พบผลลัพธ์ทั้งหมด 313 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด vs. ตัวแทนตามสัญญา: หลักเกณฑ์การรับผิดชอบในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมอบให้ ส. เป็นตัวแทนทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่จัดการโอนให้ ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของ จำเลยมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน และที่มาตรา 798 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติถึงการตั้งตัวแทนว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้น ใช้แก่กรณีที่มีการตั้งตัวแทนจริง ๆส่วนการเชิดบุคคลเป็นตัวแทนตามมาตรา 821 นั้น ใช้แก่กรณีที่มิได้มีการตั้งตัวแทนจริงตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะขายที่ดินจึงนำมาตรา 798 มาบังคับไม่ได้
ส. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าทำในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลยได้ หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์และ ส. ได้ทำกันไว้ก็ยังคงผูกพันกันตามเอกสารดังกล่าว การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยเป็นตัวการของ ส.เพื่อให้จำเลยเข้ามารับผิดแทนส. เท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2491)
ส. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าทำในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลยได้ หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์และ ส. ได้ทำกันไว้ก็ยังคงผูกพันกันตามเอกสารดังกล่าว การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยเป็นตัวการของ ส.เพื่อให้จำเลยเข้ามารับผิดแทนส. เท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด vs. ตัวแทนจริง: การรับผิดในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมอบให้ ส. เป็นตัวแทนทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่จัดการโอนให้ ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยมิใช่เป็นการวินิจฉัยยกฟ้องเพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิด ในลักษณะอย่างเดียวกัน และมีมาตรา 798 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติถึงการตั้งตัวแทนว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้น ใช้แก่กรณีที่มีการตั้งตัวแทนจริง ๆ ส่วนการเชิดบุคคลเป็นตัวแทนตามมาตรา 821 นั้นใช้แก่กรณีที่มิได้มีการตั้งตัวแทนจริงจังตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยเชิดส. เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะขายที่ดินจึงนำมาตรา 798 มาบังคับไม่ได้
ส. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าทำให้ฐานเป็นตัวแทนจำเลย ดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลยได้ หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์และส. ได้ทำกันไว้ก็ยังคงผูกพันกันตามเอกสารดังกล่าว การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยเป็นตัวการของ ส. เพื่อให้จำเลยเข้ามารับผิดแทน ส.เท่านั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 420/2491)
ส. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าทำให้ฐานเป็นตัวแทนจำเลย ดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ส.เป็นตัวแทนของจำเลยได้ หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์และส. ได้ทำกันไว้ก็ยังคงผูกพันกันตามเอกสารดังกล่าว การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยเป็นตัวการของ ส. เพื่อให้จำเลยเข้ามารับผิดแทน ส.เท่านั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 420/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจแสดงต่อศาล
แม้โจทก์มิได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.บอกกล่าวบังคับจำนองมาแสดงต่อศาล แต่เมื่อ ส.บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอกสารบังคับจำนองที่ ส. บอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยผู้จำนองแล้ว (อ้างฎีกาที่ 795/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
แม้โจทก์มิได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. บอกกล่าวบังคับจำนองมาแสดงต่อศาล แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ ส. บอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยผู้จำนองแล้ว(อ้างฎีกาที่ 795/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ หากมิได้ทำเป็นหนังสือ ตัวแทนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ตัวการ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หมายถึงกิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 435/2507)
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งตัวแทนเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือ หากมิได้ทำ ตัวแทนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ตัวการ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หมายถึงกิจการใดที่ตัวแทนจะไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ กฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนไปทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย มิฉะนั้นกิจการที่ตัวแทนกระทำไปกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 435/2507)
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลย (ตัวการ) ซึ่งแม้การตั้งโจทก์เป็นตัวแทนไปทำการเช่าบ้านพิพาทแทนจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็จะอ้างมาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้ และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำแทนของตัวแทนเชิด: ห้างฯ ยอมรับนับถือการกระทำของจำเลยที่ 3 แม้พ้นสถานะผู้จัดการแล้ว
จำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 แต่ได้พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) กับธนาคารโจทก์ ในนามของห้างจำเลยที่ 1และประทับตราชื่อห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 กระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวและ ห้างจำเลยที่ 1ก็ทราบดีถึงกิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำ และยอมรับเอาเป็นกิจการที่ทำแทนห้างจำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าห้างจำเลยที่ 1 ได้เชิดหรือ รู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของตน มีอำนาจกระทำกิจการดังกล่าวแทนห้าง ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อธนาคารโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: ห้างฯ ยอมรับการกระทำของอดีตหุ้นส่วนผู้จัดการที่เปิดบัญชีและกู้เงินแทนห้างฯ ทำให้ผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1แต่ได้พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท)กับธนาคารโจทก์ ในนามของห้างจำเลยที่ 1 และประทับตราชื่อห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 กระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวและห้าง ห้างจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีถึงกิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำ และยอมรับเอาเป็นกิจการที่ทำแทนห้างจำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าห้างจำเลยที่ 1 ได้เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของตน มีอำนาจกระทำกิจการดังกล่าวแทนห้าง ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อธนาคารโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า แม้จำเลยที่ 3 จะพ้นจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็คงกระทำแทนห้างจำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา เท่ากับโจทก์ตั้งประเด็นไว้ว่า ห้างจำเลยที่ 1เชิดหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 แสดงออกเป็นตัวแทนของห้างจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812-1813/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขายที่ดินโดยไม่สุจริต การรู้เห็นยินยอมมีผลผูกพัน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาโอนขายที่ดินมีโฉนดของจำเลยให้แก่ผู้มีชื่อแทนจำเลย ตามใบมอบอำนาจซึ่งมารดาให้น้องจำเลยเขียนชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือแทนจำเลย โดยจำเลยรู้เห็นยินยอมในการกระทำนี้ จำเลยจะกล่าวอ้างในภายหลังว่าตนมิได้มอบอำนาจให้มารดาขายที่ดินแทน หาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายอำนาจตัวแทนต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญาประนีประนอมยอมความจะผูกพันได้เมื่อตัวแทนมีอำนาจ
พนักงานบริษัทจำเลยอ้างว่าได้รับมอบหมายจากบริษัทจำเลยให้มาตกลงเรื่องค่าเสียหายกับโจทก์ และได้ทำข้อตกลงกับ โจทก์ในเรื่องค่าเสียหายที่บริษัทจำเลยจะชดใช้ให้โจทก์ ดังนี้พนักงานบริษัทจำเลยผู้นั้นอาจเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลยได้โดยผลของการให้สัตยาบัน แต่บริษัทจำเลยมิได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของพนักงานบริษัทจำเลยดังกล่าว บริษัทจำเลยจึงใช้เอกสารข้อตกลงดังกล่าวมาผูกมัดโจทก์หาได้ไม่
เอกสารข้อตกลงระหว่างพนักงานบริษัทจำเลยกับโจทก์ แม้จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่การที่พนักงานบริษัทจำเลยไปอ้างว่าได้รับมอบหมายจากบริษัทจำเลยโดยไม่มีหลักฐานการมอบหมายเป็นหนังสือแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลย ข้อตกลงในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีผลผูกพันทั้งโจทก์และบริษัทจำเลย
เอกสารข้อตกลงระหว่างพนักงานบริษัทจำเลยกับโจทก์ แม้จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่การที่พนักงานบริษัทจำเลยไปอ้างว่าได้รับมอบหมายจากบริษัทจำเลยโดยไม่มีหลักฐานการมอบหมายเป็นหนังสือแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลย ข้อตกลงในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีผลผูกพันทั้งโจทก์และบริษัทจำเลย