พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4750-4751/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตาม/เพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำบังคับ/ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เพิ่มเติม
ศาลจะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) ได้ เมื่อคู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทนั้นไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อสัญญาจ้างเหมางานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรมระบุว่า หากคู่สัญญามีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญา รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญา หรือความสมบูรณ์ของสัญญา ให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ โดยสัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดจำกัดขอบเขตอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการเอาไว้ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมางานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม และได้เสนอข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยข้อพิพาทจากพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่นำสืบจึงเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทภายในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้กล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ผู้คัดค้านยกขึ้นโต้แย้งเป็นประเด็นพิพาทไว้ถูกต้องครบถ้วน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) และ (5) แล้ว ไม่อาจโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายอันจะทำให้ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
ศาลจะแทรกแซงกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยการเข้ามาตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือทำลายคำชี้ขาดไม่ได้ เว้นแต่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง เพราะมิฉะนั้นแล้วระบบอนุญาโตตุลาการย่อมไม่อาจบรรลุผลสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์โต้แย้งว่า อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้คัดค้านก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและกำหนดค่าเสียหายให้ผู้คัดค้านรับผิดชำระแก่ผู้ร้องโดยมิได้วินิจฉัยเชื่อตามพยานหลักฐานของผู้คัดค้านที่นำสืบว่า ผู้ร้องมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ผู้คัดค้านจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นการกำหนดค่าเสียหายและค่าปรับของอนุญาโตตุลาการ นั้น ล้วนเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น หาใช่เป็นการโต้แย้งว่าคณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาวินิจฉัยโดยขัดต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไม่ เมื่ออนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการรับฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องและข้อวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาและกำหนดค่าเสียหายและค่าปรับภายใต้พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและผู้ร้องนำสืบในชั้นอนุญาโตตุลาการโดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 45 (1) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ผู้คัดค้านจะอุทธรณ์ว่าการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้
ตาราง 1 (1) (ข) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) จากคู่พิพาทที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วแต่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว คดีนี้ผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้พิพาทต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้องในมูลคดีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องเดียวกัน โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ส่วนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และต่างฝ่ายต่างเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ข) เป็นเหตุให้ค่าขึ้นศาลดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่พิพาทเหล่านั้นต้องชำระในกรณีที่มิได้แยกยื่นคำร้องเป็นคนละคดีกัน กรณีจึงมีเหตุสมควรมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่พิพาทเหล่านั้นตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่คู่พิพาทแต่ละคนได้ชำระ ทั้งนี้โดยเทียบเคียงกับ ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคห้า ในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
ศาลจะแทรกแซงกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยการเข้ามาตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือทำลายคำชี้ขาดไม่ได้ เว้นแต่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง เพราะมิฉะนั้นแล้วระบบอนุญาโตตุลาการย่อมไม่อาจบรรลุผลสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์โต้แย้งว่า อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้คัดค้านก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและกำหนดค่าเสียหายให้ผู้คัดค้านรับผิดชำระแก่ผู้ร้องโดยมิได้วินิจฉัยเชื่อตามพยานหลักฐานของผู้คัดค้านที่นำสืบว่า ผู้ร้องมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ผู้คัดค้านจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นการกำหนดค่าเสียหายและค่าปรับของอนุญาโตตุลาการ นั้น ล้วนเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น หาใช่เป็นการโต้แย้งว่าคณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาวินิจฉัยโดยขัดต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไม่ เมื่ออนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการรับฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องและข้อวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาและกำหนดค่าเสียหายและค่าปรับภายใต้พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและผู้ร้องนำสืบในชั้นอนุญาโตตุลาการโดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 45 (1) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ผู้คัดค้านจะอุทธรณ์ว่าการยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้
