คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และทรัพย์สินที่ริบในคดีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย ต้องคืนเจ้าของ
แม้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบในคดีอาญาคดีอื่นที่ อ. ถูกฟ้องเป็นจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่คดีดังกล่าว อ. ถูกฟ้องว่าเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลย และศาลชั้นต้นเคยสั่งให้รวมการพิจารณากับคดีนี้มาก่อน จึงเป็นคดีที่มีความเกี่ยวพันกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยร่วมกระทำความผิดกับ อ. จึงถือไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9) และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องคืนเจ้าของ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 ของศาลชั้นต้น แต่ น. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษาลงโทษ น. ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ของกลาง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อ น. ในเรื่องซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ จะต้องคืนแก่เจ้าของ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และมีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9), 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีความลับทางการค้าต้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
องค์ประกอบของความผิดข้อหนึ่งที่โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คือ การเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปซึ่งหมายถึงการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้ล่วงรู้ในลักษณะที่มีผลทำให้ข้อมูลนั้นเสียสภาพหรือคุณสมบัติการเป็นความลับ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเอาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายไปเปิดเผยให้กับบุคคลผู้มีชื่ออันเป็นบุคคลทั่วไปล่วงรู้ถึงข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และจำเลยทั้งสามมีเจตนากลั่นแกล้ง อันเป็นเหตุให้ข้อมูลซึ่งเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายสิ้นสภาพความเป็นความลับทางการค้า ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นว่าเป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร กระจายเสียง หรือการแพร่ภาพหรือเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด จึงไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าดังกล่าว แต่เป็นการยืนยันเพียงว่าเป็นการเปิดเผยแก่บุคคลหนึ่งที่เป็นบุคคลทั่วไป จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12797/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364 นั้น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 364 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเข้าไปในเคหสถานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 364 ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 364 ไม่ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้วและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12265-12266/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่า - การใช้สิทธิโดยชอบตามสัญญา - ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก/ลักทรัพย์
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีกำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาเช่าทุกฉบับมีข้อตกลงในข้อ 7.9 ว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม ผู้เช่าจะต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่า ขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้โดยปราศจากความรับผิดใด ๆ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการต่อสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่ากันใหม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกกลับเข้าครอบครองพื้นที่เช่าโดยใช้ไม้กระดานปิดกั้นและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ในที่อื่นและพร้อมกับปิดประกาศ ณ บริเวณพื้นที่เช่าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ว่า สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามข้อตกลงแห่งสัญญาเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับข้อหาลักทรัพย์ ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 ว่ามีการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ที่ลานจอดรถชั้นที่ 3 และโกดังชั้นที่ 6 บางส่วนนำไปไว้ที่ทิ้งขยะชั้นล่าง แต่ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยทั้งหกเอาไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าก็เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เพื่อให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน และยังอ้างด้วยว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าจำเลยทั้งหกขาดเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22121/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลาง (สร้อยคอทองคำ) แม้ศาลมิได้สั่งริบ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนได้ตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ยึดสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท เป็นของกลาง แม้จะปรากฏตามบัญชีของกลางคดีอาญาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท มาด้วยก็ตาม เมื่อศาลมิได้สั่งริบ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และมาตรา 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12174/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืน และการคืนของกลางแก่เจ้าของที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งข้อเท็จจริงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องและศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์เองว่าอาวุธปืนของกลางมีรอยขูดลบเครื่องหมายทะเบียนและขูดลบแก้ไขเลขหมายประจำปืน แต่ไม่อาจยืนยันว่าเครื่องหมายทะเบียนและเลขหมายประจำปืนเดิมเป็นเลขหมายใด ศาลอุทธรณ์ย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมารับฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่น และลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 มิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงในสำนวนดังที่โจทก์ฎีกา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาวุธปืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดหรือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 แม้โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนของกลางแก่เจ้าของ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49, 195 วรรคสอง, 215 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องคดีข่มขืนใจผู้อื่น เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์ และการคืนของกลางแก่เจ้าของ
ตามคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฏว่าทั้งก่อนหรือขณะที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ที่หน้าอกของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ห่าง 3 ถึง 4 เมตร ได้กระทำการอย่างใดที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ผู้เสียหาย กรณีจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและกันชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลางและขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของ คำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของเมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนของกลางอื่นแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีป่าไม้: ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยของกลาง, คำขอให้ขับไล่ออกจากพื้นที่ป่า, และการคืนของกลางให้เจ้าของ
ไม้มะพอกแปรรูปของกลาง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และมาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ ของกลางต้องคืนแก่เจ้าของ
คำขอให้สั่งให้จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวและปรากฏว่าจำเลยยึดถือหรือครอบครองที่ดินดังกล่าว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติตามฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวจึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์หลักฐานทางอาญา การยืนยันตัวตนยานพาหนะหลบหนี และสิทธิการคืนของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์เป็นของกลาง แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วยก็ตาม ศาลจะสั่งคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 49
of 6