พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษคดียาเสพติดและการแก้ไขคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมาย
คดีนี้โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 12,000 เม็ด น้ำหนักรวม 84.29 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าเมทแอมเฟตามีน 12,000 เม็ด สามารถคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม แม้โจทก์จะนำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึง 84.29 กรัมก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็มิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จะนำมาประกอบคำฟ้องของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวให้หนักขึ้นมิได้ กรณีต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทและตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นบทกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นจำคุกชีวิต และปรับ 3,000,000 บาท โดยมิได้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใดและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้แก้ไขส่วนนี้ เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง เมื่ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นเพียงของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ในคดีเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งริบของกลางดังกล่าวไม่ได้ และแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตามศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ มีกำหนดเท่าใดและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้แก้ไขส่วนนี้ เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง เมื่ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นเพียงของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้ในคดีเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งริบของกลางดังกล่าวไม่ได้ และแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตามศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตเมทแอมเฟตามีน-ครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษาโทษประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า ผลิต หมายความว่า เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ฯลฯ เมื่อมีการผสมปรุงจนเป็นเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้อยู่ในสภาพของเหลวก็ใช้เสพได้เลย การอัดของเหลวให้เป็นเม็ดเป็นเพียงทำให้สะดวกในการซื้อขายกำหนดราคาและปริมาณในการจำหน่ายกันต่อไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษสำเร็จแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดจากคดียาเสพติด และหลักการเพิ่มลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินสดจำนวน 2,800 บาท ของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ ไม่อยู่ในความหมายเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่อาจริบได้
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าธนบัตรของกลางดังกล่าว เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้โดยยังมิได้คืนแก่เจ้าของ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะพิจารณาสั่งคืนธนบัตรของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี แล้วเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี เมื่อลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 11 ปี 3 เดือน นั้น เป็นผลร้ายแก่จำเลย เพราะมีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกมากขึ้น ซึ่งที่ถูกจะต้องเพิ่มโทษจำเลยเป็นรายกระทงก่อน แล้วจึงลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทง หลังจากนั้นจึงรวมโทษ คือเมื่อเพิ่มโทษจำเลยกระทงละกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แล้ว เป็นจำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน เมื่อลดโทษให้จำเลยกระทงละหนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 5 ปี 7 เดือน 15 วัน รวมโทษ 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี 15 เดือน ทั้งนี้ โดยไม่คำนวณโทษจำคุกส่วนที่เป็นเดือนให้เป็นปี เพราะเมื่อนำมาคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสองแล้ว จะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำหน่ายฝิ่นต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง หากคำฟ้องไม่ระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลต้องลงโทษตามวรรคสองของมาตรา 69
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสาม มีระวางโทษหนักกว่า มาตรา 69 วรรคสอง หากวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่เกิน 100 กรัม การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ห่อ น้ำหนัก 2.80 กรัม ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้บรรยายว่าจำเลยมีฝิ่นดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด ศาลจึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสามได้ เพราะจะเป็นการลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษในคดีลักทรัพย์/รับของโจร ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้คืนเงินเฉพาะส่วนที่รับมา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องฐานใด ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษฐานนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้รับความยุติธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องและการวินิจฉัยเรื่องของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขให้คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยของกลางหลังศาลยกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามป.อ. และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมายและการริบของกลาง: การปรับบทและขอบเขตการริบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาวุธปืน การปรับบทลงโทษ และการริบของกลางที่มิชอบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเอง เมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิด ในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33(1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน