คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานครอบครองไม้หวงห้ามแปรรูป ต้องพิจารณาประเภทไม้ที่ครอบครองตามฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยมีใช้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามแปรรูปเป็นเสาถาก 75 ท่อน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 และพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป และโจทก์นำสืบฟังได้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้แปรรูป คือ ถากเป็นเสาแล้ว ดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีไม้หวงห้าม ต้องพิจารณาประเภทไม้ที่ครอบครอง หากเป็นไม้แปรรูปแล้ว การลงโทษตามบทบัญญัติสำหรับไม้ยังไม่แปรรูปย่อมไม่ชอบ
ฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามแปรรูปเป็นเสาถาก 75 ท่อน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 และพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่4) พ.ศ.2503มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป และโจทก์นำสืบฟังได้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้แปรรูป คือถากเป็นเสาแล้วดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้หวงห้าม, ตราปลอม, และการริบของกลาง
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัว ไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัทแต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลยแต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: การครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, ตราค่าภาคหลวงปลอม, และการริบไม้
(1) โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้ฟ้องบริษัท แม้ไม้จะเป็นของบริษัท แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นกรรมการจัดการของบริษัทเป็นผู้ครอบครอง ทางพิจารณาก็ไม่ต่างกับฟ้อง
(2) ในกรณีที่จำเลยลวงให้เจ้าพนักงานประทับตราค่าภาคหลวงลงบนไม้นั้น จำเลยจะยกข้อที่ว่าไม้มีตราค่าภาคหลวงประทับอยู่แล้วเพื่อให้พ้นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 มาตรา 16 หาได้ไม่
(3) แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ไม้ของกลางเป็นของบริษัทมิใช่ของจำเลย แต่เมื่อจำเลยมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ศาลจึงต้องริบไม้ของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อกระทำผิดกฎหมายป่าไม้ ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิด
รถยนต์ที่จำเลยใช้บรรทุกไม้สัก อันยังมิได้แปรรูป.ไม่มีตราค่าภาคหลวง อันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2484มาตรา 69 นั้นเมื่อปรากฏว่าเป็นรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อมาจากผู้ร้อง ชำระเงินยังไม่ครบกรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของผู้ร้องอยู่ผู้ร้องมิได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยศาลต้องคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องไป เพราะ พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มุ่งหมายที่จะลงโทษบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ตะเคียนสามพอนเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีในพ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 ม.4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้ โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ ตามบัญชีอันดับ 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้ตะเคียนสามพอนจัดเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีใน พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 มาตรา4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ ตามบัญชีอันดับ 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้ามและการบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีตัดไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้ว ถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2494 ม.16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้ามและการตีความกฎหมาย: การออกกฎหมายย้อนหลัง และความรับผิดชอบของผู้แปรรูปไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้วถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ" นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ 2494 มาตรา 16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749-750/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์-ขาดลายมือชื่อผู้เรียง-บทลงโทษไม้หวงห้าม-ศาลฎีกายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษฐานปาณีตาม ก.ม.อาญา ม.59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ ๆ มิได้อ้าง พ.ร.บ.ป่ไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 คงอ้างมาแต่ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราใน ก.ม.ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม.69,73 ได้ถูกยกเลิกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ม.16,17 แล้วเมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง ม.69 และ 73 แห่งพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรรณ์ตาม ป.วิ.อาญา ม.158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ก.ม.หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อ ก.ม.ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริง จึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ 1 บาท คืนให้จำเลยนั้น กรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษา เมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ๆ จึงไม่วินิจฉัยให้.
of 9