คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินยกแปลง: ราคาเหมาจ่าย ไม่ผูกพันเนื้อที่ดิน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะขาย และผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ดังต่อไปนี้ ที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2571 เนื้อที่ประมาณ 1,550 ตารางวา (3 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา)คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ที่จะซื้อขายกันดังกล่าวเป็นเงิน3,400,000 บาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุไว้ว่าที่ดินมีราคาตารางวาละเท่าไร ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุราคากันไว้ว่า ไร่ละหรือตารางวาละเท่าใด และเนื้อที่ดินที่จะขายก็เป็นแต่กะประมาณ แต่ได้กำหนดราคาไว้ 3,400,000บาท อันมีลักษณะเป็นการขายรวม ๆ กันไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ โจทก์เองได้ทำการตรวจสอบเนื้อที่ดินหลายครั้ง จึงไม่สนใจที่จะถือเอาเรื่องเนื้อที่ดินเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทคงกล่าวถึงความรับผิดของผู้จะขายหรือจำเลยไว้แต่เฉพาะเรื่องปลอดจากการจำนอง การรอนสิทธิหรือภาระติดพันอื่นใดซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการรับผิดในข้อที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนอันมิได้กล่าวไว้เลย เสมือนหนึ่งคู่สัญญาต่างมุ่งประสงค์ไม่ให้ต้องรับผิดต่อกันเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินยกทั้งแปลงหรือขายเหมา ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินที่ซื้อขายจะขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน โจทก์จำเลยก็จะเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนหรือค่าซื้อที่ดินที่ยังขาดอยู่จากกันมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะเจ้าของที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิยังไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว และขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมา จำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวา เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่ครบถ้วน การรับผิดในส่วนที่ขาด และการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้วและขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้อง เรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้ว พิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมาจำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องแต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะทีจำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวาเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิบอกปัดสัญญาเมื่อเนื้อที่ดินไม่เป็นไปตามที่ตกลง
การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินของโจทก์กับจำเลยมีเจตนาซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่ดินเอาไว้แน่นอนแล้ว เพราะหากไม่ประสงค์จะผูกพันกันเป็นจำนวนเนื้อที่ดินแน่นอนดังกล่าว จำเลยก็ควรจะระบุเหตุนี้ให้ปรากฏในสัญญา แต่จำเลยก็มิได้ระบุไว้ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับไว้ก็ได้หากการขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนนั้นเกินกว่าร้อยละห้าแห่งเนื้อที่ทั้งหมดอันได้ระบุไว้ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับโอนที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าจำนวนตามสัญญากว่าร้อยละห้าของเนื้อที่ทั้งหมด โจทก์ในฐานะผู้ซื้อย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนและบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องโดยระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างส่งหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ต่อศาลอีกฉะนั้น ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสารสำหรับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเนื้อที่ดินไม่ตรงตามที่ตกลง และการพิสูจน์การมอบอำนาจ
การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินของโจทก์กับจำเลยมีเจตนาซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่ดินเอาไว้แน่นอนแล้ว เพราะหากไม่ประสงค์จะผูกพันกันเป็นจำนวนเนื้อที่ดินแน่นอนดังกล่าวจำเลยก็ควรจะระบุเหตุนี้ให้ปรากฏในสัญญา แต่จำเลยก็มิได้ระบุไว้ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับไว้ก็ได้หากการขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนนั้นเกินกว่าร้อยละห้าแห่งเนื้อที่ทั้งหมดอันได้ระบุไว้ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับโอนที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าจำนวนตามสัญญากว่าร้อยละห้าของเนื้อที่ทั้งหมด โจทก์ในฐานะผู้ซื้อย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนและบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ โจทก์ฟ้องโดยระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างส่งหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ต่อศาลอีก ฉะนั้น ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสารสำหรับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบที่ดินไม่ตรงตามสัญญา ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินมัดจำคืน
จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์น้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่ง เป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญากรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466วรรคสอง แล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินไม่ตรงตามสัญญา ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยที่1ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์น้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่งเป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่1ตามสัญญากรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466วรรคสองแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยที่1จึงต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์ ผู้ขายมีสิทธิคืนเงินมัดจำ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่าจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์เนื้อที่ประมาณ272ตารางวาแต่จำเลยที่1มีเนื้อที่อยู่เพียง1งาน44ตารางวาซึ่งน้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่งการที่จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้โจทก์จึงเป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466 โจทก์ขอให้บังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาโดยขอให้จำเลยทั้งสองไปแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่พิพาทกันใหม่ทั้งที่จำเลยที่2มิได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ด้วยจึงเป็นการบังคับจำเลยที่2ซึ่งมิใช่คู่สัญญาหรือเป็นบุคคลภายนอกให้ปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ด้วยไม่อาจกระทำได้ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่1ตามสัญญาถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466วรรคสองแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยที่1จึงต้องคืนมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยได้รับไว้ ค่าเสียหายจำนวน1,500,000บาทที่โจทก์เรียกร้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเมื่อเหตุที่จำเลยที่1ส่งมอบที่ดินที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้เพราะเนื่องมาจากโจทก์คิดคำนวณเนื้อที่ไม่ถูกต้องเองจึงมิใช่ความผิดของจำเลยที่1จำเลยที่1มิใช่เป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่1ได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้วจึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่2จะต้องไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยที่2เป็นทางเดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน & ความผูกพันตามสัญญาระหว่างผู้ขายเดิมกับผู้ซื้อรายใหม่
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัท ท. แล้วต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาจะขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์และบริษัท ท. ได้โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว แต่เนื้อที่ที่ดินขาดไปจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยทำไว้กับบริษัทท. จำนวน 87 ตารางวา ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวบริษัทท. ตกลงว่าให้คิดราคาตารางวาละ 4,000 บาท และ ท. ได้คืนเงินค่าที่ดินที่ขาดให้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาจากจำเลยก็ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.ด้วยเมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าที่ดินที่ขาดไปแล้วก็จะมาเรียกเอาเงินค่าที่ดินที่ขาดจากจำเลยซึ่งมิใช่ผู้ขายที่ดินให้โจทก์อีกไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลผูกพันตามสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีก กรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไป เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าคู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระ-สำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
of 7