คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 281 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ทำรั้วนานเกิน 10 ปี แต่ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง
แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524 เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงาน และที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คน ภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยลไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน สำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ การล้อมรั้วโดยไม่ตรวจสอบแนวเขตไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงานและที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คนภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดินก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจังแสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้นแต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวนสำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ทำรั้วแต่ไม่แสดงเจตนาครอบครองก็ไม่เกิดสิทธิ
จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากไม่สามารถยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จึงย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหา ดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหานี้โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาทเพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงาน และที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คน จำเลยจึงฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดง อาณาเขตที่ดินก็ไม่ปรากฏว่ามีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ก่อน ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้ารกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครอง ทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลย ว่าไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้จะทำรั้วรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยมิได้ถามค้านพยานจำเลย ถึงข้อความในเอกสารนั้นไว้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน และคำแถลงคัดค้านของจำเลย ก็เป็นการคัดค้านคำร้อง ของ โจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งตามมาตรา 89 วรรคสอง จึงไม่ต้องห้าม ที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ปัญหาข้อกฎหมาย, การบอกเลิกสัญญา, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, บัญชีเดินสะพัด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคสอง
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยยอดหนี้ตามบัญชี และการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังล้มละลายเป็นโมฆะ ผู้รับชำระต้องคืนเงินและเสียดอกเบี้ย
คำว่า "ศาล" ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24หมายถึงศาลที่มีคำสั่งหรือความเห็นชอบในการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เท่านั้น
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งหรือให้ความเห็นชอบในกรณีที่จำเลยผ่อนชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อให้ผู้คัดค้านถอนฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย แม้ศาลในคดีอาญาจดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านและให้เลื่อนการพิพากษาคดีอาญาไป ก็หาใช่ศาลที่ให้ความยินยอมตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 ไม่
ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 24 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องที่จะร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำคัดค้าน และมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบ และแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ แต่กลับยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การชำระหนี้ของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านเป็นการชำระหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมมีอำนาจร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินที่จำเลยชำระได้
ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ต้องคืนด้วยนั้นไม่ชอบ เพราะผู้คัดค้านรับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริต เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการชำระหนี้ของจำเลยขัดต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่นั้น ไม่ชอบด้วยเช่นกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้
การชำระหนี้ของจำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 และ 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เงินที่ผู้คัดค้านรับไว้จากจำเลย จะต้องคืนให้แก่จำเลยฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 412แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องได้เรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินให้จึงต้องถือว่าผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินนับแต่วันยื่นคำร้องในคดีนี้เป็นต้นไป
คดีนี้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ไม่ได้ เพราะผู้ร้องมิได้ร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามมาตรา 114 จะต้องเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังเท่านั้น อันหมายถึงการชำระหนี้ที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่เป็นการชำระหนี้ที่กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดดังเช่นคดีนี้ไม่ ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยจึงขัดต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่และตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5643/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ผู้รับชำระต้องคืนเงินและเสียดอกเบี้ย
คำว่า "ศาล" ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 หมายถึงศาลที่มีคำสั่งหรือความเห็นชอบในการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้เฉพาะในกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เท่านั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งหรือให้ความเห็นชอบในกรณีที่จำเลยผ่อนชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อให้ผู้คัดค้านถอนฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย แม้ศาลในคดีอาญาจดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านและให้เลื่อนการพิพากษาคดีอาญาไป ก็หาใช่ศาลที่ให้ความยินยอมตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 24 ไม่ ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องที่จะร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้นั้น แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำคัดค้าน และมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบ และแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้แต่กลับยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ การชำระหนี้ของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านเป็นการชำระหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมมีอำนาจร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินที่จำเลยชำระได้ ปัญหาที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ต้องคืนด้วยนั้นไม่ชอบเพราะผู้คัดค้านรับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริต เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการชำระหนี้ของจำเลยขัดต่อมาตรา 22และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่นั้น ไม่ชอบด้วยเช่นกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การชำระหนี้ของจำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เงินที่ผู้คัดค้านรับไว้จากจำเลย จะต้องคืนให้แก่จำเลยฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องได้เรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินให้จึงต้องถือว่าผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินนับแต่วันยื่นคำร้องในคดีนี้เป็นต้นไป คดีนี้ผู้คัดค้านจะอ้างว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ไม่ได้ เพราะผู้ร้องมิได้ร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามมาตรา 114 จะต้องเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังเท่านั้นอันหมายถึงการชำระหนี้ที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่เป็นการชำระหนี้ที่กระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดดังเช่นคดีนี้ไม่ ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยจึงต่อมาตรา 22 และ 24 ไม่ว่าผู้คัดค้านจะทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ และตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับผู้ร้องย่อมร้องขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทาง แม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของภารยทรัพย์ ผู้เช่า/ครอบครองไม่สามารถต่อสู้ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่1870เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่1871เมื่อปี2530ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1871โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่133383จำเลยที่1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่1871และ133382จากส. เมื่อปลายปี2534จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอมดังนี้เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่133383เป็นของส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่1870ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387และส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399หรือมาตรา1400ส่วนจำเลยที่1เป็นแต่เพียงผู้เช่าและจำเลยที่2เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภาระจำยอม: อำนาจฟ้องของผู้มีสิทธิสามยทรัพย์ และขอบเขตสิทธิของผู้เช่า/ผู้ครอบครอง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภาระจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภาระจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส.เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลวดตาข่ายปิดกั้นทางภาระจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม.เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่า ภาระจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ
โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภาระจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม: เจ้าของภารยทรัพย์เท่านั้นมีสิทธิอ้างเหตุสิ้นภารจำยอม การใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นปัญหาอำนาจฟ้อง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1870 เป็นที่ดินสามยทรัพย์ได้ทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 เมื่อปี 2530 ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 โดยแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นทางภารจำยอมออกเป็นโฉนดเลขที่ 133383 จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1871 และ 133382 จาก ส. เมื่อปลายปี 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่าและขึงลาดตาข่ายปิดกั้นทางภารจำยอม ดังนี้ เมื่อที่ดินภารยทรัพย์โฉนดเลขที่ 133383 เป็นของ ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีหน้าที่ต้องยอมให้โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 1870 ใช้ทางภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. เท่านั้นที่มีสิทธิยกข้ออ้างว่าภารจำยอมสิ้นไปโดยอายุความหรือหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หรือมาตรา 1400ส่วนจำเลยที่ 1เป็นแต่เพียงผู้เช่า และจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของภารยทรัพย์มาต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ โจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิในการใช้ทางภารจำยอมเพราะมีการจดทะเบียนสิทธิโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองฐานกระทำละเมิดโดยปิดทางภารจำยอมได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
of 29