พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินผิดกฎหมาย การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยอายุความ
ย. ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้พันเอก พ. เมื่อปี 2519 ต่อมาปี 2520 เมื่อมีการเดินสำรวจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เนื่องจากติดข้อกำหนดที่ห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน ย. และพันเอก พ. จึงทำสัญญาจำนองโดยไม่มีการกู้ยืมเงินจริง แต่ทำเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่ยังไม่อาจโอนสิทธิในที่ดินได้เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ สัญญาจำนองจึงเป็นนิติกรรมอำพราง ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เมื่อสัญญาจำนองเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
การทำสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น การที่ ย. ทำสัญญาการซื้อขายและมอบให้พันเอก พ. ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท พันเอก พ. ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนคือวันที่ 24 สิงหาคม 2530 พันเอก พ. และทายาทครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึง พ.ศ.2559 โดยไม่ปรากฏว่า ย. หรือทายาทเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ย. หรือทายาทได้สละการครอบครองที่พิพาทให้แก่พันเอก พ. แล้ว ย่อมถือว่าพันเอก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา พันเอก พ. ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา
การทำสัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น การที่ ย. ทำสัญญาการซื้อขายและมอบให้พันเอก พ. ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท พันเอก พ. ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนคือวันที่ 24 สิงหาคม 2530 พันเอก พ. และทายาทครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้ชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึง พ.ศ.2559 โดยไม่ปรากฏว่า ย. หรือทายาทเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ย. หรือทายาทได้สละการครอบครองที่พิพาทให้แก่พันเอก พ. แล้ว ย่อมถือว่าพันเอก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อแต่นั้นมา พันเอก พ. ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ และข้อยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สมดังเจตนาของคู่พิพาทที่เลือกใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการแทนการนำข้อพิพาทไปฟ้องคดีต่อศาล จึงบัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจะได้รับการพิจารณาจากศาลเพียงชั้นเดียว ยกเว้นเป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาตามกรณีมาตรา 45 (1) ถึง (5) จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ที่ผู้ร้องมีคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งอยู่ในบังคับตามกฎหมายดังกล่าว แล้วต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ อันอาจทำให้ต้องแยกอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ส่วนเรื่องตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกานั้น ย่อมจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งยังเปิดโอกาสให้คู่พิพาทฝ่ายที่ต้องการประวิงคดีใช้เป็นช่องทางนี้ได้ คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจึงถือเป็นคำสั่งของศาลตามพระราชบัญญัตินี้อันต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว
ส่วนคำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น เมื่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 วรรคสอง (1) กำหนดให้ผู้ร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดต้องมีต้นฉบับคำชี้ขาดหรือสำเนาที่รับรองถูกต้องมาแสดงต่อศาล แต่มิได้กำหนดให้ต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานทูตในประเทศที่มีการทำคำชี้ขาด กระทรวงการต่างประเทศของไทย หรือโนตารีปับลิกที่ผู้คัดค้านอ้างแต่อย่างใด ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสำเนาคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานทูตของ สหราชอาณาจักร หรือกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร หรือกระทรวงการต่างประเทศของไทย รวมทั้งโนตารีปับลิกมาแสดงต่อศาล อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์
ส่วนคำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น เมื่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 วรรคสอง (1) กำหนดให้ผู้ร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดต้องมีต้นฉบับคำชี้ขาดหรือสำเนาที่รับรองถูกต้องมาแสดงต่อศาล แต่มิได้กำหนดให้ต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานทูตในประเทศที่มีการทำคำชี้ขาด กระทรวงการต่างประเทศของไทย หรือโนตารีปับลิกที่ผู้คัดค้านอ้างแต่อย่างใด ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสำเนาคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานทูตของ สหราชอาณาจักร หรือกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร หรือกระทรวงการต่างประเทศของไทย รวมทั้งโนตารีปับลิกมาแสดงต่อศาล อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูพรากเด็กจากความปกครองมารดาเพื่อข่มขืน การกระทำผิดฐานพรากเด็กเป็นความผิด