ตาราง 1 (1) (ข) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) จากคู่พิพาทที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วแต่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว คดีนี้ผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้พิพาทต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้องในมูลคดีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเรื่องเดียวกัน โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ส่วนผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และต่างฝ่ายต่างเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ข) เป็นเหตุให้ค่าขึ้นศาลดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่พิพาทเหล่านั้นต้องชำระในกรณีที่มิได้แยกยื่นคำร้องเป็นคนละคดีกัน กรณีจึงมีเหตุสมควรมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่พิพาทเหล่านั้นตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่คู่พิพาทแต่ละคนได้ชำระ ทั้งนี้โดยเทียบเคียงกับ ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคห้า ในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9857/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: ลูกจ้างในทางการจ้างไม่ใช่บุคคลภายนอก
อนุญาโตตุลาการสืบพยานของคู่พิพาทเสร็จแล้ว รับฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ตายเป็นลูกจ้างของ ช. มีหน้าที่ขนไก่ขึ้นลงจากรถ วันเกิดเหตุหลังจากส่งไก่เสร็จแล้ว ช. จะไปซื้อหญ้าที่อำเภอองครักษ์มาปลูกที่บ้าน ผู้ตายขอไปด้วยเพราะรู้จักสถานที่ จึงโดยสารมาในรถ ระหว่างที่ ช. ขับรถยนต์พาผู้ตายกลับบ้าน เกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่างทางการที่จ้าง ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ตายเดินทางไปกับ ช. หลังจากเสร็จสิ้นการส่งไก่ ไม่ใช่ทางการที่จ้าง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ไม่ใช่กรณีที่ศาลจะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (1) (2) วรรคสาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชอบแล้ว ส่วนอุทธรณ์ของผู้ร้องอีกข้อหนึ่งว่า ตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 8 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านไม่อาจยกความไม่สมบูรณ์ของกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เพื่อปฏิเสธความรับผิดนั้น แต่เงื่อนไขท้ายกรมธรรม์หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 1.1 วรรคท้าย ระบุว่า บุคคลภายนอกไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้างของผู้ขับขี่ ผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในเงื่อนไขกรมธรรม์ข้อนี้ ผู้คัดค้านย่อมไม่ถูกห้ามปฏิเสธความรับผิดตามเงื่อนไขข้อ 8 ที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงไม่ขัดต่อข้อสัญญา การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ไม่ได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) (2) วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8664/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทหลังคำชี้ขาดเดิม & สัญญาทางปกครอง vs. สัญญาทั่วไป
ปัญหาที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่าอนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเป็นภาษาไทยขัดกับสัญญาที่ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นอันจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (1) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินจนแล้วเสร็จ และให้เวลาแก่ผู้ร้องปฏิบัติและส่งมอบงานตามสัญญาแก่ผู้คัดค้านเป็นระยะเวลา 9 เดือน นับแต่วันทำคำชี้ขาด และให้ผู้ร้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแก่ผู้คัดค้านโดยไม่คิดมูลค่าตามที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ และภายหลังจากที่ผู้ร้องปฏิบัติถูกต้องตามคำชี้ขาดแล้วให้ผู้คัดค้านชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาอีกร้อยละ 10 ของมูลค่างานตามสัญญาแก่ผู้ร้อง โดยสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนอกจากที่ชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาดให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญา เมื่อผู้ร้องติดตั้งเครื่องฝึกบินแล้วเสร็จให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำนวน 228,850 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหลักประกันค่าชำระราคาล่วงหน้าจำนวน 1,144,250 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าเป็นการชี้ขาดให้คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินต่อไปตามเดิมโดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ร้องขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อการปฏิบัติตามสัญญาหลังจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดนั้นเกิดปัญหาพิพาทระหว่างกันอีกเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกผู้ร้องส่งมอบเครื่องฝึกบินและอุปกรณ์ให้แก่ผู้คัดค้านล่าช้า จึงเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นใหม่ในเรื่องค่าปรับตามสัญญาซึ่งมิใช่ข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ แต่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านนอกจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาด การระงับข้อพิพาทจึงต้องเป็นไปตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอาศัยสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินเสนอข้อพิพาทนี้ให้อนุญาโตตุลาการชุดหลังวินิจฉัยชี้ขาดได้ อนุญาโตตุลาการชุดหลังจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับจำนวน 315,813 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาได้ หาใช่เป็นการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดอันมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกไม่
แม้กองทัพอากาศผู้คัดค้านจะเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง และสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คัดค้านโดยเฉพาะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินจนแล้วเสร็จ และให้เวลาแก่ผู้ร้องปฏิบัติและส่งมอบงานตามสัญญาแก่ผู้คัดค้านเป็นระยะเวลา 9 เดือน นับแต่วันทำคำชี้ขาด และให้ผู้ร้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแก่ผู้คัดค้านโดยไม่คิดมูลค่าตามที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ และภายหลังจากที่ผู้ร้องปฏิบัติถูกต้องตามคำชี้ขาดแล้วให้ผู้คัดค้านชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาอีกร้อยละ 10 ของมูลค่างานตามสัญญาแก่ผู้ร้อง โดยสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนอกจากที่ชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาดให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญา เมื่อผู้ร้องติดตั้งเครื่องฝึกบินแล้วเสร็จให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำนวน 228,850 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหลักประกันค่าชำระราคาล่วงหน้าจำนวน 1,144,250 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าเป็นการชี้ขาดให้คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินต่อไปตามเดิมโดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ร้องขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อการปฏิบัติตามสัญญาหลังจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดนั้นเกิดปัญหาพิพาทระหว่างกันอีกเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกผู้ร้องส่งมอบเครื่องฝึกบินและอุปกรณ์ให้แก่ผู้คัดค้านล่าช้า จึงเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นใหม่ในเรื่องค่าปรับตามสัญญาซึ่งมิใช่ข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ แต่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านนอกจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาด การระงับข้อพิพาทจึงต้องเป็นไปตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอาศัยสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินเสนอข้อพิพาทนี้ให้อนุญาโตตุลาการชุดหลังวินิจฉัยชี้ขาดได้ อนุญาโตตุลาการชุดหลังจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับจำนวน 315,813 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาได้ หาใช่เป็นการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดอันมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกไม่
แม้กองทัพอากาศผู้คัดค้านจะเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง และสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คัดค้านโดยเฉพาะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้าง – การตีความสัญญาและข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการว่า สัญญาจ้างมุ่งถึงผลสำเร็จของงานทั้งหมด ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างมิได้ยึดถือเอาการชำระค่าจ้างตามเนื้องานที่ระบุในแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แม้ผู้คัดค้านไม่ชำระค่าจ้างงานงวดที่ 11 อายุความยังไม่เริ่มนับ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงานทั้งหมดแล้ว ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเพราะสัญญาจ้างระบุงานในแต่ละงวดและระบุค่าจ้างไว้ชัดเจน อายุความย่อมเริ่มนับเมื่อผู้ว่าจ้างไม่ชำระค่าจ้างในแต่ละงวดนั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนของอนุญาโตตุลาการ และโต้แย้งการให้เหตุผลในการวินิจฉัยตีความข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านของอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้นโดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) ที่ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทำนองว่า อนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้นานถึงหนึ่งปี ย่อมขัดต่อข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 27 ที่ต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาที่ได้กำหนดให้ดำเนินการเท่านั้น การที่อนุญาโตตุลาการไม่อาจทำคำชี้ขาดได้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับ ไม่ถึงกับทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทำนองว่า อนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้นานถึงหนึ่งปี ย่อมขัดต่อข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 27 ที่ต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาที่ได้กำหนดให้ดำเนินการเท่านั้น การที่อนุญาโตตุลาการไม่อาจทำคำชี้ขาดได้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับ ไม่ถึงกับทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11454/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนคำชี้ขาด และการใช้ดุลพินิจปรับบทกฎหมาย
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งวินิจฉัยให้ผู้ร้องชำระค่าจ้างงวดที่ 18 แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และคณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด รวมถึงการหักจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากค่าจ้างที่ชำระ เป็นการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดที่เป็นการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น เป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนของคณะอนุญาโตตุลาการ และโต้แย้งการให้เหตุผลในการวินิจฉัยตีความข้อสัญญาของคณะอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามเพราะมิใช่กรณียกเว้นให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) (2)
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง กำหนดให้คู่พิพาทยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด หรือถ้าเป็นกรณีมีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไขคำชี้ขาด ก็นับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว โดยไม่ได้บัญญัติว่า จะต้องเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญเท่านั้น แม้จะเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญ หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คู่พิพาทก็อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว คดีนี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในวันที่ 8 มีนาคม 2548 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ตีความหรืออธิบายข้อความในคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการมีการแก้ไขคำชี้ขาดในข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดข้างต้นยังไม่เกินเก้าสิบวัน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องดังกล่าวได้
