พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การโอนสำนวนและผู้มีอำนาจ
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษี: การโอนสำนวนตรวจสอบภาษีทำให้เจ้าพนักงานสรรพากรเขต 3 มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีได้
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของอดีตหุ้นส่วนในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด: กรอบระยะเวลา 2 ปี และการแจ้งหนี้
จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 อันเป็นเวลาภายหลัง 2 ปีนับแต่จำเลยที่ 2ออกจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้น โจทก์ไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้ หนังสือเตือนให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินภาษีที่ค้าง ไม่ได้ระบุแจ้งผลการประเมินตามรายการอากรสำแดง หรือมีรายการแยกแยะเป็นรายละเอียดภาษีอากรที่จะชำระเอาไว้แต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากรแต่เป็นหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามปกติดังเช่นหนี้ทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนและการแจ้งการประเมินภาษีอากรเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม2527 และนำไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2528และโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินภาษีอากรให้จำเลยที่ 2 ทราบคงแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้น ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 และวันที่ 2 เมษายน 2530 เพื่อให้ชำระเงินภาษีที่ค้างอยู่โดยหนังสือเตือนดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้ระบุแจ้งผลการประเมินตามรายการอากรสำแดง หรือมีรายการแยกแยะเป็นรายละเอียดภาษีอากรที่จะชำระเอาไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามปกติดังเช่นหนี้ทั่วไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 อันเป็นเวลาภายหลัง2 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเป็นเอกสารที่จะต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ดังนั้น ขณะยื่นฟ้องต่อศาล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างของจำเลยที่ 1และตามสัญญาค้ำประกัน ก็ไม่มีข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2ไว้ว่าหากจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โจทก์จะต้องบอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ก่อนดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในระหว่างเป็นลูกจ้างโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี: การแจ้งประเมินสะดุดหยุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำอาจทำให้ขาดอายุความตามกฎหมาย
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การแจ้งประเมินสะดุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำขยายอายุความไม่ได้
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรกรณีผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย การประเมินภาษีและการฟ้องคดีมรดก
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก.ผู้ต้องเสียภาษีอากรและเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และ จ. จำเลยให้การแต่เพียงว่าไม่ทราบ ไม่รับรอง เท่ากับจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามข้ออ้างดังกล่าว เมื่อ ก. ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่กรรม จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เป็นผู้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จ.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 แจ้งไปยังจำเลยว่าเป็นบุตรของ ก. และจ. ซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยจึงแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปยังโจทก์ทุกคนซึ่งเป็นทายาทของ ก. และ จ. แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทุกคนเป็นทายาทของ ก. และ จ. มีหน้าที่และความรับผิดในมูลหนี้ภาษีอากรของ ก. ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การฟ้องคดีมรดกตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 วรรคสอง หมายความถึงการกล่าวหรือเสนอข้อหาต่อศาลเพื่อบังคับเอาแก่กองมรดกเท่านั้น หาได้มีความหมายถึงการประเมินหรือแจ้งจำนวนภาษีอากรให้โจทก์ชำระของเจ้าพนักงานประเมินด้วยไม่แม้การประเมินภาษีอากรจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันที่ได้ประเมินและแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่การมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องมีความหมายเพียงเพื่อผลในการตั้งสิทธิเรียกร้องเท่านั้น หาใช่การฟ้องคดีไม่ ในกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายก่อนได้รับแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมิน บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 18 และ84 ทวิ ประสงค์ให้ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อมูลหนี้ค่าภาษีอากรหลังจากที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายแล้ว มิได้มุ่งประสงค์ให้กองมรดกของผู้ต้องเสียภาษีซึ่งถึงแก่ความตายรับผิดชอบ ดังนั้นความรับผิดชอบในมูลหนี้ค่าภาษีอากรของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก จึงตกอยู่ในหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 มีอายุความ 10 ปี