คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือที่ถูกต้อง
การเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อจึงต้องทำเป็นหนังสือด้วย
โจทก์อ้างแต่สำเนาเอกสารใบมอบอำนาจให้ตัวแทนไปทำสัญญาเช่าซื้อแทน โดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ถือว่าการตั้งตัวแทนของโจทก์ดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ตัวแทนของโจทก์จึงไม่มีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิด
เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งตกเป็นโมฆะผู้ค้ำประกันผู้เช่าซื้อก็ไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญาเช่าซื้อ: สำเนาใบมอบอำนาจใช้ไม่ได้เป็นหลักฐาน, การลงนามไม่มีอำนาจ
สำเนาเอกสารใบมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ จ. และอ. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างต้นฉบับใบมอบอำนาจมาแสดง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 วรรคสอง และมาตรา 798 บังคับว่าสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือและการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วยอีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 บังคับว่า การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสาร การที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสารใบมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ต้องถือว่าการตั้งตัวแทนของโจทก์ในการนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จ. และ อ. ไม่มีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อได้ฟังว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะ ดังนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากไม่มีอำนาจลงนาม และการรับรองพยานหลักฐาน
สำเนาเอกสารใบมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ จ. และอ. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างต้นฉบับใบมอบอำนาจมาแสดง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572 วรรคสอง และมาตรา 798 บังคับว่าสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือและการตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 บังคับว่า การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสาร การที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสารใบมอบอำนาจดังกล่าว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ต้องถือว่าการตั้งตัวแทนของโจทก์ในการนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จ. และ อ.ไม่มีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อได้ ฟังว่าโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะ ดังนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีการลงนามไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท แต่เป็นการกระทำภายในอำนาจตัวแทน จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
แม้สัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์จะมีจำเลยที่ 2 กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเพียงคนเดียวและประทับตราของบริษัทไว้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีกรรมการอย่างน้อย สองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าว เป็นการกระทำที่อยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ทำสัญญากับโจทก์ไปตามหน้าที่ในฐานะกรรมการ แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ยอมรับการเข้าทำงานของโจทก์ตามสัญญา และจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินค่าน้ำมันรถประจำเดือน โบนัสประจำปี เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินตามฟ้องหรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างว่ามีการกระทำผิดสัญญาหรือไม่อย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหานี้ใหม่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเลยที่ 1 ตั้งเป้าหมายไว้ มีเหตุให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของจำเลยไม่ควรรับฟังดังกล่าว เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ แต่มีผลผูกพันจำเลยจากการยอมรับและจ่ายเงินเดือน ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้วินิจฉัยประเด็นค่าเสียหาย
แม้สัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์จะมีจำเลยที่ 2 กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเพียงคนเดียวและประทับตราของบริษัทไว้ ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีกรรมการอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวเป็นการกระทำที่อยู่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ไปตามหน้าที่ในฐานะกรรมการ แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ทั้ง จำเลยที่ 1 ได้ยอมรับการเข้าทำงานของโจทก์ตามสัญญาและจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญา ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินค่าน้ำมันรถประจำเดือน โบนัสประจำปี เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินตามฟ้องหรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างว่ามีการกระทำผิดสัญญาหรือไม่อย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยปัญหานี้ใหม่
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเลยที่ 1 ตั้งเป้าหมายไว้ มีเหตุให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของจำเลยไม่ควรรับฟังดังกล่าว เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทนที่ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรผูกพันเจ้าของตามกฎหมาย
โจทก์แต่งตั้งให้ ผ. เป็นตัวแทนโจทก์เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายกับจำเลย โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ผ. ที่ได้ไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะตัวแทนโจทก์ โจทก์ต้องผูกพันในข้อตกลงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 และมาตรา 823 โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ผ. เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันข้อตกลงประนีประนอมยอมความโดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์แต่งตั้งให้ ผ. เป็นตัวแทนโจทก์เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายกับจำเลย โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ผ. ที่ได้ไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะตัวแทนโจทก์ โจทก์ต้องผูกพันในข้อตกลงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797และมาตรา 823 โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ ผ.เจรจาตกลงเรื่องค่าเสียหายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: ตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อ และผลผูกพันสัญญา
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยมาใช้ในกิจการของโจทก์โดยมอบหมายให้ พ.ผู้ถือหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นผู้ดำเนินกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์ พ.นำรถยนต์คันดังกล่าวไปทำประกันภัยไว้กับจำเลยแทนโจทก์ และโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเช่นนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์คันที่เอาประกันภัยซึ่งโจทก์เช่าซื้อมา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยย่อมมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 กรณีเช่นนี้โจทก์เป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อ การตั้ง พ. เป็นตัวแทนจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 798 และโจทก์ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อย่อมแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาประกันภัยที่ พ. ตัวแทนทำไว้กับจำเลยแทนตนได้ตามมาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเชิดในการอุทธรณ์ภาษี และการคำนวณรายได้ตามเกณฑ์เงินสด
ห้างโจทก์เดิมมี อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาห้างโจทก์เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการเป็น น. แต่การดำเนินงานแทนห้างโจทก์อ. ยังเป็นผู้ดำเนินการแทนเมื่อห้างโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และได้ลงชื่ออ.เป็นผู้อุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่าห้างโจทก์เชิดอ.เป็นตัวแทนของห้างโจทก์โดยปริยาย และการเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,797 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 798 การตั้งตัวแทนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ประมวลรัษฎากรจะได้กำหนดให้การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดซึ่งได้กำหนดให้ทำเป็นหนังสือก็ตาม กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี พ.ศ. 2527 ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ในขณะพิพาทกำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและเงินได้พึงประเมินนั้น มาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้ ไม่ว่าห้างโจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิหรือไม่ก็ตาม การคำนวณรายได้ของห้างโจทก์ต้องใช้เกณฑ์เงินสด มิใช่ใช้เกณฑ์สิทธิดังที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ในปี พ.ศ. 2527ฉะนั้นการถือเอาค่าเช่าที่ห้างโจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณรายได้ให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
of 32