คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 466

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เจตนาซื้อขายที่ดินทั้งหมดด้านทิศใต้ของถนน แม้จะยังไม่ทราบเนื้อที่แน่นอน
เมื่อตามสัญญาจะซื้อขายและแผนที่สังเขปท้ายสัญญาแสดงให้เห็นเจตนาว่าตกลงจะซื้อขายที่ดินด้านทิศใต้ของถนนที่ตัดผ่านทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ดินที่ลงไว้ในสัญญาเป็นแต่คาดหรือประมาณว่าเมื่อถนนตัดผ่านจะมีจำนวนเท่าใดแม้ผู้ขายโอนที่ดิน 8 ไร่ โดยใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนดไปแล้ว แต่เมื่อปรากฏจากการรังวัดแบ่งแยกโฉนดว่าที่ดินด้านทิศใต้ของถนนมี 11 ไร่เศษ ผู้ซื้อจึงชอบที่จะฟ้องบังคับผู้ขายโอนขายที่ดินให้ครบตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายที่ดินตามสัญญา แม้เนื้อที่ประมาณการ สิทธิบังคับตามสัญญาชอบธรรมเมื่อมีข้อมูลรังวัดจริง
เมื่อตามสัญญาจะซื้อขายและแผนที่สังเขปท้ายสัญญา แสดงให้เห็นเจตนาว่าตกลงจะซื้อขายที่ดินด้านทิศใต้ของถนนที่ตัดผ่านทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ดินที่ลงไว้ในสัญญาเป็นแต่คาดหรือประมาณว่าเมื่อถนนตัดผ่านจะมีจำนวนเท่าใดแม้ผู้ขายโอนที่ดิน 8 ไร่ โดยใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนดไปแล้ว แต่เมื่อปรากฏจากการรังวัดแบ่งแยกโฉนดว่าที่ดินด้านทิศใต้ของถนนมี 11 ไร่เศษ ผู้ซื้อจึงชอบที่จะฟ้องบังคับผู้ขายโอนขายที่ดินให้ครบตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่น – การขอพิจารณาใหม่
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ในกรณีร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายส่งมอบที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าข้อตกลง ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อที่ดินซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่: การคิดค่าเช่าตามเนื้อที่ใช้จริง และดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัด
พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2461 ที่ใช้ในขณะทำสัญญามิได้ห้ามการให้เช่าช่วงเหมืองแร่ต่อมา พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 ห้ามรับช่วงทำเหมือง แต่มิได้ห้ามเด็ดขาด อาจรับอนุญาตจากรัฐมนตรีได้ จึงอาจบังคับตามสัญญาได้ ไม่ตกเป็นโมฆะและพ้นวิสัย
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ทำสัญญาให้เช่าช่วงทำเหมืองฟ้องคู่สัญญาได้ไม่ต้องรับอนุญาตจากหุ้นส่วนอื่น
สัญญาซึ่งผู้ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่จ้างจำเลยรับเหมาให้จำเลยผลิตแร่ได้โดยจำเลยผู้รับจ้างจะชำระผลประโยชน์แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างเป็นรายเดือน ดังนี้ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาเช่าช่วงเหมืองแร่
ผู้ให้เช่าทำเหมืองเนื้อที่ 71 ไร่ แต่ส่งมอบเหมืองจริงเพียง 37 ไร่ ผู้ให้เช่าเรียกค่าเช่าได้เพียงเท่าเนื้อที่ที่ให้เช่าผลิตแร่ได้จริงเท่านั้น ศาลลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ตกลงกัน
กำหนดชำระค่าเช่าเหมืองแร่ไว้ แต่เมื่อล่วงเลยไปแล้วผู้ให้เช่า ก็ไม่ทักท้วง แต่ให้ผู้เช่าผ่อนเวลาชำระค่าเช่า
ผู้ให้เช่าคิดดอกเบี้ยในค่าเช่าที่ค้างฐานผิดนัดแต่ละเดือนไม่ได้ ศาลคิดให้ตั้งแต่วันบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าภายหลัง
ทำสัญญาเช่าไว้แล้ว จำเลยนำสืบลดค่าเช่าเป็นข้อตกลงกันใหม่แก้ไขข้อสัญญาเดิม จำเลยนำสืบด้วยพยานบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินระบุเนื้อที่เกินจริง ผู้ขายต้องรับผิดชดใช้ราคาส่วนที่ขาด
