พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีเสพเมทแอมเฟตามีนและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องยกฟ้องเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบ นำพาของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร หรือจำเลยได้ซื้อ รับไว้ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของกลางดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของผู้อื่นลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษี ข้างต้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นคนละฐานกัน และโจทก์มี ความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหนึ่งเพียงฐานเดียว จะลงโทษจำเลยในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานไม่ได้ คำให้การ ของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการยังไม่ชัดเจน พอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด ย่อมเป็นหน้าที่ ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิด ของจำเลยว่าได้กระทำความผิดฐานใดแน่หาใช่เป็นหน้าที่ ของศาลที่จะสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพในฐานความผิดใดเมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน คำให้การรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องและคดี ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณา สอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่: ฟ้องไม่ชัดเจนระยะเวลาโทษเดิม ศาลไม่อาจบวกโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกรอไว้ 2 ปี โดยไม่ได้บรรยายฟ้องระบุถึงโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคดีก่อนว่ามีระยะเวลาเท่าใด แม้ตามคำให้การของจำเลยและ รายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและรับข้อเท็จจริงเรื่องเคยต้องโทษตามฟ้องแต่เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุถึงระยะเวลาของโทษ จำคุกในคดีก่อน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ศาลให้รับฟัง ได้ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยนานเท่าใดในคดีก่อน ดังนั้นจึงไม่อาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีหลัง ตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องโทษจำคุกคดีก่อนมีผลต่อการรวมโทษหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกรอไว้ 2 ปี โดยไม่ได้บรรยายฟ้องระบุถึงโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคดีก่อนว่ามีระยะเวลาเท่าใด แม้ตามคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและรับข้อเท็จจริงเรื่องเคยต้องโทษตามฟ้อง แต่เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุถึงระยะเวลาของโทษจำคุกในคดีก่อน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ศาลให้รับฟังได้ว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยนานเท่าใดในคดีก่อน ดังนั้น จึงไม่อาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกทหารกองเกินและการฟ้องคดีอาญา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการออกหมายเรียกและรับทราบ
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายเรียกทหารกองเกิน: อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขตและความครบถ้วนของฟ้อง
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน ไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯมาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ เขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้ การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การรับสารภาพแล้วปฏิเสธภายหลัง ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยาน หากไม่ทำเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพแล้วปฏิเสธฟ้อง: ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยานก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา243 (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 และการรับคำรับสารภาพของจำเลย
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง 3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลง ในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ได้ จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้