แม้ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมที่ 1 นั่งเล่นโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในโรงเรียนหน้าห้องทำงานของจำเลย โดยจำเลยมิได้นัดแนะหรือพาโจทก์ร่วมที่ 1 มา ก็ถือว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมที่ 1 อยู่ในความปกครองดูแลของโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา จำเลยไม่มีสิทธิพาโจทก์ร่วมที่ 1 ไปยังที่ใดโดยโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่รู้เห็นยินยอม การที่จำเลยเข้ามากอดแล้วลากโจทก์ร่วมที่ 1 เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราในห้องทำงานของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยพาไปหรือแยกโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากความปกครองดูแลของโจทก์ร่วมที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นเพียงการกระทำเพื่อมิให้บุคคลอื่นพบเห็นจึงเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาบทลงโทษคดีจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและอาวุธปืน รวมถึงการจ่ายสินบนจากเงินค่าปรับ
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติแต่เพียงว่า คำฟ้องต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น ส่วนรายละเอียดที่ว่า ใครจะเป็นผู้นำจับ ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโดยไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องโดยละเอียด เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญแห่งการกระทำผิดของจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยระบุว่าในการจับกุมความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มีผู้นำจับนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จับกุมคดีนี้และมีคำขอท้ายฟ้องให้จ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับแล้ว การที่จำเลยให้การรับสารภาพย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 บัญญัติให้จ่ายสินบนและเงินรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อของกลางคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดไม่อาจนำออกขายได้ และศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับ กรณีจึงไม่มีเงินที่ได้จากการขายของกลางหรือเงินค่าปรับที่จะสั่งจ่ายสินบนและเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 ได้
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36, 56 วรรคหนึ่ง นั้น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มาตรา 20 และมาตรา 31 ให้เพิ่มเติมมาตรา 29/9 วรรคสอง และมาตรา 56/4 ทั้งมาตรา 37 ยังบัญญัติให้คำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ออกตามมาตรา 36 และมาตรา 38 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีคำสั่งใหม่หรือมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น การกระทำความผิดฐานขายสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า โดยฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ยังบัญญัติให้เป็นความผิดอยู่ แต่โทษจำคุกตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 บัญญัติให้จ่ายสินบนและเงินรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อของกลางคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดไม่อาจนำออกขายได้ และศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับ กรณีจึงไม่มีเงินที่ได้จากการขายของกลางหรือเงินค่าปรับที่จะสั่งจ่ายสินบนและเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 ได้
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36, 56 วรรคหนึ่ง นั้น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มาตรา 20 และมาตรา 31 ให้เพิ่มเติมมาตรา 29/9 วรรคสอง และมาตรา 56/4 ทั้งมาตรา 37 ยังบัญญัติให้คำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ออกตามมาตรา 36 และมาตรา 38 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีคำสั่งใหม่หรือมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น การกระทำความผิดฐานขายสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า โดยฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ยังบัญญัติให้เป็นความผิดอยู่ แต่โทษจำคุกตามกฎหมายใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการและบริษัทจากการกระทำผิดสัญญาจองห้องพักและการจัดการบัญชีที่ไม่โปร่งใส
การปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องว่าจะเข้าลักษณะมูลหนี้สัญญาหรือมูลหนี้ละเมิดนั้น เป็นข้อหารือบทซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง โดยโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงที่จำเลยได้กระทำ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิก็เพียงพอแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น หากกรรมการของบริษัทกระทำการในขอบอำนาจของบริษัท การกระทำของกรรมการย่อมผูกพันบริษัทซึ่งเป็นตัวการ กรรมการไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 3 ในการทำธุรกรรมทางการเงินส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 แต่อย่างใดไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น หากกรรมการของบริษัทกระทำการในขอบอำนาจของบริษัท การกระทำของกรรมการย่อมผูกพันบริษัทซึ่งเป็นตัวการ กรรมการไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 3 ในการทำธุรกรรมทางการเงินส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมีสิทธิก่อนและอาจทำให้สับสน
คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพลูกศรอยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส และเครื่องหมายการค้าภาพสมอเรือ ลูกศร อยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส โดยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนแล้วกับสินค้าจำพวกที่ 25 และจำพวกที่ 16 ต่อมาจำเลยนำคำว่า มอส ประกอบภาพสมอเรือไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าประเภทชุดเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ เสื้อกีฬา กางเกง และกางเกงกีฬา เช่นเดียวกับโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งต่อมาจำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้ง 3 เครื่องหมายทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสามดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเพราะเหตุว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนโดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน เป็นเหตุต้องห้ามการจดทะเบียนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนมีรูปเครื่องหมายโดยมีลักษณะเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายมังกรและสิงห์ และมีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS MEN" อ่านว่า เอ็กซ์เพรส เมน ส่วนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ได้แก่ซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรส เวิล แบรนซึ่งอ่านว่า เอ็กซ์เพรสแฟชั่น และ 3 - EXPRESS ซึ่งอ่านว่า ทรี เอ็กซ์เพรส เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายแล้ว พบว่ามีอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" เป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมาย ซึ่งคำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้จะมีภาคส่วนของรูปประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายมังกรและสิงห์ประกอบอยู่ด้วย แต่ก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า "EXPRESS" ซึ่งเป็นภาคส่วนที่วางอยู่ด้านบนของตัวมังกรและสิงห์อย่างเด่นชัด มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนคำว่า "MEN" เป็นตัวอักษรประดิษฐ์ที่ซ่อนอยู่ในรูปประดิษฐ์เหนือคำว่า "EXPRESS" ซึ่งยากแก่การสังเกตเห็น ดังนี้ คำว่า "EXPRESS" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นคำหลักที่ใช้เพื่อเรียกชื่อและแสดงว่าเป็นสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคล้ายกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายแล้ว เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีคำและเสียงเรียกขานของคำในส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายคล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่มีภาคส่วนคำว่า "EXPRESS" ประกอบอยู่ด้วย ประกอบกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่เครื่องหมายจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3, 14, 18 และ 25 รายการสินค้าที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย และบริการจำพวกที่ 35 บริการจัดการขายเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์บำรุงที่ใช้ส่วนตัวในร้านค้าปลีก ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ (ยกเว้นเสื้อชั้นใน และเสื้อกีฬา) กางเกงชั้นใน กรณีจึงเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "EXPRESS" เป็นสินค้าที่ผลิตจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ไม่ได้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาต และการรอการลงโทษสำหรับนักกีฬายิงปืน
แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่า จำเลยมีกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร ) จำนวน 11 นัด และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร จำนวน 100 นัด ซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครอง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และผู้ชำนาญการที่ตรวจพิสูจน์จะมีความเห็นว่า กระสุนปืนทั้งสองขนาดเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ก็ตาม แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 กำหนดว่า "เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" ซึ่งหมายความว่า เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 เว้นแต่ เครื่องกระสุนปืนนั้น แม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้วเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง .223 (5.56 มิลลิเมตร) และขนาดเพียง 7.62 มิลลิเมตร ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 (1) และ ข้อ 2 (2) (ก) กับ (ข) จึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ เครื่องกระสุนปืนของกลาง จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกัน เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ของกลาง จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้จะรับฟังว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับปืนกลซึ่งใช้ในทางการทหารเพื่อใช้ในการสงครามดังเช่นที่โจทก์ฎีกา แต่คำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) จำนวน 11 นัด และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร จำนวน 100 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ และจำเลยรับข้อเท็จจริงว่าเครื่องกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) และเครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ไม่เป็นกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือกระสุนเพลิง การที่จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนของกลางจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