ขายที่ดินระบุเลขโฉนดและเนื้อที่ในโฉนด 99 ตารางวา แต่ที่ดินตามโฉนดมีเนื้อที่จริง 84 ตารางวา เป็นการขายโดยระบุเนื้อที่ต้องรับผิดในจำนวนที่ขาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 ผู้ซื้อยอมรับที่ดินผู้ขายต้องใช้ราคาส่วนที่ขาดคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินส่วนเกินหลังการแบ่งแยกโฉนด ไม่เข้าข่ายอายุความมาตรา 467
เดิมโจทก์ได้ตกลงแบ่งขายที่ดินมีโฉนดของโจทก์ให้แก่จำเลยเป็นเนื้อที่ 6 ไร่ โดยให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินดังกล่าวตามส่วน ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกโฉนดออกเป็นส่วนของจำเลย ปรากฏว่าเนื้อที่ดินตามโฉนดที่ออกให้แก่จำเลยมีจำนวน 6 ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา เกินกว่าที่ตกลงซื้อขายเดิมโจทก์จึงฟ้องเรียกที่ดินส่วนที่เกินคืนจากจำเลย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 467 ไม่ จึงนำอายุความตามมาตรานี้มาใช้ปรับแก่คดีตามข้อตัดฟ้องของจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องลดราคาที่ดินเนื่องจากเนื้อที่ไม่ตรงสัญญา ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินให้โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยจำเลยยอมขายที่ดินให้ แต่ต่อมาปรากฎว่า เนื้อที่ดินที่จำเลยยอมขายให้โจทก์ซึ่งว่ามี 59 ไร่ เศษนั้น วัดได้เพียง 21 ไร่เศษ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ลดราคาที่ดินลงตามส่วนจึงเป็นคนละประเด็นกับที่พิพาทกันในคดีก่อนไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เนื้อที่ดินที่จำเลยตกลงขายให้โจทก์มี 59 ไร่เศษ แต่เมื่อรังวัดแล้วมีเพียง 21 ไร่เศษ จึงขอให้จำเลยลดราคาตามส่วน จำเลยมิได้ปฏิเสธความข้อนี้อย่างใด จึงต้องถือว่าจำเลยในข้อที่โจทก์อ้าง โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในข้อนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดในสัญญาแบ่งแยกโฉนดไม่ใช่สาระสำคัญ การไม่ปฏิบัติตามไม่ถือผิดสัญญา
ข้อความในสัญญาอาจมีได้ 2 ประการ คือ ข้อกำหนดอันเป็นสารสำคัญในการแสดงเจตนาตกลงกันประการหนึ่ง กับข้อกำหนดอันเป็นแต่เพียงเพื่อเหตุวิธีการที่จะนำไปสู่ข้อตกลงที่เป็นสารสำคัญแห่งข้อตกลงนั้นอีกประการหนึ่ง การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดประการหลังนี้ หาทำให้คู่กรณีตกเป็นผู้ผิดสัญญาไม่ถ้าจะต้องรับผิดก็เพียงแต่ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การนั้นเท่านั้น
ทำสัญญากันว่า ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้ผู้ซื้อโดยแบ่งแยกออกเสียก่อน 1 ไร่เพื่อผู้ขายจะขายให้คนอื่น ส่วนที่เหลือ 21 ไร่ขายให้ผู้ซื้อ โดยผู้ขายต้องไปขอแบ่งแยกโฉนดใน 30 วันนั้น ข้อกำหนดที่ผู้ขายต้องแบ่งแยกโฉนดออก 1 ไร่ หาใช่ข้อสารสำคัญที่ผู้ขายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้ซื้อไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ขายไม่ไปขอแบ่งแยกโฉนด แต่ได้ขอโอนที่ดินทั้ง 22 ไร่ ให้ผู้ซื้อโดยไม่คิดราคาเพิ่ม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนผิดข้อสัญญาอันจะเรียกเอาค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเหมาที่ดิน: การตีความเนื้อที่และราคาตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินแม้จะไม่ระบุว่าขายเหมา ถ้าข้อสัญญาแสดงว่าซื้อขายกันทั้งแปลงตามที่ระบุและทำแผนที่สังเขปไว้โดยตกลงราคาแน่นอนระบุเนื้อที่ดินแต่โดยประมาณไม่กำหนดว่าตารางวาละเท่าใด ฯลฯ ถือเป็นการขายเหมาเนื้อที่เกินจากที่ประมาณไว้ผู้ขายจะเรียกราคาเพิ่มไม่ได้
of 7