คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243-1244/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อบกพร่องเรื่องเนื้อที่และทางเข้าออก ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินคืน
จำเลยที่2เป็นโจทก์ในสำนวนหลังฟ้องอ้างว่าหลังจากทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้วต่อมาได้ตรวจสอบที่ดินทราบว่าที่ดินไม่มีทางเข้าออกและเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่โจทก์ให้การสู้คดีโดยมิได้ปฏิเสธให้แจ้งชัดว่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีเนื้อที่ขาดหายไปดังคำฟ้องจึงต้องฟังว่าโจทก์ยอมรับว่าที่ดินตามฟ้องเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายระบุมีเนื้อที่รวม15ไร่2งาน36ตารางวาเมื่อเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่การขาดหายจึงเกินจำนวนร้อยละห้าจำเลยที่2ผู้ซื้อจึงมีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนที่ดินดังกล่าวจากโจทก์ได้ จำเลยที่1อายัดเช็คค่าดอกเบี้ยตามสัญญาจะซื้อขายภายหลังจำเลยที่2ตรวจพบว่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเนื้อที่ขาดหายไปประมาณ3ไร่ถือได้ว่าเป็นการอายัดสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนที่ดินและบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466จึงไม่เป็นการประพฤติผิดสัญญาจะซื้อขายที่เป็นเหตุให้โจทก์อ้างสิทธิเบิกสัญญาและริบมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ขาดอายุความไม่อาจนำมาขอรับชำระได้
ปัญหาที่ว่ามูลหนี้ซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความจึงนำมาขอรับชำระหนี้ไม่ได้นั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาว่าหนี้ใดเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าส่งมอบคลังสินค้าที่เช่าให้เจ้าหนี้ผู้เช่ามีพื้นที่น้อยไปกว่าที่จำเลยที่ 1 มีคำเสนอให้เช่าและตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับค่าเช่าจากเจ้าหนี้ได้ตามส่วนพื้นที่ที่ให้เช่าตามความเป็นจริงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 466ส่วนค่าเช่าที่รับไว้เกินโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ในขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้มีสิทธินำคดีไปฟ้องเรียกคืนในฐานเป็นลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนค่าเช่าดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ก็แสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนับแต่วันนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 28 กันยายน 2530 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี คดีขาดอายุความต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 แล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขาดเนื้อที่ดิน: การส่งมอบที่ดินตามสัญญาซื้อขายและการจดทะเบียน
เมื่อข้อความในหนังสือสัญญาซื้อขายแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินนาตาม น.ส.3ที่ซื้อขายให้โจทก์แล้ว และต่อมาเมื่อโจทก์กับจำเลยไปทำหนังสือขายที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จดะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กรณีนี้จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับมอบที่ดินจากการซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยไปจดทะเบียน โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกที่ดินที่ขาดจำนวนเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขาดเนื้อที่ดิน: การส่งมอบที่ดินและการเริ่มนับอายุความตามกฎหมาย
เมื่อข้อความในหนังสือสัญญาซื้อขายแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินนาตาม น.ส.3 ที่ซื้อขายให้โจทก์แล้ว และต่อมาเมื่อโจทก์กับจำเลยไปทำหนังสือขายที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับมอบที่ดินจากการซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยไปจดทะเบียน โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกที่ดินที่ขาดจำนวนเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโดยประมาณ หากรังวัดได้เนื้อที่น้อยกว่า ผู้ซื้อมีสิทธิรับตามส่วน หรือ ปัดเสียได้
โจทก์จำเลยตกลงซื้อที่ดินกันโดยกำหนดเนื้อที่โดยประมาณเพราะจะต้องมีการรังวัดออกโฉนดกันตามสัญญาอีกครั้งจึงจะได้เนื้อที่ดินที่แน่นอน เมื่อรังวัดแล้วได้เนื้อที่ขาดไปจากที่ประมาณไว้ โจทก์ผู้จะซื้อจะรับเอาหรือปัดเสียก็ได้เมื่อโจทก์เลือกจะรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วน แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอศาลบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้ได้เนื้อที่ 156 ตารางวา และไปดำเนินการออกโฉนดใหม่ให้ได้เนื้อที่ 156 ตารางวา แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องเพียงประมาณเนื้อที่ไว้เท่านั้น ศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่ 127 ตารางวา ตามจำนวนซึ่งรังวัดสอบเขตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องแม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วายาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท แม้มีข้อผิดพลาดในคำพิพากษา ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องได้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว 20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับราคาตามส่วนเมื่อเนื้อที่ดินเกินสัญญา และสิทธิในการริบเงินมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 2 แปลงมีเนื้อที่รวมกัน 106ไร่ 2 งาน48 ตารางวา เมื่อจำเลยจัดการออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแล้วได้เนื้อที่ดิน 111 ไร่ 82 ตารางวาเนื้อที่ดินล้ำจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 4 ไร่ 2งาน 34 ตารางวา ไม่เกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจำต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคสอง
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การรับที่ดินเกินเนื้อที่ตามสัญญา, การริบเงินมัดจำ, และดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 2 แปลงมีเนื้อที่รวมกัน 106 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อจำเลยจัดการออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแล้วได้เนื้อที่ดิน 111 ไร่ 82 ตารางวา เนื้อที่ดินล้ำจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 4 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา ไม่เกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจำต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคสอง
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
of 7