แม้กระสุนปืนเล็กขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) ของกลาง จะสามารถใช้ยิงได้กับปืนยาวไรเฟิล (REMINGTON) และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ของกลาง จะสามารถใช้ยิงได้กับปืนยาวไรเฟิล (SAKO) ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ก็ตาม ก็เป็นเพียงการดัดแปลงเพื่อนำไปใช้เท่านั้น ทั้งจำเลยรับข้อเท็จจริงตามคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ตรวจพิสูจน์เครื่องกระสุนปืนของกลางว่า หากนำเครื่องกระสุนปืนของกลางไปใช้ ปืนอาจได้รับความเสียหายและคนยิงอาจได้รับอันตราย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางมิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครอง ย่อมรวมถึงการมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ด้วย ถือได้ว่าความผิดที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่เป็นกรณีความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้กระสุนปืนเล็กขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) ของกลาง จะสามารถใช้ยิงได้กับปืนยาวไรเฟิล (REMINGTON) และกระสุนปืนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ของกลาง จะสามารถใช้ยิงได้กับปืนยาวไรเฟิล (SAKO) ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ก็ตาม ก็เป็นเพียงการดัดแปลงเพื่อนำไปใช้เท่านั้น ทั้งจำเลยรับข้อเท็จจริงตามคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้ตรวจพิสูจน์เครื่องกระสุนปืนของกลางว่า หากนำเครื่องกระสุนปืนของกลางไปใช้ ปืนอาจได้รับความเสียหายและคนยิงอาจได้รับอันตราย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางมิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครอง ย่อมรวมถึงการมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ด้วย ถือได้ว่าความผิดที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงไม่ใช่เป็นกรณีความผิดที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ จะบัญญัติความผิดทั้งสองฐานไว้คนละมาตราก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และผลของการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
เมื่อมีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ย่อมมีผลต่อการดำเนินคดีแพ่งแก่ลูกหนี้โดยต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 90/12 (4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงตามสำนวนว่า หลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาและจำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้งดการพิจารณาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วในวันเดียวกัน โดยจำเลยที่ 2 ได้แนบสำเนาคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 มาท้ายคำร้องด้วย เมื่อสำเนาคำร้องขอดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่ศาลล้มละลายกลางรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งในหน้าสุดท้ายระบุว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอดังกล่าวไว้พิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้ในคำแก้ฎีกาแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางที่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงต้องด้วยกรณีที่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งต้องงดการพิจารณาไว้จนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเช่นใดเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่จะงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 ยกคำร้องขอให้งดการพิจารณาของจำเลยที่ 2 และมีคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 2 ในชั้นอุทธรณ์มานั้น เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อความปรากฏจากคำแถลงข้อเท็จจริงของโจทก์ว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 แล้ว ผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ตามมาตรา 90/12 ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลง จึงไม่มีเหตุให้งดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป
เมื่อศาลฎีการับฎีกาของจำเลยที่ 2 เฉพาะประเด็นที่ว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษต้องงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
เมื่อศาลฎีการับฎีกาของจำเลยที่ 2 เฉพาะประเด็นที่ว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษต้องงดการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: เจ้าของต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์และมิได้รู้เห็นการกระทำผิด
ที่ผู้ร้องฎีกาทำนองว่า พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรัพย์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เห็นว่า คดีร้องขอคืนของกลางมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดหรือไม่เท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวข้างต้นที่ผู้ร้องฎีกามานั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องยกขึ้นต่อสู้ในคดีหลัก เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและไม่ได้ต่อสู้ไว้ ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นร้องขอคืนของกลางไม่ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นดังกล่าว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อสุดท้ายว่า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่านำส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้คู่ความทราบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาทำนองว่า คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำร้องและหมายศาล เห็นว่า แม้คดีร้องขอคืนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา แต่ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องวางเพื่อใช้ในการส่งสำเนาคำร้องและหมายนัดให้แก่คู่ความไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 252 บัญญัติไว้มิให้เรียก ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยในข้อนี้มานั้น จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน