พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: คำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง, สินสมรส, และอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสอง ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแทน ศ. บุตรจำเลยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท ชนรถยนต์โจทก์ซึ่งมี ก. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายคดีส่วนอาญาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการและจำเลยที่ 1 ฟ้อง ก. ในข้อหาว่าขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีประเด็นเพียงว่า ก.ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือไม่ จึงมิใช่ประเด็นโดยตรงในคดีนี้ซึ่งมีประเด็นว่า ศ. ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ได้รับความเสียหาย หรือไม่ คำพิพากษาในคดีก่อนส่วนอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ในวันเกิดเหตุโจทก์ได้นั่งไปในรถยนต์คันเกิดเหตุด้วย จึงเป็นผู้ครอบครองรถคันดังกล่าว โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับ ก. ด้วยนั้นจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิได้เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่ารถยนต์คันที่เกิดเหตุเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ก. โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิได้เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และในศาลอุทธรณ์เช่นกัน แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่มีเหตุสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายเอกสารของผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 แม้เช็คจะไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฉ้อโกงนางสาว ส. ผู้เสียหายและทำลายเอกสารของนาย ธ. ผู้เสียหาย โดยจำเลยหลอกลวงว่า จำเลยเป็นผู้สื่อข่าวสามารถฝากนางสาว สง เข้าทำงานที่กรมตำรวจได้ และนางสาว ส. ต้องเสียเงินให้จำเลย 30,000 บาท จนนางสาว ส.หลงเชื่อ แต่นาย ธ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยไม่ใช่ผู้สื่อข่าวจึงนำเงิน 5,500 บาท มอบให้จำเลยเป็นค่ามัดจำค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานในการจับกุมจำเลย จำเลยรับเงินไว้แล้วสั่งจ่ายเช็คให้นาย ธ. ไว้เป็นประกัน ต่อมาจำเลยได้แย่งเช็คดังกล่าวคืนมาจากนาย ธ. แล้วฉีกทำลายในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นาย ธ. เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาฐานความผิดทำลายเอกสารของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำฟ้องว่าเช็คดังกล่าวเป็นของผู้อื่น และการที่จำเลยทำลายนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อันเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 แล้ว
เช็คของกลางที่จำเลยฉีกขาดนั้น มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จึงไม่อาจริบได้และต้องคืนให้เจ้าของ สำหรับของกลางในข้อหาฉ้อโกงที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคืน จึงคืนให้เจ้าของ
เช็คของกลางที่จำเลยฉีกขาดนั้น มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จึงไม่อาจริบได้และต้องคืนให้เจ้าของ สำหรับของกลางในข้อหาฉ้อโกงที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคืน จึงคืนให้เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายเอกสาร (เช็ค) ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินในการกระทำความผิด และผลกระทบต่อการริบของกลาง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฉ้อโกงนางสาว ส. ผู้เสียหายและทำลายเอกสารของนาย ธ. ผู้เสียหาย โดยจำเลยหลอกลวงว่าจำเลยเป็นผู้สื่อข่าวสามารถฝากนางสาว สง เข้าทำงานที่กรมตำรวจได้ และนางสาว ส.ต้องเสียเงินให้จำเลย30,000บาทจนนางสาวส.หลงเชื่อ แต่นาย ธ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยไม่ใช่ผู้สื่อข่าวจึงนำเงิน 5,500 บาท มอบให้จำเลยเป็นค่ามัดจำค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานในการจับกุมจำเลย จำเลยรับเงินไว้แล้วสั่งจ่ายเช็คให้นาย ธ. ไว้เป็นประกัน ต่อมาจำเลยได้แย่งเช็คดังกล่าวคืนมาจากนาย ธ. แล้วฉีกทำลายในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นาย ธ. เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาฐานความผิดทำลายเอกสารของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำฟ้องว่าเช็คดังกล่าวเป็นของผู้อื่น และการที่จำเลยทำลายนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอันเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 แล้ว เช็คของกลางที่จำเลยฉีกขาดนั้น มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จึงไม่อาจริบได้และต้องคืนให้เจ้าของ สำหรับของกลางในข้อหาฉ้อโกงที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคืน จึงคืนให้เจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งคืนของกลาง แม้โจทก์มิได้ขอ และการยกฟ้องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ในคดีอาญา แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วยก็ตามศาลจะสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49 และ 186(9). (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งคืนของกลาง แม้โจทก์มิได้ขอ และการพิพากษายกฟ้องจากหลักฐานไม่เพียงพอ
แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วย ศาลก็มีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 49 และ 186(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือ การซื้อขาย การจดทะเบียน และความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยซื้อเรือยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่า 6 ตัน แต่การซื้อขายยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรรมสิทธิ์ในเรือดังกล่าวจึงยังไม่ตกมาเป็นของจำเลย ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่อาจจะโอนกรรมสิทธิ์มาให้แก่โจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมจะได้จดทะเบียนการโอนเรือลำนั้นจากจำเลยโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 แล้วก็ตาม โจทก์ร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ เพราะพระราชบัญญัติเรือไทยดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เลยว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้ที่ได้จดทะเบียนการโอนเรือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว จะต้องได้กรรมสิทธิ์เสมอไป
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้ง ๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วยแล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่าความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริง ๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้ง ๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วยแล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่าความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริง ๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือ การซื้อขาย การจดทะเบียน และความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยซื้อเรือยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่า 6 ตัน แต่การซื้อขายยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรรมสิทธิ์ในเรือดังกล่าวจึงยังไม่ตกมาเป็นของจำเลย ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่อาจจะโอนกรรมสิทธิ์มาให้แก่โจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมจะได้จดทะเบียนการโอนเรือลำนั้นจากจำเลยโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 แล้วก็ตาม โจทก์ร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ เพราะพระราชบัญญัติเรือไทยดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เลยว่า ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ที่ได้จดทะเบียนการโอนเรือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว จะต้องได้กรรมสิทธิ์เสมอไป
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้งๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วย แล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่า ความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริงๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้งๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วย แล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่า ความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริงๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินของกลางในคดีปล้นทรัพย์: เงินของกลางไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล้นเอาธนบัตร 4,000 บาทของเจ้าทรัพย์ไปต่อมาจับจำเลยได้และได้ธนบัตรรวม 1,780 บาทจากจำเลยที่ 2เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษและคืนธนบัตร 1,780 บาทของกลางแก่เจ้าทรัพย์และให้จำเลยคืนหรือใช้ธนบัตรอีก 2,220 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่เจ้าทรัพย์ด้วย เมื่อเงินของกลาง 1,780 บาทนี้ผู้เสียหายมิได้เป็นเจ้าของ แม้จะเป็นของคนร้ายที่ร่วมปล้นซึ่งต้องใช้คืนผู้เสียหายอยู่แล้วการที่จะพิพากษาให้คืนแก่ผู้เสียหายนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49, 50 และเมื่อเงินของกลางนี้ไม่อาจถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันผู้เสียหายจะพึงได้รับด้วยการที่ศาลสั่งคืนให้แล้วก็ย่อมไม่ต้องนำไปหักออกจากจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง จำนวนเงิน 1,780 บาทนี้จึงกลับไปรวมอยู่ในจำนวนค่าเสียหาย 4,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องว่าผู้เสียหายพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 4,000 บาท แก่ผู้เสียหายธนบัตรของกลาง 1,780 บาทให้คืนจำเลยที่ 2