คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 281 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948-10129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ถือเป็นผลจากการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนอกจากจะหมายถึงการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกด้วย คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์มาเพื่อจะให้ทำงานให้แก่จำเลยหมายความว่าจำเลยดำเนินกิจการมีงานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทำตามที่จ้างและในขณะเดียวกันจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยจำเลยมีเงินที่จะจ่ายค่าจ้างได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2538ถึงวันที่20ธันวาคม2538ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำหรือเพราะเหตุอื่นใดและโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจะจ่ายให้การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ซึ่งถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่จำต้องคำนึงว่าในเวลาภายหน้าจำเลยจะมีงานให้โจทก์ทำและมีเงินจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่ละคนหรือไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่2จะไม่ได้ให้การไว้จำเลยที่2ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31 แม้จำเลยที่2จะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ก็ตามแต่จำเลยที่1เป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลจำเลยที่2เป็นกรรมการและเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ความรับผิดของจำเลยที่2ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ประกอบมาตรา820กล่าวคือเมื่อจำเลยที่2กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่1ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์มีการพิมพ์จำนวนเงินผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายบัญญัติ และการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดในอัตราสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(6)เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาที่พิพากษาคดีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และเมื่อไม่ปรากฏเหตุสมควรการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนคำบังคับที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา และการกักขังแทนค่าปรับ
อำนาจของศาลที่จะเพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องการบังคับตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หาใช่อำนาจของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะไม่ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการออกคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนคำบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน109,663,779.20 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา29, 30 โดยออกหมายกักขังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีกำหนด 2 ปีแทนค่าปรับ ก็ต้องถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับจำนวน 109,663,779.20 บาท ครบกำหนด2 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและผลของสัญญาที่ลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่า ว.และ ป.ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทน สัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยโต้เถียง ทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง สัญญาที่ไม่ชอบ การลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกขอเท็จจริงที่ว่าว.และป. ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทนสัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยได้เถียงทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรส, การบอกล้างโดยชอบ, และการตกทอดของสิทธิสู่ทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัทบ. รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรสโจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
แม้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ในประเทศไทยก่อนโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTIขึ้นใช้กับสินค้าของตนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ โจทก์ได้ขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยหลายปี ทั้งบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการอยู่ก็เคยรับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์มาขายในประเทศไทยด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ดีกว่าจำเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในชั้นชี้สองสถานว่า คำให้การของจำเลยเรื่องอายุความไม่ชัดแจ้ง จึงไม่กำหนดเป็นประเด็นให้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นเรื่องอายุความอีกทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ถือเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์
คู่ความพิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินว่าเป็นของผู้ร้องหรือผู้คัดค้าน หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า พยานผู้ร้องล้วนเป็นเครือญาติกับผู้ร้อง มีการซักซ้อมกันมาเบิกความ ชี้ให้เห็นว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบมาเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีราคาไม่เกิน 50,000 บาทคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้คัดค้านฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
of 29