คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ยึดของกลางในคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจยึดของกลาง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่าในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ย่อมมีความหมายว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้นแต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าหน้าที่ป่าไม้ vs พนักงานสอบสวน
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่า ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. ก็ย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้น แต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8297/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานซื้อของผิดกฎหมายและทำไม้หวงห้าม: ศาลฎีกายืนโทษฐานความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตราของ รัฐบาล และโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไว้ในครอบครองจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯนั้น ความผิดแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8297/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซื้อของหลีกเลี่ยงอากร, ทำไม้หวงห้าม, และแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตราของรัฐบาลและโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯนั้น ความผิดแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้าม, การรับของโจร, และอำนาจริบของกลาง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องไม้หวงห้าม, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการริบของกลาง
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 7 วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชการอาณาจักร จึงไม่จำต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69 แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33ประกอบพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมาย แม้ไม่ได้มี พ.ร.ฎ. กำหนด ศาลไม่มีอำนาจริบหากเจ้าของไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร จึงไม่จำต้องมี พ.ร.ฎ.กำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ
แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้หวงห้าม การร่วมกระทำผิด การวางโทษ และการลดโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสิบเอ็ดได้ร่วมกันทำไม้พยุงอันเป็นไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือมิฉะนั้นจำเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกได้รับไว้โดยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้หวงห้ามของกลางดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 เป็นคำฟ้องที่บรรยายครบองค์ประกอบความผิดแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในความผิดฐานใด และทางพิจารณาปรากฎว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนั้น ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนไม่และบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ก็มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงหาจำต้องระบุอ้างมาในคำฟ้องไม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดคนร่วมกันมีไม้พยุงเกินกว่า 4 ลูกบาศก์เมตร โดยไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูปอันเป็นข้อหาฐานความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 69 วรรคสอง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในทางพิจารณาซึ่งเป็นความผิดอันรวมอยู่ในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ แต่มีโทษเบากว่า ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ยังคงวางโทษเท่ากับโทษที่ศาลชั้นต้นวางมาในฐานเป็นตัวการในความผิดทั้งสองกระทง โดยมิได้กำหนดโทษให้น้อยลงในฐานเป็นผู้สนับสนุน จึงเป็นการวางโทษที่หนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 8ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกา และจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาให้ได้ลดโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ที่ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง และมาตรา 73 วรรคสอง จำคุกคนละ 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และมาตรา 73 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86ส่วนอัตราโทษยังคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 6 และที่ 7 เป็นเพียงลูกจ้างขนไม้ไปตามคำสั่งของนายจ้างโดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการหากต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจะต้องออกจากราชการ จึงมีเหตุที่ศาลจะรอการลงโทษนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการกำหนดโทษที่เหมาะสมในคดีไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสิบเอ็ดได้ร่วมกันทำไม้พยุงอันเป็นไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือมิฉะนั้นจำเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกได้รับไว้โดยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้หวงห้ามของกลางดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นคำฟ้องที่บรรยายครบองค์ประกอบความผิดแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในความผิดฐานใด และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนั้น ศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นผู้สนับสนุนไม่ และบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 86 ก็มิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงหาจำต้องระบุอ้างมาในคำฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดคนร่วมกันมีไม้พยุงเกินกว่า4 ลูกบาศก์เมตร โดยไม้ดังกล่าวยังมิได้แปรรูป อันเป็นข้อหาฐานความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคสอง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86 ตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในทางพิจารณาซึ่งเป็นความผิดอันรวมอยู่ในความผิดที่โจทก์ขอให้ลงโทษ แต่มีโทษเบากว่า ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ยังคงวางโทษเท่ากับโทษที่ศาลชั้นต้นวางมาในฐานเป็นตัวการในความผิดทั้งสองกระทง โดยมิได้กำหนดโทษให้น้อยลงในฐานเป็นผู้สนับสนุน จึงเป็นการวางโทษที่หนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 8 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกา และจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาให้ได้ลดโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7ที่ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา73 วรรคสอง จำคุกคนละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.อ.มาตรา 86 และมาตรา 73 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ส่วนอัตราโทษยังคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 เป็นเพียงลูกจ้างขนไม้ไปตามคำสั่งของนายจ้าง โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการหากต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจะต้องออกจากราชการ จึงมีเหตุที่ศาลจะรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องต้องสอดคล้องกัน หากไม่สอดคล้องกัน ศาลต้องยกฟ้องข้อหาที่โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษ และศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มโทษเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาได้หากไม่อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฏว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิดในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้อ้างบทมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองแล้วหาได้ไม่กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีป่าไม้: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและโทษจำคุกต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฎว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิด ในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้าย ฟ้องโจทก์มิได้อ้างบท มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้ยังมิได้แปรรูปไวในครอบครองแล้วได้ไม่ กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้ รับอนุญาต เมื่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48,73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุก จำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
of 9