ข้อพิพาทในส่วนเงินค่าจ้างงานเพิ่มเติมนอกสัญญาและค่าวัสดุก่อสร้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องจากสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้าง คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้จึงหาได้เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการอันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดแต่อย่างใดไม่
การระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการเกิดจากข้อตกลงตามสัญญาระหว่างคู่พิพาท โดยการดำเนินกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ยังให้สิทธิแก่คู่พิพาทที่จะตกลงวิธีพิจารณากันได้ และในกรณีที่คู่พิพาทไม่ได้ตกลงกัน หรือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม ยังให้อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งอาจนำ ป.วิ.พ. ว่าด้วยพยานหลักฐานมาใช้โดยอนุโลม คดีนี้ชั้นพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเบี้ยปรับว่า ผู้ร้องคดีนี้มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือไม่ เพียงใด การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งมอบงานแก่ผู้ร้องล่าช้า อันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่ผู้ร้องตามสัญญา แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้สงวนสิทธิที่เรียกเอาเบี้ยปรับในเวลารับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากผู้คัดค้านที่ 1 นั้น เป็นการที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจในการปรับบทกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ทั้งเป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่ได้ยกข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำคัดค้านแก้ข้อเรียกร้องแย้ง ก็หาทำให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท อันจะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดไม่
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง กำหนดให้คู่พิพาทยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด หรือถ้าเป็นกรณีมีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไขคำชี้ขาด ก็นับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว โดยไม่ได้บัญญัติว่า จะต้องเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญเท่านั้น แม้จะเป็นการแก้ไขคำชี้ขาดในส่วนสาระสำคัญ หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คู่พิพาทก็อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดแล้ว คดีนี้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดในวันที่ 8 มีนาคม 2548 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ตีความหรืออธิบายข้อความในคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการมีการแก้ไขคำชี้ขาดในข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขคำชี้ขาดข้างต้นยังไม่เกินเก้าสิบวัน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องดังกล่าวได้
ข้อพิพาทในส่วนเงินค่าจ้างงานเพิ่มเติมนอกสัญญาและค่าวัสดุก่อสร้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อพิพาทที่สืบเนื่องจากสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้าง คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้จึงหาได้เกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการอันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดแต่อย่างใดไม่
การระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการเกิดจากข้อตกลงตามสัญญาระหว่างคู่พิพาท โดยการดำเนินกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ยังให้สิทธิแก่คู่พิพาทที่จะตกลงวิธีพิจารณากันได้ และในกรณีที่คู่พิพาทไม่ได้ตกลงกัน หรือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม ยังให้อำนาจคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งอาจนำ ป.วิ.พ. ว่าด้วยพยานหลักฐานมาใช้โดยอนุโลม คดีนี้ชั้นพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเบี้ยปรับว่า ผู้ร้องคดีนี้มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือไม่ เพียงใด การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งมอบงานแก่ผู้ร้องล่าช้า อันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่ผู้ร้องตามสัญญา แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้สงวนสิทธิที่เรียกเอาเบี้ยปรับในเวลารับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากผู้คัดค้านที่ 1 นั้น เป็นการที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจในการปรับบทกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ทั้งเป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่ได้ยกข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำคัดค้านแก้ข้อเรียกร้องแย้ง ก็หาทำให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท อันจะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดกฎหมายเฉพาะ แม้มีข้อยกเว้นทั่วไป ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องก่อสร้างทางขึ้นที่จอดรถอาคารพิพาทมีความสูง 2.03 เมตร แม้จะไม่ได้ระยะความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 ที่กำหนดให้ระยะดิ่งระหว่างพื้นดินถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดานหรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร แต่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทางขึ้นที่จอดรถที่ผู้ร้องก่อสร้างจึงถูกต้องตามกฎหมาย การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่หยิบยกกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย แล้วชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะหากอนุญาโตตุลาการนำข้อกฎหมายมาประกอบการวินิจฉัยด้วย ก็จะปรากฏให้เห็นได้ว่าการก่อสร้างของผู้ร้องมิได้เป็นความผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ร้องไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีที่ผู้ร้องอุทธรณ์ในทำนองว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ปัญหานี้แม้ผู้ร้องไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องก็สามารถยกขึ้นอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นศาลได้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)