คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1171

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น: กรรมการคนเดียวมีอำนาจได้ตามกฎหมาย
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการประชุมใหญ่นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1171 บัญญัติไว้เพียงว่าให้มีการประชุมดังกล่าวครั้งแรกภายใน 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทและครั้งต่อ ๆ ไป อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 12 เดือน โดยมิได้มีบทบังคับให้ต้องเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและลงมติกันเสียก่อนว่าจะให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ ดังนั้นการที่ อ. กรรมการบริษัทจำเลยออกหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยครั้งที่ 1/2558 จึงไม่เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้น การชำระหนี้ และการแจ้งนัดประชุมชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะชอบจะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175ที่กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันก็เพื่อให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่เมื่อผู้คัดค้านที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทมีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นทั้งหมดต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดมีชาย2คนมาประชุมแทนผู้ร้องและบุตรซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องและบุตรจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทชอบแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า7วันหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นและการพักการโอนหุ้น: การฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องอาศัยสถานะผู้ถือหุ้นที่ถูกต้อง
ในวันประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 จำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม โดยจำเลยปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อจะเรียกประชุมวิสามัย* โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ การประชุมวิสามัญครั้งที่ 3/2529 เป็นเพียงการลงมติรับรองมติของที่ประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 เป็นมติพิเศษ ซึ่งโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่ามีการนัดเรียกหรือประชุมหรือลงมติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอย่างไร โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นเรื่องที่ได้พิจารณากันในการประชุมครั้งก่อนมาขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ไม่ได้ การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้ และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยมีมติให้ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้แทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ต้องรอให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบเข้ามาดำเนินคดีเพื่อเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8มาเป็น ย. เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย. ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและการเพิกถอนมติ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนไม่ทำให้มติเป็นโมฆะ
คำว่า "กรรมการ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1172 วรรคแรก หมายถึง คณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน เมื่อกรรมการคนใดเห็นควรจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นก็ชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนและมติของกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เมื่อผู้คัดค้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าวการนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่และการลงมติที่ได้เกิดขึ้นจริงไม่เป็นการประชุมใหญ่และการลงมติตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงต้องร้องขอภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันลงมติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นและผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายบริษัท
คำว่า "กรรมการ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1172 วรรคแรก หมายถึง คณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน เมื่อกรรมการคนใดเห็นควรจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นก็ชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนและมติของกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เมื่อผู้คัดค้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าวการนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่และการลงมติที่ได้เกิดขึ้นจริงไม่เป็นการประชุมใหญ่และการลงมติตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงต้องร้องขอภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันลงมติ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ทำให้การเพิกถอนมติต้องกระทำภายใน 1 เดือน
คำว่า "กรรมการ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1172 วรรคแรก หมายถึงคณะกรรมการมิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนเมื่อกรรมการคนใดเห็นควรจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นก็ชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณา กันเสียก่อนและมติของกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เมื่อผู้คัดค้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าว การนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่และการลงมติที่ได้เกิดขึ้นจริงไม่เป็นการประชุมใหญ่และการลงมติตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงต้องร้องขอภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันลงมติตามมาตรา 1195.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบตามข้อบังคับบริษัท ทำให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า 'การประชุมวิสามัญจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ในเมื่อคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรหรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ถึงหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมดทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ' ตามข้อบังคับข้อนี้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม
ปรากฏว่า ม. กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับในวันประชุม ส. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม. ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท. เป็นประธานของที่ประชุมโดยที่ ท. มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่างๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่างๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้นหาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513. และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่า การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับบริษัท ทำให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า "การประชุมวิสามัญจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ ในเมื่อคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร หรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ถึงหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมด ทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ" ตามข้อบังคับข้อนี้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม
ปรากฏว่า ม.กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับ ในวันประชุม ส.ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม.ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท.เป็นประธานของที่ประชุม โดยที่ ท.มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบ ไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่าง ๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่าง ๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้น หาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่าการใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก
of 2