พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และทรัพย์สินที่ริบในคดีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย ต้องคืนเจ้าของ
แม้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบในคดีอาญาคดีอื่นที่ อ. ถูกฟ้องเป็นจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่คดีดังกล่าว อ. ถูกฟ้องว่าเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลย และศาลชั้นต้นเคยสั่งให้รวมการพิจารณากับคดีนี้มาก่อน จึงเป็นคดีที่มีความเกี่ยวพันกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยร่วมกระทำความผิดกับ อ. จึงถือไม่ได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9) และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ได้ยึดถือครอบครองเองก็เป็นตัวการได้ ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องทรัพย์ที่ยึดได้นอกฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของกลาง ทั้งไม่มีคำขอท้ายฟ้องให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แม้ในทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่จากจำเลยเป็นของกลางด้วย แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวไม่ใช่ของกลางที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องคืนเจ้าของ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 ของศาลชั้นต้น แต่ น. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษาลงโทษ น. ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ของกลาง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อ น. ในเรื่องซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 233/2554 แต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ จะต้องคืนแก่เจ้าของ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และมีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9), 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด: ต้องดำเนินการตามขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายครบถ้วนก่อน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตามเมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัย ให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด เป็นเวลา 120 วัน หลังจากนั้นให้เข้ารับการฟื้นฟูในโปรแกรมเป็นเวลา 2 เดือน รายงานตัวเดือนละ 2 ครั้ง ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิดและยินยอมให้มีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดทุกครั้งที่มารายงานตัว หลังจากจำเลยผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จากสถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้วจำเลยไม่มารายงานตัว เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนแล้วจำเลยไม่มารายงานตัวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนดไว้จนครบหกเดือน นับแต่วันถูกส่งตัวเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อมาตรา 33 บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งมิใช่เพียงรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่ยังมีกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบว่าจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิดหรือไม่ และตรวจปัสสาวะของจำเลยเพื่อหาสารเสพติด อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 เพื่อที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะได้เป็นข้อมูลในการพิจารณาว่าผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจำเลยเป็นที่พอใจหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15564/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดียาเสพติด: การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ติดยาเสพติดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 โดยคำนึงถึงความหนักเบาของการเสพหรือติดยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 23 ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนระเบียบ เงื่อนไข หรือข้อบังคับที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับตัวผู้นั้นกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวได้ โดยให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขังตามมาตรา 190 แห่ง ป.อ. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นได้ด้วยตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อนแล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีสิทธิพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำวินิจฉัยให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบไม่ควบคุมตัวในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นเวลา 180 วัน แต่จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชไม่ครบถ้วน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเตือนไปยังจำเลยให้มาพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชกำหนดไว้ เมื่อมาตรา 33 บัญญัติให้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ศาลพิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จึงให้ริบเสียตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 ส่วนกระเป๋าหนังของกลางเป็นกระเป๋าหนังที่จำเลยใส่เมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง จึงเห็นสมควรริบตาม ป.อ มาตรา 33 (1)
แม้ศาลพิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จึงให้ริบเสียตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 ส่วนกระเป๋าหนังของกลางเป็นกระเป๋าหนังที่จำเลยใส่เมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง จึงเห็นสมควรริบตาม ป.อ มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13369/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟู และผลของคำสั่งคณะอนุกรรมการฯ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 นั้น ผู้ที่จะถูกส่งตัวไปเข้ารับการฟื้นฟู คือ บุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อนและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดจากนั้นจะต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 ซึ่งคดีที่จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนหน้าคดีนี้นั้น จำเลยต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัวในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นเวลา 6 เดือน และให้ทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 120 วัน แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับการฟื้นฟูให้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจและหน้าที่จับจำเลยกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูตามแผนและให้มีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย แต่เมื่อได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้แล้วไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานคร คณะที่ 5 ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวแต่ประการใด และกรณีที่จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรุงเทพมหานคร คณะที่ 5 มีคำสั่งที่ 860/2555 ว่า จำเลยไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเนื่องจากจำเลยอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก จึงให้แจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
อนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งเห็นสมควรให้ริบ
อนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 215 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อหลอดพลาสติกดัดแปลงอันเป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติดของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งเห็นสมควรให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364 นั้น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 364 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเข้าไปในเคหสถานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 364 ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 364 ไม่ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้วและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9597/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจ พิจารณาองค์ประกอบความผิดและคำบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ริบแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้วินิจฉัยคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9)
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และ ป.อ. มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทุกข้อหาตามฟ้องล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ทั้งสิ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุชื่อเรียกแผ่นดีวีดีภาพยนตร์แตกต่างจากชื่อเรียกปกซีดีภาพยนตร์ของกลางอย่างชัดเจน แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และแผ่นซีดีภาพยนตร์เป็นแผ่นต่างชนิดซึ่งเป็นคนละประเภทกัน อีกทั้งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3 ว่า ...และยึดได้แผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ที่จำเลยใช้ในการเสนอจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏว่าปกซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งหกปรากฏให้เห็นว่าเป็นการขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตามฟ้องรวมอยู่ในหน้าปกดังกล่าวด้วย คำบรรยายฟ้องโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าแผ่นปกซีดีภาพยนตร์ รวม 4 เล่ม ของกลาง เป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายทั้งหกโดยตรงที่ให้ริบเสียทั้งสิ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 หรือเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด อันพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์" แต่การกระทำที่จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใน ข้อ 2 (ข) เพียงว่า จำเลยจำหน่ายแผ่นดีวีดีภาพยนตร์... โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอย่างไร การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7289/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับการรับสารภาพ และคำขอส่วนแพ่งที่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 334, 336 ทวิ และมีคำขอให้จำเลยคืนโครงหลังคาเหล็กของโรงงานและอุปกรณ์ส่วนควบของอาคารโรงงานหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดและราคาทรัพย์ใช้แทนย่อมรับฟังเป็นยุติตามฟ้อง จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้รับว่าจำเลยกระทำโดยทุจริตและโรงเรือนมีสภาพเก่ามีราคาเพียง 50,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอส่วนแพ่ง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอส่วนแพ่ง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280-7281/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน, ฟ้องซ้ำ, คำขอคืนเงิน, ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 และร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 39 ถึงที่ 46 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกคำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คนนั้น เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 บัญญัติให้คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าวและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้ให้เหตุผลและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คน อันเป็นการเกินคำขอ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 เป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงต้องร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้ง 46 ด้วย และกรณีนี้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212