คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 176

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำรับสารภาพชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามคำรับสารภาพนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นไปตามกฎหมาย หากคู่ความไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และเข้าใจผิดว่าเป็นการถามชื่อจำเลย จึงให้การรับสารภาพไปเป็นความเข้าใจผิดของจำเลยเอง จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนเถื่อน การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วจำเลยลักอาวุธปืนพกของสามีผู้เสียหายไปโดยทุจริตและจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถือวิสาสะเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายเพื่อนำอาวุธปืนไปใช้เพราะเคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อนและจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทุ่งนา มิใช่หมู่บ้านหรือทางสาธารณะหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิเกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์, มีอาวุธปืน, พาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้รับสารภาพแล้ว ศาลยังคงพิจารณาเป็นหลายกรรม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วจำเลยลักอาวุธปืนพกของสามีผู้เสียหายไปโดยทุจริตและจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในหมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าจำเลยถือวิสาสะเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายเพื่อนำอาวุธปืนไปใช้เพราะเคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อนและจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในทุ่งนา มิใช่หมู่บ้านหรือทางสาธารณะหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ เกิดจากผู้กระทำผิดมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิดจึงอยู่ที่การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดในเรื่องการขออนุญาตมีและพาอาวุธปืนเป็นสำคัญเมื่อผู้ใดฝ่าฝืน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องรับโทษเป็นการเฉพาะตัว เจตนาของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นคนละส่วน สามารถแยกออกจากเจตนากระทำความผิดฐานลักอาวุธปืนได้ชัดเจนแม้จะมีการกระทำเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ต้องเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องเช็คและการนับโทษต่อหลังรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใดถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพราะ เป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวัน อันเป็น เวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลย เป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการ เพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริง ที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คมิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีเช็ค และการนับโทษต่อหลังรับสารภาพ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใด ถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) เพราะเป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไร และบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค มิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่พิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานรู้เห็นเพียงคนเดียว และผู้เสียหายมิได้ยืนยันหรือเบิกความกล่าวหาว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายคงยืนยันแต่เพียงว่า เข้าใจว่าจำเลยจะข่มขืนผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ แต่ในกระเป๋าเสื้อนั้นไม่มีทรัพย์ใด ๆ อยู่ เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยได้ลงมือชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยจะเคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าประสงค์จะได้เงินจึงใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย คำให้การของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นข้อแก้ตัวของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอนาจารผู้เสียหายก็ได้ พยานโจทก์เท่าที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ลงมือกระทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วย ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีชิงทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานรู้เห็นเพียงคนเดียว และผู้เสียหายมิได้ยืนยันหรือเบิกความกล่าวหาว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายคงยืนยันแต่เพียงว่า เข้าใจว่าจำเลยจะข่มขืนผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ แต่ในกระเป๋าเสื้อนั้นไม่มีทรัพย์ใด ๆอยู่ เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยได้ลงมือชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วแม้จำเลยจะเคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าประสงค์จะได้เงินจึงใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย คำให้การของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นข้อแก้ตัวของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอนาจารผู้เสียหายก็ได้ พยานโจทก์เท่าที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ลงมือกระทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8208/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน ริบของกลางได้ – ฎีกาห้ามเรื่องข้อกฎหมายใหม่ & ข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากล่าว
การที่จำเลยดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 มาตรา 6 ทวิ,20 ทวิ ส่วนการที่จำเลยเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 มาตรา 6,14,48 การกระทำของจำเลยแยกการกระทำออกจากกันได้และมีเจตนาในการกระทำผิดคนละอย่างด้วยทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อหาการดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายไว้คนละข้อกัน การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดคนละกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดได้ตามฟ้องเป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์นำชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำผิดมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้กระทำผิด จึงริบไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและยอมรับว่าทรัพย์ของกลางที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ทรัพย์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ข้อฎีกาจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8208/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินธุรกิจน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาต และการเก็บรักษาน้ำมันอันตราย มีความผิดแยกจากกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
การที่จำเลยดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 มาตรา 6 ทวิ, 20 ทวิ ส่วนการที่จำเลยเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 มาตรา 6, 14, 48 การกระทำของจำเลยแยกการกระทำออกจากกันได้และมีเจตนาในการกระทำผิดคนละอย่างด้วยทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อหาการดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายไว้คนละข้อกัน การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดคนละกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ.มาตรา 91
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218วรรคหนึ่ง ในชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดได้ตามฟ้องเป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์นำชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำผิดมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้กระทำผิด จึงริบไม่ได้ตาม ป.อ.มาตรา32 และ 33 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและยอมรับว่าทรัพย์ของกลางที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ทรัพย์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ข้อฎีกาจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีก่อน จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันตัวบุคคลจำเลยว่าเป็นคนเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกในคดีดังกล่าว ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาล
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
of 68