คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การยกข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำรับสารภาพ และการลงโทษที่ไม่สมเหตุผล
โจทก์บรรยายในคำฟ้องอย่างแจ้งชัดว่า จำเลยทำไม้ปอเลียง ในบริเวณป่าบางไต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยทำไม้ในป่าอันเป็นการทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ที่จำเลยอ้างว่าเป็นการทำไม้ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่เป็นไม้หวงห้ามในชั้นฎีกา จึงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นการยกข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นใหม่โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้กล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้ามในที่ดินมีกรรมสิทธิ์: ผลกระทบจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฉบับใหม่ และสิทธิครอบครองที่ดิน
ขณะเกิดเหตุและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย กำหนดให้ไม้หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาที่ขึ้นอยู่ในป่าเป็นไม้หวงห้าม ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 กำหนดให้ไม้ประดู่และไม้แดงเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา อันดับที่ 58 และ 87 การทำไม้หวงห้ามดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (2) (เดิม), 73 วรรคสอง (2) (เดิม) ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับวันที่ 17 เมษายน 2562 ให้ยกเลิกมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และกำหนดให้ "ไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม" โดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การทำไม้และการเคลื่อนย้ายไม้นั้น เป็นไปได้โดยสะดวกไม่เกิดภาระแก่ประชาชน ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้และการบริหารจัดการด้านการป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ
ที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ซึ่งเป็นที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่ราษฎร ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นผู้ออกให้แก่บุคคลที่เป็นสมาชิกนิคมที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า 5 ปี ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐได้ลงทุนไป และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการแล้ว ผู้ที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ดังกล่าวสามารถขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 วรรคสอง ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินว่าต้องออกให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ทั้งนี้ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ประกอบมาตรา 58 ทวิ หรือมาตรา 59 แล้วแต่กรณี ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 การครองครองที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ของ ส. จึงเป็นการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ไม้ประดู่และไม้แดงที่ขึ้นในที่ดินดังกล่าว จึงไม่เป็นไม้หวงห้ามตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การที่จำเลยทำไม้ประดู่และไม้แดงของกลางกับมีไม้ประดู่และไม้แดงของกลางไว้ในครอบครอง จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 อีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในพื้นที่นอกเขตป่า: การพิสูจน์พื้นที่ป่าเป็นสาระสำคัญในการลงโทษฐานทำไม้หวงห้าม
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (เดิม) ตอนท้ายบัญญัติว่า "ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา" คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันตัดฟันต้นไม้ขะเจ๊าะและไม้มะเกลือ การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องได้ความว่าพื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่า เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าพื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้แปรรูป/ยังมิได้แปรรูปครอบครอง ศาลฎีกาเห็นว่าเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวกันนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบความเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ลักษณะของความผิดในข้อหาการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองจะตัดมาจากต้นเดียวกันและเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายเขตควบคุมการแปรรูปไม้และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และจำเลยได้ทราบประกาศกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว ดังนี้ โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้นอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดแล้ว ส่วนที่โจทก์มิได้แนบสำเนาประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ สำหรับสถานที่ซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำผิดอยู่ภายในเขตควบคุมหรือไม่ ก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งโจทก์บรรยายด้วยว่าประกาศดังกล่าวกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเขตควบคุมการแปรรูปไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และจำเลยได้ทราบประกาศกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว เป็นการระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้นอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดแล้ว ส่วนที่โจทก์มิได้แนบสำเนาประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์สำหรับสถานที่ซึ่งอ้างว่าจำเลยกระทำผิดอยู่ภายในเขตควบคุมหรือไม่ ก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งโจทก์บรรยายด้วยว่าประกาศดังกล่าวกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปจากที่ดินส่วนตัว ไม่เป็นไม้หวงห้าม ไม่ผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม้แปรรูปซึ่งแปรรูปจากไม้ซึ่งขึ้นในที่ดินของจำเลยและไม่ใช่ไม้สักหรือไม้ยาง ทั้งมิได้ขึ้นอยู่ในป่าจึงไม่เป็นไม้หวงห้ามจำเลยมีไม้แปรรูปดังกล่าวไว้ในครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปจากที่ดินตนเอง ไม่เป็นไม้หวงห้าม ไม่ผิดฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม้แปรรูปซึ่งแปรรูปจากไม้ซึ่งขึ้นในที่ดินของจำเลย และไม่ใช่ไม้สักหรือไม้ยาง ทั้งมิได้ขึ้นอยู่ในป่า จึงไม่เป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไม้แปรรูปดังกล่าวไว้ในครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดฟันไม้หวงห้ามและการครอบครองไม้ที่ตัดแล้วถือเป็นความผิดคนละกรรมกัน แม้ไม้จะยังไม่ได้เคลื่อนย้าย
การตัดฟันไม้หวงห้ามกับการมีไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน. แม้จะยังมิได้เคลื่อนย้าย ไม้หวงห้ามนั้นจากที่ได้ตัดฟันไปไว้ที่อื่นก็ตาม
of 6