัตถุออกฤทธิ์ฯ-ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
ศาลที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจะต้อง เป็นศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 เท่านั้น ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและ มีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่ง จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือ ศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58(3) ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจ พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกา จึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาคดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาตามลำดับศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจ พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104(2)เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ใน ขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัมเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้ การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัมไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไปและเมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 67 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาทมีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 89 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่งดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขาย: การกระทำยังไม่สำเร็จเป็นความผิดฐานขาย
ก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองจะถูกจับไม่นาน จำเลยทั้งสองเดินเข้าไปนั่งที่โซฟาในห้องอาหารของโรงแรมด้วยกัน โดยจำเลยที่ 2 ถือถุงกระดาษเข้าไปด้วย ต่อมาขณะที่จำเลยทั้งสองนั่งที่โซฟาในห้องอาหารอยู่นั้น มีสายลับ 2 คนเดินเข้ามานั่งร่วมโต๊ะเดียวกันกับจำเลย แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้หยิบถุงกระดาษที่จำเลยที่ 2 ถือมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สายลับ สายลับก็ให้สัญญาณเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองตามแผนการจับกุมที่กำหนดกันไว้ก่อนแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเข้าจับจำเลยทั้งสองกับยึดได้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ของกลางซึ่งบรรจุมาในถุงกระดาษดังกล่าวทันที ดังนี้จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ของกลางให้แก่สายลับ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเสียก่อน การซื้อขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางจึงยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เป็นการกระทำยังอยู่ในขั้นตอนที่จำเลยทั้งสองพยายามขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเท่านั้น และเมื่อวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเป็นชนิดเดียวกันและจำนวนเดียวกัน ทั้งจำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียวฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายเพียงกรรมเดียวเท่านั้น มิใช่จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติดไม่สำเร็จ ความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย
ก่อนเวลาที่จำเลยทั้งสองจะถูกจับไม่นาน จำเลยทั้งสองเดินเข้าไปนั่งที่โซฟาในห้องอาหารของโรงแรมด้วยกันโดยจำเลยที่ 2 ถือถุงกระดาษเข้าไปด้วย ต่อมาขณะที่จำเลยทั้งสองนั่งที่โซฟาในห้องอาหารอยู่นั้น มีสายลับ 2 คนเดินเข้ามานั่งร่วมโต๊ะเดียวกันกับจำเลย แล้วจำเลยที่ 1เป็นผู้หยิบถุงกระดาษที่จำเลยที่ 2 ถือมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สายลับ สายลับก็ให้สัญญาณเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองตามแผนการจับกุมที่กำหนดกันไว้ก่อนแล้วเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเข้าจับจำเลยทั้งสองกับยึดได้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ของกลางซึ่งบรรจุมาในถุงกระดาษดังกล่าวทันที ดังนี้จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ ส่งมอบวัตถุออกฤทธิ์ของกลางให้แก่สายลับ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเสียก่อนการซื้อขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางจึงยังไม่สำเร็จบริบูรณ์เป็นการกระทำยังอยู่ในขั้นตอนที่จำเลยทั้งสองพยายามขายวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเท่านั้น และเมื่อวัตถุออกฤทธิ์ของกลางเป็นชนิดเดียวกันและจำนวนเดียวกัน ทั้งจำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและพยายามขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4ได้ให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียวฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายเพียงกรรมเดียวเท่านั้นมิใช่จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันขายวัตถุออกฤทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การผลิตและครอบครองเพื่อขาย, การเรียงกระทง, และการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ พวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิต และมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำ เจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้าน จำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุงจำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 150 ถุง ได้จำหน่าย ไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาว หลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสอง จะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกัน มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทง ลงโทษตามกฎหมาย ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิตและการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัมอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตาม มาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตดังนั้น พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พระราชบัญญัติวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องนำ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่ เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานอ่อนแอ ขาดน้ำหนักรับฟัง ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
เมื่อพยานโจทก์มิได้รู้เห็นการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างสายลับ กับจำเลยโดยตรงจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าคำของพยานโจทก์นี้จึงมีน้ำหนักน้อยและโดยที่พยานโจทก์นี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยถึงวันรุ่งขึ้นจึงไปตรวจค้นที่บ้าน ของจำเลย ซึ่งแม้จะพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนในกระเป๋าเสื้อของ จำเลยที่แขวนอยู่ ก็ไม่ทำให้น้ำหนักคำพยานโจทก์นี้มีเหตุผลเพิ่มขึ้น เพราะสายลับอาจมอบธนบัตรให้แก่จำเลยด้วยเหตุผลอื่น มิใช่เพื่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนก็ได้ประกอบกับหมายค้นที่ใช้ในการตรวจค้นบ้านของจำเลย กลับเป็นหมายค้นที่ออกให้เพื่อทำการตรวจค้นบ้านบุคคลอื่นมิใช่บ้านจำเลยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีพิรุธ มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนี้ให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง: แม้ไม่ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ ยังริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด ซึ่งตาม ป.อ.มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ตาม ป.อ.มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ไม่มีโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ของกลางวัตถุออกฤทธิ์ที่ศาลจะสั่งริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้นั้นต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่เมื่อการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดมีผลเหนือกว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 89 คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท แต่ข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด เป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสอง มีโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 500,000 บาท เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเช่นเดียวกันต้องใช้พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,83 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 วรรคหนึ่ง มาปรับบทลงโทษจำเลย