พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: ขอบเขตการคุ้มครองจนถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน กรณีจึงต้องด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตาา 100 ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันและการคำนวณดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่1ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อกรมสรรพากรเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วยแม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วสิทธิขาดอายุความ ผลกระทบต่อหนี้และสิทธิเรียกร้อง
หนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้มีมูลกรณีจากการที่ลูกหนี้เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ซึ่งประสบปัญหาวิกฤตขาดเงินทุนหมุนเวียน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2528 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ซึ่งลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้โดยอนุมัติธนาคารแห่งประเทศไทยตกลงเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โดยการรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงนำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปเปลี่ยนแก่เจ้าหนี้ โดยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องไว้แก่เจ้าหนี้ ในวันเดียวกันเจ้าหนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้เป็นจำนวนเงิน 986,000 บาท และเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ลูกหนี้ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยว่าในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นการต่างตอบแทนการมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หลังจากนั้นลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดให้แก่เจ้าหนี้ในราคา 417,877.51 บาท โดยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าหนี้ และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากเจ้าหนี้ไปในวันเดียวกัน แต่ต่อมาในคดีล้มละลายหมายดังกล่าวศาลสั่งให้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนเช็คจำนวน 906,000 บาท ศาลไม่อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ เพราะขาดอายุความดังนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ในการตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋ว ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกชำระได้ย่อมเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ตามข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากเจ้าหนี้ต่อไป จึงไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน) ได้ ลูกหนี้ต้องคืนเงินค่าขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 417,837.51 บาท แก่เจ้าหนี้
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ ตามข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ ความตกลงทั้งหลายเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรับแลกเปลี่ยนตั๋วระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ย่อมเป็นอันยกเลิกไป รวมทั้งข้อตกลงการมอบสิทธิให้เจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว กรณีไม่มีเหตุให้ต้องกำหนดเงื่อนไขในการที่เจ้าหนี้จะได้ชำระหนี้ในคดีนี้ว่า หากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวแล้วเพียงใดให้สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงไปเพียงนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปว่ากล่าวแก่เจ้าหนี้ต่างหาก เพื่อมิให้เจ้าหนี้ไปใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.274/2528 ซ้ำซ้อนกับคดีนี้ต่อไป
หนี้เงินที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ลูกหนี้มีหน้าที่คืนเงินจำนวนที่รับไปจากเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 และดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ถือเป็นดอกเบี้ยค้างส่ง อันมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ ตามข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ ความตกลงทั้งหลายเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรับแลกเปลี่ยนตั๋วระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ย่อมเป็นอันยกเลิกไป รวมทั้งข้อตกลงการมอบสิทธิให้เจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว กรณีไม่มีเหตุให้ต้องกำหนดเงื่อนไขในการที่เจ้าหนี้จะได้ชำระหนี้ในคดีนี้ว่า หากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวแล้วเพียงใดให้สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงไปเพียงนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปว่ากล่าวแก่เจ้าหนี้ต่างหาก เพื่อมิให้เจ้าหนี้ไปใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.274/2528 ซ้ำซ้อนกับคดีนี้ต่อไป
หนี้เงินที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ลูกหนี้มีหน้าที่คืนเงินจำนวนที่รับไปจากเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 และดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ถือเป็นดอกเบี้ยค้างส่ง อันมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการกู้เงินทดแทนและการคิดดอกเบี้ยเมื่อมีการชำระหนี้ต้นเงิน
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ. โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อน โดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกัน และลูกหนี้ที่ 1ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ. ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป็นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไป ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลย ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่ 21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการกู้เงินซ้ำซ้อนและการชำระหนี้โดยทางอ้อม แม้เป็นการกู้คนละส่วนกัน แต่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยง
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ.โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อนโดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกันและลูกหนี้ที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ.ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ.เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป้นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาทที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไปส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลยลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนีได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จำนอง: ดอกเบี้ยต้องจ่ายถึงวันขายทอดตลาด แม้จำเลยล้มละลาย ผู้จำนองยังต้องรับผิด
การที่ ฉ. จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยผู้ล้มละลาย ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง เมื่อผู้ร้องฟ้องฉ. เพื่อบังคับจำนองและเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับชำระหนี้ก่อนหลังต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329คือต้องจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย สุดท้ายจึงชำระหนี้อันเป็นประธานและดอกเบี้ยนั้นจะต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาดเพราะ ฉ. ผู้จำนองมิใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงนำมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาด, ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้องทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง มาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ. ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ย ที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จากการบังคับจำนองหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยก่อนหนี้และข้อยกเว้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้อง ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ.ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยค้างชำระ แม้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยก่อน แม้มีข้อจำกัดตาม พรบ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้หมายความว่าหนี้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ระงับแล้วไม่ เมื่อหนี้ดอกเบี้ยภายหลังนั้นยังมีอยู่ลูกหนี้ไม่ว่าจะในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยหรือในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ยังต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวลูกหนี้หาอาจยกข้อต่อสู้ตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์แห่งเจ้าหนี้ทั้งปวงและแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายนั้นโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีนี้หาได้ไม่เพราะมิฉะนั้นหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาด ทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลย ก็จะทำให้เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเหตุผลเดียวกันได้ แต่กรณีหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือหากเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยภายในกำหนด ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้เด็ดขาดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้เด็ดขาด